บล.พาย: 

M: บมจ. เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป – “ได้เวลาเก็บเกี่ยว”

แนะนำ “ซื้อ” ด้วย 3 เหตุผลหลักดังนี้ 1) บริษัทมีภาพรวมการฟื้นตัวของกำไรที่แข็งแกร่งในปี 2022-24 2) สถานะเงินสดสุทธิด้วย upside จากดีล M&A ใหม่ และค่าธรรมเนียมแฟรนไชน์แหลมเจริญซีฟู้ด และ 3) มูลค่าหุ้นที่ถูกกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มที่ 20xPE’23E

คาดกำไรพลิกเป็นบวกและปรับดีขึ้นแข็งแกร่ง QoQ ใน 2Q22

  • คาดกำไรสุทธิ 2Q22 ที่ 444 ล้านบาท (+64%QoQ) ฟื้นตัวจากขาดทุน 99 ล้านบาทใน 2Q21 หนุนจากการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ที่แข็งแกร่งใน 3 แบรนด์หลัก (MK +60%YoY, Yayoi +53%YoY, แหลมเจริญซีฟูด +54%YoY) ได้แรงหนุนจากการกลับมาให้บริการทานอาหารที่ร้านพร้อมกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ฟื้นตัวขึ้น หลังมีอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น

ต้นทุนอาหารที่สูงขึ้นยังอยู่ในระดับที่คุมอยู่

  • ต้นทุนหลักของบริษัท คือ ต้นทุนวัตถุดิบ และสัดส่วนก้อนใหญ่ของต้นทุนอาหาร คือ เนื้อสุกรและสัตว์ปีก
  • ราคาสุกรและไก่เนื้อปรับเพิ่มขึ้น 20%-30%YoY ใน 2Q22
  • เชื่อว่าอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) จะปรับดีขึ้น QoQ ใน 3Q22 หลังจากที่บริษัทปรับเพิ่มราคาขายขึ้นในเดือน มิ.ย. 2022 เพื่อชดเชยกับต้นทุนอาหารที่สูงขึ้น

ถึงเวลาเก็บเกี่ยวสำหรับแหลมเจริญซีฟู้ด

  • นับตั้งแต่ปี 2019 บริษัทลงทุนไปกับแหลมเจริญซีฟูดไปแล้ว 2 พันล้านบาท ขณะที่มีผลประกอบการอ่อนแอในช่วงปี 2020-21 จากผลกระทบจากโควิด-19
  • เชื่อว่าลูกค้าส่วนใหญ่ของแหลมเจริญซีฟู้ด คือ นักท่องเที่ยวต่างชาติ และด้วยการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติขาเข้าจะเพิ่มเป็น 6 ล้านคนในปี 2022 และ 19 ล้านคนในปี 2023 เราจึงเชื่อว่า SSSG ของแหลมเจริญซีฟู้ดจะฟื้นตัวแข็งแกร่งเป็น 20%-30% ต่อปีในช่วงปี 2022-23 ขณะที่ประเมินว่าส่วน แบ่งรายได้ของแหลมเจริญซีฟู้ดจะอยู่ที่ 10% ของยอดขายรวมในปี 2024 จาก 1% ในปี 2019

คงคำแนะนำ “ซื้อ” ได้เวลาเข้าสะสม

  • คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 64.00 บาท อิง on 25xPE’23E หรือที่ค่าเฉลี่ยของกลุ่มสินค้าจำเป็นในเอเชียที่ไม่รวมญี่ปุ่น คำแนะนำและมูลค่าพื้นฐานนี้สะท้อนภาพรวมการฟื้นตัวของกำไรที่ดีในปี 2022-24

Earnings preview

  • คาดรายได้ 2Q22 ที่ 4 พันล้านบาท (+58YoY, +13% QoQ) หนุนจากการฟื้นตัวของรายได้ที่แข็งแกร่งใน 3 แบรนด์หลัก บวกกับการขยายสาขาเป็น 707 แห่ง (+1%YoY)
  • ขณะที่คาดว่า GPM จะอยู่ที่ 65% (+180bps YoY, -60bps QoQ) ที่ลดลง QoQ คาดว่าเป็นผลมาจากต้นทุนอาหารที่สูงขึ้นราว 10%QoQ ส่วนที่สูงขึ้น YoY เป็นผลจากการกลับมาให้บริการทานอาหารที่ร้านที่มีอัตรากำไรสูงกว่าบริการจัดส่งอาหาร
  • ประเมินว่าอัตราส่วนค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร (SG&A) ต่อยอดขายจะลดลงเหลือ 52.4% จาก 70.6% ใน 2021 หนุนจากรายได้ที่ฟื้นตัวแข็งแกร่ง และการคุมต้นทุนที่ดีขึ้น

Revenue breakdown

  • ธุรกิจร้านอาหารสุกี้ (แบรนด์ MK Suki, MK Gold, MK Live) คิดเป็น 74% ของยอดขายรวม ขณะที่ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น (Yayoi) คิดเป็น 19% ของยอดขายทั้งหมด ร้านอาหารแหลมเจริญซีฟู้ดคิดเป็น 5% และร้านอาหารอื่นๆ คิดเป็น 2%
  • สาขาร้านอาหารในไทย (จาก 703 สาขาทั่วโลก) ประกอบด้วย MK Suki 452 สาขา (รวม MK Gold 6 สาขาและ MK Live 2 สาขา) Yayoi 193 สาขา แหลมเจริญซีฟู้ด 31 สาขา และร้านอาหารอื่นๆ อีก 27 สาขาในไทย ขณะที่มีแฟรนไชส์ MK Suki 43 สาขาในญี่ปุ่น เวียดนาม และลาว นอกจากนี้ก็มีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน (JV) เพื่อประกอบกิจการ Yayoi ในสิงคโปร์
- Advertisement -