สรุปภาวะตลาด

วันศุกร์ที่ผ่านมา ระหว่างชั่วโมงการซื้อขายดัชนีปรับตัวลงต่ำสุดราว -19 จุด แต่มีแรงซื้อกลับในช่วงเย็น ทำให้ดัชนีลดช่วงลบลง นำโดยการปรับตัวขึ้นของกลุ่มค้าปลีก ขณะที่หุ้น Big Cap. ในกลุ่มพลังงานและธนาคาร ที่ปรับตัวลงไปมากในระหว่างวันก็ลดช่วงลบลงเช่นกัน โดยปัจจัยกดดันตลาดคาดมาจากเงินบาทที่อ่อนค่าต่อเนื่อง ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,533.37 จุด -3.45 จุด -0.22% มูลค่าการซื้อขาย 64,657 ลบ. ต่างชาติ -1,063.84 ลบ. TFEX -27,988 สัญญา ตราสารหนี้ -1,749.03 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ ดัชนีดาวโจนส์ปิดพุ่งขึ้น 658.09 จุด +2.15% ได้แรงหนุนจากการเปิดเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่งของ บริษัทจดทะเบียน ข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง อาทิ ยอดค้าปลีกในเดือนมิ.ย. ดีดตัวขึ้น 1%MoM และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 51.1 ใน เดือนก.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาด และนักลงทุนคลายความวิตกเกี่ยวกับการที่ FED จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากเกินคาด แต่ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีดาวโจนส์ติดลบ 0.2%

+ สหรัฐเปิดเผยว่า สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น 1.4%MoM ในเดือนพ.ค. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.3%MoM หลังจากเพิ่มขึ้น 1.3%MoM ในเดือนเม.ย. สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจพุ่งขึ้น 17.7%YoY บ่งชี้ถึงความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่ว่ายอดขายจะเพิ่มขึ้นในช่วงหลายเดือนข้างหน้า

+ บริษัท เดอะนีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) จํากัด เปิดเผยภาพรวมการใช้เงินโฆษณาในช่วง 1H65 มีมูลค่าที่ 58,365 ล้านบาท +8.11%YoY สื่อทีวียังเป็นสื่อที่มีสัดส่วนของการใช้เงินโฆษณาสูงสุดที่ 54% มูลค่า 31,743 ล้านบาท ลดลง 1.09% สถานการณ์โควิดเริ่มผ่อนคลายทําให้ผู้ประกอบการออกมาทํากิจกรรมการตลาดมากขึ้น

ปัจจัยลบ –

– แม้วันศุกร์สัญญาน้ำมันดิบ WTI ปิดพุ่งขึ้น 1.81 ดอลลาร์ +1.9% ปิดที่ 97.59 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยร่วงลง 6.9% ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่เช้านี้ราคาน้ำมัน WTI ร่วงหลุดระดับ 597 กังวลจีนหวนล็อกดาวน์หลังติดเชื้อโควิดพุ่ง

– รัฐบาลมาเก๊าจะขยายเวลาล็อกดาวน์ต่อไปจนถึงวันศุกร์ที่ 22 ก.ค. จากเดิมที่จะสิ้นสุดในวันจันทร์ที่ 18 ก.ค. ซึ่งเป็นการสั่งปิดบ่อนคาสิโนทั้งหมดเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

– เศรษฐกิจจีนปี 65 มีแนวโน้มเติบโตลดลงจากเดิม หลังรายงาน GDP 2Q65 ขยายตัวเพียง 0.4%YoY ต่ำกว่าที่ คาดการณ์ที่ 1.5%YoY GDP 1H65 เติบโตเพียง 2.5% เนื่องจากจีนล็อกดาวน์เมืองสำคัญในช่วงเดือนมี.ค.-เม.ย. 65 หลังจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในจีนเร่งตัวสูงขึ้น

– ส.อ.ท.คาดครึ่งปีหลังเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวแต่ไม่สมดุล กังวลเงินเฟ้อ-บาทอ่อน ราคาพลังงานแพงกระทบต้นทุน น่า เป็นห่วงกลุ่ม SME

+/- FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนักเพียง 30% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% และให้น้ำหนัก 70% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% หลังจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนเปิดเผยผลสำรวจของผู้บริโภคต่ำกว่าครั้งก่อนหน้า

+/- ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ในประเทศพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,025 ราย เสียชีวิต 18 ราย

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีในวันนี้รีบาวด์ตามดาวโจนส์ หลังจากที่ปรับตัวลงติดต่อกัน 3 วันทําการ จากความกังวลเรื่องเฟดเร่งขึ้น อัตราดอกเบี้ย ขณะที่ราคาน้ำมันเริ่มปรับตัวขึ้นช่วยหนุนหุ้นกลุ่มพลังงาน และปัจจัยทางเทคนิคเริ่มเข้าสู่ภาวะ Oversold สนับสนุนการรีบาวด์ มองกรอบการเคลื่อนไหวในวันนี้ที่ 1,527-1,545 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • กนง.มีโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ยช่วงครึ่งปีหลัง + หุ้นแบงก์ได้ประโยชน์จากธปท. เลิกเพดานจ่ายปันผล และทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น เราชอบแบงก์ใหญ่ KBANK BBL KTB TISCO
  • กังวลโควิด-19 ระลอกใหม่ : BH BDMS CHG BCH PRINC WPH
  • หุ้นเด่น IAA Consensus : BBL BEM CPN KBANK
  • ค่า Ft ขึ้น ขณะที่ต้นทุนพลังงานปรับตัวลง : GPSC BGRIM GULF

หุ้นรายงานพิเศษ

KEX “Neutral”

Bloomberg Consensus 19.75 บาท

  • งวด 1Q65 รายงานขาดทุน 491 ลบ. พลิกขาดทุนจาก 1Q64 ที่กำไร 303 ลบ. แต่ขาดทุนลดลงจาก 4Q64 ที่ขาดทุน 604 ลบ. โดยขาดทุนจากปีก่อนจากการปรับใช้กลยุทธ์ลดราคาค่าบริการตั้งแต่ช่วง 3Q64 แต่ปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อนจากการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ผบห.คาดผลประกอบการอาจพลิกมีกำไรภายในปี 2565 โดยตั้งเป้ารายได้เติบโต 20%YoY และปริมาณการจัดส่งพัสดุ +30%YoY รวมทั้งจะปรับใช้กลยุทธ์ Smart pricing lower pressure คือการปรับเพิ่มค่าบริการบนสถานการณ์การแข่งขันที่เริ่มคลี่คลายลง นอกจากนี้ บริษัทจับมือกับพันธมิตรใหม่หลายราย เพื่อเปิดบริการใหม่ๆ อาทิ Kerry Cool และ Kerry XL เป็นต้น
  • ปรับกลยุทธ์ภายใต้สถานการณ์น้ำมันที่เร่งขึ้นแรงในปีนี้ : เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 65 บริษัทปรับค่าบริการเป็นแบบ Additional Fuel Charge คือเก็บค่าน้ำมันส่วนเพิ่ม โดยมีรายละเอียด คือ 1) หากราคาน้ำมันดีเซล <= 30 บาทต่อลิตร ไม่เก็บค่าน้ำมันส่วนเพิ่ม 2) หากราคาน้ำมันดีเซลอยู่ในช่วง 31-34 บาทต่อลิตร เก็บค่าน้ำมันส่วนเพิ่ม 2 บาทต่อกล่องพัสดุ และ 3) หากราคาน้ำมันดีเซล > 34 บาท โดยทุกๆ การเพิ่มขึ้น 2 บาท ต่อลิตร จากราคาน้ำมันที่ 34 บาท จะเก็บค่าน้ำมันส่วนเพิ่ม 1 บาท (จากค่าน้ำมันส่วนเพิ่มในข้อ 2)
  • ความเห็น เรามีมุมมองเป็นกลางต่อแนวโน้มผลประกอบการในปี 2565 โดยแม้รายได้จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประกอบกับการผลักภาระต้นทุนน้ำมันบางส่วนให้กับผู้บริโภค อย่างไรก็ดี บริษัทยังเผชิญกับการแข่งขันในตลาด และผลกระทบของราคาน้ำมันที่เร่งขึ้นแรง ทำให้ผลประกอบการอาจฟื้นตัวได้ไม่ชัดเจน โดย Bloomberg Consensus คาดปี 65 ขาดทุนราว 786 ลบ. จากปี 64 ขาดทุน 47 ลบ.

หุ้นมีข่าว

(+) SCGP (Bloomberg consensus 2.69 บาท) ได้ลงนามในสัญญาเพื่อเข้าซื้อหุ้นในสัดส่วน 100% ใน Peute Recycling B.V. (Peute) ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจรีไซเคิลวัสดุบรรจุภัณฑ์ ครอบคลุมทั้งกระดาษรีไซเคิลและพลาสติกรีไซเคิล ตั้งอยู่ที่ Dordrecht ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยการเข้าซื้อหุ้นข้างต้นได้ดำเนินการสำเร็จเรียบร้อยแล้ว SCGP ได้ชำระเงินสำหรับการเข้าถือหุ้นรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 78.19 ล้านยูโร หรือประมาณ 2,875 ล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

(+) VIBHA (Bloomberg consensus 2.69 บาท) มองครึ่งปีหลัง 2565 ผู้ป่วย OPD และ IPD ฟื้นตัวแรง แถมรายได้โควิด-19 หนุน พร้อมรับทรัพย์จากเงินลงทุนและส่วนแบ่งกำไรต่อเนื่อง เล็งซื้อกิจการเพิ่ม เชื่อธุรกิจโรงพยาบาลโอกาสเติบโตต่อ เดินหน้าขยายโรงพยาบาลตามแผน ส่วนปีนี้คาดรายได้เติบโตได้ดี เทียบกับปี 2562 (ที่มา ทันหุ้น)

(+) SK (Bloomberg consensus – บาท) ส่งสัญญาณปริมาณงานครึ่งปีหลังฟู เดินหน้าเทิร์นอะราวด์เต็มตัว อวดแบ็กล็อกแน่น 180 ล้านบาท กลุ่มงานผลิตภัณฑ์คอนกรีตขายดี ตุนงานเต็มหน้าตัก 130 ล้านบาท เล็งจรดปากกาเซ็นงานเพิ่ม 70 ล้านบาท จ้องชิงเค้กก้อนใหญ่ 3 พันล้านบาท เติมพอร์ต (ที่มา ทันหุ้น)

(+) ILM (Bloomberg consensus 21.50 บาท) ส่งซิกครึ่งปีหลังยอดขายสาขาเดิมยังโตดีเป็นตัวเลขสองหลัก  สวนกระแสเงินเฟ้อ ชี้ปรับตัวรับโควิด ต้นทุนได้ เตรียมเปิดสาขา Index Livingmall รูปแบบมิกซ์ยูส และคอมมูนิตี้ มอลล์ ลิตเติ้ลวอล์ก มูลค่าลงทุนราว 300 ล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • สัปดาห์ที่ 3 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
  • สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้า
  • สัปดาห์ที่ 5 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
  • 19-22 ก.ค. อภิปรายไม่ไว้วางใจ ลงมติ 23 ก.ค.
  • ภายใน 21 ก.ค. หุ้นกลุ่มธนาคารส่งงบฯ งวด 2Q65
  • 29 ก.ค. ธปท. รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
  • 10 ส.ค. ประชุมกนง. ครั้งที่ 4/65

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 18 ก.ค. สหรัฐ รายงานดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือน ก.ค.จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB)
  • 19 ก.ค. อียู รายงานอัตราเงินเฟ้อเดือนมิ.ย.

สหรัฐ รายงานการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนมิ.ย.

  • 20 ก.ค. ธนาคารกลางจีนกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ LPR

สหรัฐ รายงานยอดขายบ้านมือสองเดือนมิ.ย. สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์

  • 21 ก.ค. ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประชุมนโยบายการเงินและแถลงมติอัตราดอกเบี้ย

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประชุมนโยบายการเงิน และแถลงมติอัตราดอกเบี้ย

  • 26–27 ก.ค. การประชุมนาคารกลางสหรัฐ (FED)
  • 3 ส.ค. โอเปกพลัสประชุมกำหนดนโยบายการผลิต
- Advertisement -