บล.พาย:

DTAC: บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น

ภาพรวม 2H22 ดีขึ้นจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว

คงคำแนะนำ “ถือ” มูลค่าพื้นฐาน 47.60 บาท อิงราคาเสนอขาย การประชุมให้น้ำหนักเชิงลบ เนื่องจากผู้บริหารปรับลดเป้าหมายการเติบโตของรายได้บริการหลักลงมาอยู่ในระดับทรงตัวกระทั่งติดลบเล็กน้อย (จากที่คาดไว้ในต้นปี 2022 ว่าจะโตทรงตัว) แนะนำหาจังหวะเทรดเพื่อเก็บเกี่ยวประโยชน์จากสภาวะราคาผันผวนที่อาจเกิดขึ้น

กำไรปกติ 2Q22 ต่ำกว่าคาด

  • กำไรสุทธิ 2Q22 อยู่ที่ 1 พันล้านบาท (-34% YoY, +38% QoQ) โต QoQ จากค่าใช้จ่ายที่นำไปหักค่าธรรมเนียมตามประกาศ กสทช. ได้ 1 พันล้านบาท แต่ลดลง YoY จากอัตรากำไรขั้นต้นที่ลดลง
  • หากไม่รวมรายการพิเศษ กำไรปกติ 2Q22 จะอยู่ที่ 573 ล้านบาท ต่ำกว่าคาด 33% ลดลงทั้ง QoQ และ YoY เพราะผลขาดทุนจากการอุดหนุนการขายมือถือเพื่อดึงดูดลูกค้า
  • อัตรากำไรขั้นต้นใน 2Q22 ที่ 24.2% คือปัจจัยฉุดกำไรปกติลง QoQ และ YoY ยอดขายทรงตัวที่ 2.0 หมื่นล้านบาท เพราะจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดตั้งแต่ 2016 จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวนั้น ถูกหักลบโดยรายได้เฉลี่ยต่อเลขหมาย (ARPU) ที่ลดลง
  • ประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลที่ 0.85 บาท ขึ้น XD วันที่ 27 ก.ค.

คาดกำไรปกติ 2H22 ฟื้นตัวจากแรงหนุนของกลุ่มการท่องเที่ยว

คงประมาณการกำไรสุทธิปี 2022 ที่ 3.4 พันล้านบาท (ทรงตัว YoY) แม้กำไรปกติ 2Q22 ออกมาน่าผิดหวัง ขณะที่ผู้บริหารปรับลดเป้าหมายปี 2022 ลง แต่เชื่อว่าตลาดเติมเงินจะฟื้นตัวดี เพราะคาดกลุ่มการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวอย่างเป็นลำดับตลอด 2H22 (ผู้บริหารของบริษัทระบุว่ารายได้จากนักท่องเที่ยวแตะ 50% ของช่วงก่อนเกิดโควิด-19 แล้วใน 2Q22) ทั้งนี้ ด้วยการที่บริษัทคาดว่าจะได้รับเงินสินไหมทดแทน 560 ล้านบาทใน 2H22 บวกกับคาดการณ์ว่าไตรมาส 4 จะมีผลประกอบการต่ำสุดของปี จึงเชื่อว่าผลประกอบการใน 1H22 จะออกมาสอดคล้องกับประมาณการทั้งปีของเรา

คงคำแนะนำ “ถือ” มูลค่าพื้นฐาน 47.60 บาท

แนะนำ “ถือ” มูลค่าพื้นฐาน 47.60 บาท อิงราคาเสนอขาย แต่ถ้าไม่นับรวมดีลควบบริษัทมูลค่าพื้นฐานคำนวณด้วยวิธีคิดลดเงินสด (DCF) จะอยู่ที่ 31.90 บาท (WACC: 9.0%, TG: 2%)

สรุปผลประกอบการ 2Q22

  • กำไรสุทธิ 2Q22 อยู่ที่ 1 พันล้านบาท (-34% YoY, +38% QoQ) ลดลง YoY จากค่าใช้จ่ายพิเศษครั้งเดียวเกี่ยวกับเหตุเพลิงไหม้จำนวน 560 ล้านบาทใน 2Q22 แต่จะได้รับเงินสินไหมทดแทนในช่วงปลายปี 2022 หรือต้นปี 2023 และจากอัตรากำไรขั้นต้นที่ลดลง ส่วนที่โต QoQ เป็นผลจากค่าใช้จ่ายที่นำไปหักค่าธรรมเนียมตามประกาศ กสทช. ได้ 1 พันล้านบาท สืบเนื่องจากความขัดข้องของคลื่น 900MHz
  • หากไม่รวมรายการพิเศษ กำไรปกติ 2Q22 จะอยู่ที่ 573 ล้านบาท (-61% YoY, -28% QoQ) การปรับลดลง QoQ เป็นผลมาจากการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่สูงขึ้น ส่วนที่ลดลง YoY มีสาเหตุจากผลขาดทุนในการขายมือถือที่สูงขึ้น  ผู้บริหารระบุสาเหตุของจำนวนหนี้เสียที่สูงขึ้นว่ามาจากความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะอัตราเงินเฟ้อสูง และไม่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ในอนาคต
  • รายได้ 2Q22 อยู่ที่ 2.0 หมื่นล้านบาท (ทรงตัวทั้ง YoY และ QoQ) แม้จำนวนสมาชิกใหม่สุทธิปรับเพิ่มขึ้นมาก (+1.028 ล้านราย YoY, +4.11 แสนราย QoQ) หนุนจากการฟื้นตัวอย่างเป็นลำดับของภาคการท่องเที่ยว แต่ ARPU กลับลดลงเหลือ 229 บาท (-7% YoY, -1% QoQ) ทำให้รายได้บริการมือถือหลักยังทรงตัวทั้ง QoQ และ YoY โดยคาดว่าจะเป็นเช่นนี้ต่อไปในปี 2022-23 เพราะ 1) กลุ่มการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวเป็นลำดับจะหนุนการเติบโตของจำนวนสมาชิก 2) คู่แข่งทุกรายต่างมุ่งแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดด้วยการทำสงครามด้านราคาก่อนที่ดีล DTAC-TRUE จะเกิดขึ้น 3) บรรยากาศเศรษฐกิจมหภาคที่อ่อนแอจะทำให้ผู้คนสมัครใช้บริการ 5G หรือแพ็คเกจราคาแพงน้อยลง อัตรากำไรขั้นต้นปรับสู่ระดับปกติที่ 24.2% (-4.2ppts YoY, +0.6ppts QoQ) การหดตัวลง YoY เป็นผลจากการขายมือถือมากขึ้นเพื่อดึงดูดลูกค้า ซึ่งเป็นส่วนที่มีผลขาดทุนมากขึ้น ส่วนที่โตขึ้น QoQ เป็นเพราะการขายมือถือที่น้อยลง ทั้งนี้ควรเน้นย้ำว่าปกติแล้วอัตรากำไรขั้นต้นมักต่ำสุดในไตรมาส 4 จากกิจกรรมโปรโมชั่นเกี่ยวกับการขายมือถือ

อัปเดตความคืบหน้าดีลควบบริษัท (ณ วันที่ 15 ก.ค. 2022)

2 ใน 4 ของคณะอนุกรรมการที่ตั้งโดย กสทช. ลงมติไม่เห็นชอบดีลควบบริษัท

  • ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ฉบับวันที่ 12 ก.ค. 2022 คาดว่าคณะอนุกรรมการฯ ด้านกฎหมายและด้านคุ้มครองผู้บริโภคและสิทธิพลเมืองที่จัดขึ้นเพื่อตรวจสอบดีลควบบริษัทในเดือน เม.ย. 2022 จะมีมติไม่เห็นชอบกับดีลนี้
  • ขณะที่อีก 2 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการฯ ด้านเทคโนโลยีและด้านเศรษฐศาสตร์ยังไม่มีมติ แต่ทำการศึกษารายละเอียดและประเมินผลกระทบเสร็จแล้ว โดยคาดว่าคณะอนุกรรมการฯ ด้านเศรษฐศาสตร์จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจต่อดีลนี้มากที่สุด เพราะมีคณะอนุกรรมการฯ นี้มีประธาน คือ ศุภัช ศุภชลาศัย ที่มีน้ำหนักต่อคณะกรรมการ กสทช. อย่างมีนัยสำคัญ อิงข้อมูลจากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ฉบับเดียวกัน
  • กสทช. ยังไม่ได้ประกาศออกมาว่าจะดำเนินตามข้อสรุปของคณะอนุกรรมการฯ ด้านกฎหมายที่ว่า กสทช. มีอำนาจในการอนุมัติหรือค้านดีล
  • คงสมมติฐานความเป็นไปได้ที่ 75% ว่าดีลนี้จะได้รับการอนุมัติ แม้สาธารณะมีความกังวลในประเด็นการคุ้มครองผู้บริโภค แต่เชื่อว่าท้ายที่สุดดีลนี้จะเกิดขึ้นเมื่อดูจากบรรยากาศการแข่งขันในปัจจุบันที่สุดท้ายแล้วจะทำให้ ADVANC กลายเป็นผู้ครองตลาดในระยะยาว สืบเนื่องจากความสามารถในการทำกำไร งบดุล และการถือครองคลื่นความถี่ที่เหนือกว่าทั้ง TRUE และ DTAC

Revenue breakdown

บริษัทมีรายได้จาก 3 แหล่งหลักคือ:

  • บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ คิดเป็น 71% ของรายได้รวมของบริษัทในปี 2021 โดยบริษัทมีจำนวนผู้ใช้บริการรวม 19.6 ล้านราย 68% เป็นลูกค้าในระบบเติมเงิน (การชำระเงินตามความต้องการและการใช้งานที่จำกัด) และส่วนที่เหลือเป็นลูกค้าระบบรายเดือน (การชำระเงินหลังการใช้บริการ โดยมีระดับของการส่งข้อมูลที่แตกต่างกันหลายระดับ)
  • รายได้ส่วนอื่นๆ คิดเป็น 18% ของรายได้รวม ซึ่งเกี่ยวกับการให้บริการ IDD (การโทรระหว่างประเทศ) และบริการสื่อดิจิทัลอื่นๆ
  • การจําหน่ายเครื่องโทรศัพท์และชุดเลขหมาย คิดเป็น 11% ของรายได้รวมของบริษัท โดยธุรกิจส่วนนี้เกี่ยวข้องกับการขายซิมและอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ ซึ่งมักจะจำหน่ายควบคู่ไปกับบริการโทรศัพท์มือถือ แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วบริษัทจะรับรู้ขาดทุนจากส่วนธุรกิจนี้ (GPM เฉลี่ย 3 ปี -123%) แต่การขาดทุนจะได้รับการชดเชยด้วยการขยายฐานผู้ใช้บริการใหม่
- Advertisement -