Our View? “ยังอยู่ในช่วงหา Low”

คาดตลาดวันนี้ “Sideway Down” มองแนวรับที่บริเวณ 1,530 / 1,515 และแนวต้านที่บริเวณ 1,545 / 1,555 ตลาดยังคงเผชิญแรงกดดันจากแนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ FED ในการประชุม FOMC วันที่ 26-27 ก.ค. นี้ ที่ระดับ 0.75-1.00% โดยนายเจมส์ บูลลาร์ด ประธาน FED สาขาเซนต์หลุยส์ แสดงมุมมอง FED อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยในระดับดังกล่าว หลังตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคเดือน มิ.ย. ปรับตัวขึ้น +9.1% มากกว่าที่ตลาดคาดที่ 8.8% สูงสุดขึ้นต่อเนื่อง และสูงสุดในรอบ 40 ปี กดดันให้ FED ยังต้องเร่งการขึ้นดอกเบี้ยในระยะสั้นรุนแรงต่อเนื่อง คาดยังเป็นปัจจัยหนักจำกัด Upside ของตลาดได้อยู่ อย่างไรก็ดี เรามองตลาดเริ่มมองหาจุดพีคของทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐไปบ้างในระดับหนึ่งแล้ว โดย CME FED Watch Tools คาดการณ์อัตราดอกเบี้ย ณ. สิ้นปีสหรัฐ คาดยังอยู่ที่ระดับ 3.50-3.75% สะท้อนภาพตลาดคาดการณ์ถึงช่วงสูงสุดของการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ FED ไปบ้างแล้ว ทำให้ Downside ในประเด็นดังกล่าวเริ่มลดลงบ้าง

อย่างไรก็ตาม เราคาดการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐยังเป็นปัจจัยหนักทําให้ตลาดกังวลเศรษฐกิจสหรัฐมีโอกาสถดถอยได้ในระยะถัดไป สอดคล้องกับ US Bond Yield ยังคงเกิดภาวะ Inverted yield curve ในพันธบัตรอายุ 2 – 10 ปี ต่อเนื่อง สะท้อนความกังวลตลาดยังคงกังวลการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย คาดยังเป็นปัจจัยหลักจำกัด Upside การฟื้นตัวของตลาดได้อยู่เช่นกัน

ผสานกับเมื่อคืนนี้ Dollar Index ยังคงปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง โดยทำจุดสูงสุดใหม่ที่ระดับ 109.0 จุด คาดจะกดดันทิศทางค่าเงินในภูมิภาครวมถึงค่าเงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง เป็นปัจจัยลดทอนความสนใจของนักลงทุนต่างชาติต่อตลาดในภูมิภาค-หุ้นไทย กดดันกระแสเงินทุนไหลออกได้ต่อ

ทางด้านสัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI. ส่งมอบเดือน ส.ค. เมื่อคืนนี้ปรับตัวลงแรงก่อนที่จะพยายามฟื้นตัวกลับขึ้นบ้าง ปิดที่ระดับ 95.78 ดอลลาร์/บาร์เรล -0.52 ดอลลาร์ หรือ -0.54% โดยยังคงได้รับแรงกดดันจากแนวโน้มอุปสงค์ลดลงจากความกังวลจีนออกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 อีกครั้ง อีกทั้งแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐถดถอยจากการเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยของ FED คาดจะกดดันทิศทางอุปสงค์น้ำมันได้ในระยะถัดไป ขณะที่การแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐกดดันทิศทางราคาน้ำมันดิบด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เรายังคงชอบหุ้นในกลุ่มโรงไฟฟ้า (BGRIM, GULF และ GPSC) ที่จะได้รับประโยชน์จากต้นทุนที่ลดลง มองเป็นโอกาสในการสะสมต่อเนื่อง อีกทั้งแนวโน้ม กกพ. ปรับขึ้นค่า Ft. เดือน ก.ย.-ธ.ค. ’65 คาดเป็นปัจจัยหนุนทิศทางราคาปรับตัวขึ้นได้ต่อ

สำหรับปัจจัยในประเทศยังไม่มีปัจจัยใหม่ๆ เข้ามาช่วยหนุนการฟื้นตัวของทิศทางตลาดหุ้นไทยโดดเด่นมากนัก คาดตลาดจะเริ่มให้ความสนใจกับการเปิดเผยผลประกอบการของ บจ. ในตลาดฯ มากขึ้น โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มธนาคาร ทั้งนี้ Bloomberg Consensus คาดกำไร 2Q65 ของกลุ่มจะออกมา -4.47% QoQ และ -1.44% YoY อย่างไรก็ตาม คาด BANK ขนาดใหญ่ อาทิ BBL, KBANK และ SCB ผลประกอบการคาดจะออกมาทรงตัว QoQ แต่ยังขยายตัว YoY คาดอาจมีแรงกลับเข้าซื้อหลังประกาศผลประกอบการได้ โดยชอบ KBANK มากที่สุด จากความน่าสนใจในการร่วมทุนกับ JMT อย่างไรก็ดี เรายังมีความกังวลต่อการเร่งตัวขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 ใน ประเทศ โดยแนะน่าติดตามการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 แม้เราคาดว่าการแพร่ระบาดดังกล่าวจะไม่เป็นการแพร่ระบาดระลอกใหญ่ จากการจํานวนประชากรไทยที่ฉีดวัคซีนมากขึ้นจนมีภูมิคุ้มกันหมู่พอสมควรแล้ว อย่างไรก็ตาม เราคาดว่ายอดผู้ติดเชื้อที่มากขึ้น คาดจะหนุนแรงเก็งกำไรหุ้นในกลุ่มโรงพยาบาล (BH, BDMS, BCH, CHG และ THG) ได้อีกครั้ง

ธีมการลงทุน “Selective Play”

หุ้นแนะนําวันนี้ “GPSC”

กลยุทธ์ แนวรับ 67.00 / 66.00 Target 70.00 / 73.00 stop <65.00

- Advertisement -