สรุปภาวะตลาด

วันจันทร์ที่ผ่านมา ดัชนีปรับตัวขึ้นเป็นการรีบาวด์ +11 จุด มีแรงซื้อกลับจากการปรับตัวลงต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา แรงซื้อนำโดยหุ้นกลุ่มพลังงาน อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนแรงขายมีมากในหุ้นกลุ่มโรงพยาบาล ตลาดหุ้นได้ปัจจัยหนุนจาก คาดการณ์ว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% กลับลำจาก 1.00% พร้อมทั้งนักวิเคราะห์ในตลาดมองว่าเงินเฟ้อสหรัฐผ่านจุดสูงสุดแล้ว ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,533.37 จุด -3.45 จุด -0.22% มูลค่าการซื้อขาย 49,093 ลบ. ต่างชาติ +1,214.80 ลบ. TFEX +17,011 สัญญา ตราสารหนี้ -471.17 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ปิดเพิ่มขึ้น 5.01 ดอลลาร์ +5.1% ปิดที่ 102.60 ดอลลาร์/บาร์เรล สูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 11 ก.ค.ได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแรงถึง 1% ในการประชุมเดือนนี้

+ กนอ.จัดโรดโชว์ที่ญี่ปุ่นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ชวนนักลงทุนญี่ปุ่นให้เข้ามาลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve และ New S-Curve รวมทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมชีวภาพ (BCG)

+ ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบโครงการจัดหายารักษาผู้ป่วยโควิด-19 กรอบวงเงิน 3,995 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินงาน 3 เดือน (ก.ค.-ก.ย.65)

ปัจจัยลบ –

– ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 215.65 จุด -0.69% ถูกกดดันจากการดิ่งลงของหุ้นแอปเปิล หลังมีรายงานว่าบริษัทวางแผนชะลอการจ้างงานและการใช้จ่ายในปีหน้า บดบังปัจจัยบวกจากรายงานผลประกอบการที่ดีเกินคาดของบริษัทโกลด์แมน แซคส์

– ตลาดพันธบัตรสหรัฐเกิดภาวะ inverted yield curve โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นดีดตัวเหนือพันธบัตรระยะยาว ซึ่งเป็นการบ่งชี้ถึงแนวโน้มการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย

– แบบจําลองคาดการณ์ GDPNOW ล่าสุดแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐหดตัว 1.5% ใน 2Q65 จากเดิมหดตัว 1.2% แสดงว่าเศรษฐกิจสหรัฐเข้าเกณฑ์นิยามของการเกิดภาวะถดถอยแล้ว เนื่องจากเศรษฐกิจหดตัว 2 ไตรมาสติดต่อกัน

– สหรัฐเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านลดลง 12 จุด สู่ระดับ 55 ในเดือนก.ค. ทรุดตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการสำรวจ และเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 ซึ่งมีสาเหตุจากความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อและภาวะเศรษฐกิจถดถอย

– ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เปิดเผยว่าดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน 2Q65 +1.1%QoQ +5.6%YoY เนื่องจากค่าตอบแทนในหมวดงานออกแบบก่อสร้างและงานระบบที่เพิ่มขึ้นทุกรายการ โดยเฉพาะหมวดงานวิศวกรรม 12.4%

– ททท. เปิดเผยว่า 2Q65 พบสัญญาณการใช้จ่ายนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงเหลือ 5.5 หมื่นบาท/คน/ทริป จากไตรมาสแรกที่ 7.7 หมื่นบาท/คน/ทริป เนื่องจากกังวลว่าเศรษฐกิจไม่ดี เงินเฟ้อสูงทั่วโลก และปัญหาน้ำมันแพง ทำให้นักท่องเที่ยวประหยัดการใช้จ่าย

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีในวันนี้พักฐานเนื่องจากหุ้นที่ปรับตัวขึ้นนำดัชนี คือ กลุ่ม Energy และ Electronic ขณะที่กลุ่มอื่นยังพัก ฐาน ทำให้ดัชนีปรับตัวขึ้นได้จำกัด อย่างไรก็ตาม ค่าสัญญาณทางเทคนิคที่ยังอยู่ในแนวโน้มขาลงยังเป็นปัจจัยกดดัน ต่อดัชนี มองกรอบดัชนีในวันนี้ที่ 1,537-1,550 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • กนง.มีโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ยช่วงครึ่งปีหลัง + หุ้นแบงก์ได้ประโยชน์จากธปท. เลิกเพดานจ่ายปันผลและทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น เราชอบแบงก์ใหญ่ KBANK BBL KTB TISCO
  • กังวลโควิด-19 ระลอกใหม่ : BH BDMS CHG BCH PRINC WPH
  • หุ้นเด่น IAA Consensus : BBL BEM CPN KBANK + ค่า Ft ขึ้นขณะที่ต้นทุนพลังงานปรับตัวลง : GPSC BGRIM GULF

หุ้นรายงานพิเศษ

CKP (Bloomberg Consensus 6.50 บาท) เข้า High Season

  • คาดผลประกอบการ 2Q65 เติบโตอย่างมีนัยสำคัญจากไตรมาสก่อน ตามปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนไซยะบุรีเพิ่มขึ้นจากเฉลี่ย 2,547 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีสู่ 2,969 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีเพิ่มขึ้น 17%YoY ทำให้ปริมาณการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 2.04 ล้านหน่วยเป็น 2.21 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้น 8%YoY
  • 3Q65 มีโอกาสเติบโตต่อเนื่องจากเข้าสู่ High Season ฤดูฝนทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง นอกจากนี้บริษัทได้ลงนาม MOU กับโรงไฟฟ้าหลวงพระบางกำลังการผลิต 1,460 MW ช่วยหนุนการเติบโตระยะยาว ทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นสู่ 3.63 พัน MW
  • ความเห็น เรามีมุมมองบวกต่อผลประกอบการ CKP ใน 2Q65 และ 3Q65 ตามปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนไซยะบุรีเพิ่มขึ้น อีกทั้งปี 65 ฤดูฝนมาเร็วกว่าปกติ ขณะที่ราคาหุ้นใน 2Q65 ปรับตัวขึ้น 12% ยังไม่ตอบสนองผลประกอบการที่คาดว่าจะเติบโตหลายเท่าตัว เราจึงแนะนำ “ซื้อ”

หุ้นมีข่าว

(+) NEX (Bloomberg consensus 22.80 บาท) เปิดโรงงานประกอบรถไฟฟ้า ย้ำไตรมาส 3/2565 ส่งมอบ E-Bus กว่า 800 คัน ดันผลงานพลิกเทิร์นอะราวด์ ดีมานด์ยานยนต์ไฟฟ้าเติบโตก้าวกระโดด พร้อมลุย E-Truck ปลายปีนี้ มั่นใจปีนี้ล้างขาดทุนสะสมเกลี้ยง ด้าน EA ประสบความสำเร็จรถรางไฟฟ้า 100% ชูโอกาส รฟท.ใช้งานต่อยอด EV Ecosystem กลุ่มบริษัท (ที่มา ทันหุ้น)

(+) RBF (Bloomberg consensus 15.70 บาท) มั่นใจคู่ค้าทยอยออกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสม CBD ลุยเดินหน้าคิดค้นพัฒนาโซลูชันเฉพาะทาง สร้างเอกลักษณ์เฉพาะผลิตภัณฑ์ให้สินค้าทุกประเภท ด้านธุรกิจหลักยังมีออเดอร์ต่อเนื่องตามยอดขายผลิตภัณฑ์ของคู่ค้าที่เร่งตัวขึ้น ย้ำเป้ารายได้ทั้งปี 2565 โต 10-15% (ที่มา ทันหุ้น)

(+) RJH (Bloomberg consensus 35.90 บาท) ชูเป้าผลงานปีนี้เติบโตนิวไฮใหม่ ทุ่มงบ 800 ล้านบาท เตรียมก่อสร้างโรงพยาบาลราชธานี หนองแค จำนวน 150 เตียง เจาะตลาด EEC พร้อมประเมินผลงานครึ่งปีหลังโตต่อเนื่อง ยอดคนไข้ทั่วไป-คนไข้โควิด-19 และประกันสังคมหนุน ลุ้นโควตาข้าราชการเพิ่ม (ที่มา ทันหุ้น)

(+) STA (Bloomberg consensus 28.00 บาท) ขยายการลงทุนเพิ่มกำลังการผลิตยางแท่งที่โรงงานบึงกาฬอีก 87,600 ตันต่อปี และโรงงานตรังอีก 70,080 ตันต่อปี ดันกำลังการผลิตยางทุกประเภทรวมกันเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 3.1 ล้านตันต่อปี ส่วนการขยายกำลังการผลิตน้ำยางข้นที่โรงงาน นราธิวาส คาดแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคมนี้ และโรงงานสุราษฎร์ธานีคาดว่าแล้วเสร็จเดือนธันวาคมนี้ หนุนเป้าหมายเติบโตต่อเนื่อง (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการ ส่งออก-นำเข้า
  • สัปดาห์ที่ 5 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
  • 19-22 ก.ค. อภิปรายไม่ไว้วางใจ ลงมติ 23 ก.ค.
  • ภายใน 21 ก.ค. หุ้นกลุ่มธนาคารส่งงบฯ งวด 2Q65
  • 25 ก.ค. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
  • 29 ก.ค. ธปท. รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
  • 10 ส.ค. ประชุมกนง. ครั้งที่ 4/65

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 19 ก.ค. อียู รายงานอัตราเงินเฟ้อเดือนมิ.ย. สหรัฐ รายงานการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนมิ.ย.
  • 20 ก.ค. ธนาคารกลางจีนกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ LPR

สหรัฐ รายงานยอดขายบ้านมือสองเดือนมิ.ย. สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์

  • 21 ก.ค. ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประชุมนโยบายการเงินและแถลงมติอัตราดอกเบี้ย

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประชุมนโยบายการเงินและแถลงมติอัตราดอกเบี้ย

สหรัฐ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

  • 26–27 ก.ค. การประชุมนาคารกลางสหรัฐ (FED)
  • 3 ส.ค. โอเปกพลัสประชุมกำหนดนโยบายการผลิต
- Advertisement -