KS Daily View 19.07.2022 >>> ต่างประเทศประเด็นสำคัญ คือ เมียนมา, ระยะสั้นราคาพลังงาน Rebound ขึ้นแต่ยังคาดยังผันผวนในเดือนนี้/ ในประเทศติตดามรายงานงบกลุ่มธนาคาร, ตัวเลขส่งออก –นำเข้า/SET วันนี้คาดแกว่งในกรอบ 1535-1550 จุด หุ้นแนะนำ SCGP

ต่างประเทศ : ตลาดหุ้นโลกยังแกว่งตัวเมื่อวาน Dow jones -0.7%,DAX +0.7%ส่วนประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้น
เมียนมา : ธนาคารกลางเมียนมาออกคำสั่งให้ธนาคารที่ได้รับอนุญาต แจ้งลูกค้าธุรกิจและรายย่อย ระงับการจ่ายหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยแก่เจ้าหนี้ต่างประเทศ เพื่อรักษาปริมาณทุนสำรองที่ลดลงต่อเนื่อง และมีคำสั่งห้ามนำเข้ารถยนต์ และสินค้าฟุ่มเฟือย การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันประกอบอาหาร
KS ประเมินจะทำให้บริษัทจดทะเบียนมีความเสี่ยงต่อการทำธุรกิจในพม่าเพิ่มขึ้น MEGA มีสัดส่วนรายได้ จากเมียนมาราว 35%, กลุ่มเครื่องดื่ม อาทิ CBG และ OSP มีสัดส่วนรายได้ในพม่าราว 10% ส่วน BH และ BDMS อาจกระทบผู้ป่วยชาวพม่าที่เดินทางเข้ามารักษาในไทย แต่ผลกระทบจำกัดมาก เนื่องจากผู้ป่วนชาวพม่าที่เข้ารักษาในไทยมักจะมีการนำเงินสดสกุลจ๊าตเข้ามาชำระ

ราคาพลังงานปรับขึ้นแรง : ราคาน้ำมันดิบ Brent ปิดที่ US$106.27/bbl (+5.03% DoD) หนุนจากความกังวลว่ารัสเซียจะยังคงตัดการส่งก๊าซธรรมชาติไปยังยุโรป แม้ Nord Stream 1 เสร็จสิ้นการซ่อมบำรุงในวันที่ 21 ก.ค. ซึ่งจะทำให้ยุโรปเผชิญวิกฤตพลังงาน และการอ่อนค่าของดอลลาร์ 2 วันติดต่อลงมาอยู่ที่ 107.3 จุด
KS ประเมินเป็น Sentiment บวกต่อหุ้นพลังงาน อาทิ PTT, PTTEP ระยะสั้นแนะนำ Trading ตามราคาน้ำมัน ยังคงมุมมองราคาน้ำมันในไตรมาส 3 จะผันผวนสูง แต่ประเมินว่าผ่านจุด Peak ไปแล้ว ประเมินเป็นแกว่งตัวลงจากแรงกดดัน Recession ยังคงมุมมองบวกต่อหุ้นในกลุ่ม Anti Commodity จะได้ประโยชน์

ในประเทศ : ประเด็นที่ต้องติดตามในวันนี้หลักๆ คือ

1.) กระทรวงมหาดไทยเตรียมยื่นวาระให้ ครม. เห็นชอบมาตรการ กระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เปิดทาง ‘ชาวต่างชาติ’ ให้สามารถซื้อบ้านแนวราบ พร้อมที่ดินขนาดไม่เกิน 1 ไร่ ได้ ตามเงื่อนไข ต้องเป็นผู้ที่เข้ามาลงทุนในไทย มากกว่า 40 ล้านบาท ติดต่อกัน เป็นเวลา 3 ปี ประเมินเป็นบวกกับอสังหาฯ ระดับบนได้แก่ LH, SC, SIRI

2.) วันนี้เป็นวันแรกของการการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล 19-22 ก.ค.

3.) การประกาศงบของธนาคาร KKP วันนี้ KS คาด1,819 ลบ. -11.6% QoQ, +34.3% YoY)

ส่วนประเด็นอื่นที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้หลักๆ คือ ตัวเลขส่งออกและนำเข้าของไทยเดือน มิ.ย. คาด +10% YoY และ +20.8% YoY และ มาตรการการแก้ปัญหาหนี้สินประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิดเร่งด่วน 40 ล้านบัญชี คาดจะเป็นการปรับโครงสร้างหนี้แบบสิงคโปร์ คือยืดหนี้ 3-5 ปี ควบคู่ลดดอกเบี้ย เหลือ 8.5% ในกลุ่มบัตรเครดิต-สินเชื่อบุคคล รวมถึงประเด็นค่าเงินบาท แนวโน้มยังอ่อนค่าแตะ 37 บาท

คำแนะนำเชิงกลยุทธ์ : KS แนะนำทยอยสะสมหุ้น และไม่ Cutloss ในหุ้นที่มีพื้นฐาน ประเมินแรงกดดันทั้งเงินเฟ้อสหรัฐ , Bond yields, ราคาพลังงาน ได้ผ่านจุด Peak ไปแล้ว ได้สะท้อนในราคาหุ้นและดัชนีตลาดหุ้นไทยในระดับนึง โดยในไตรมาส 3 ตลาดหุ้นยังแกว่งตัวลงจากแรงกดดันจาก Recession แต่ไตรมาสนี้คงมุมมองว่าเป็น Bottom แล้วและคาดจะฟื้นตัวในไตรมาส 4

โดยหุ้นที่แนะนำทยอยลงทุนยังคงเน้น :

1.) กลุ่มAnti commodity แนะนำ CBG, OSP, RBF, CPF, GFPT, TOA และ PTG) ได้ประโยชน์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลงจากต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง

2.) กลุ่ม Tech consults อาทิ BE8,BBIK, IIG

3.) กลุ่มการเงินอาทิ MTC TIDLOR ได้ประโยชน์จากต้นทุนดอกเบี้ยที่ต่ำลง

ส่วนกลุ่มที่แนะนำชะลอลงทุน คือกลุ่ม Global play อาทิ ปิโตรเคมี, ยานยนต์ , กลุ่มธนาคาร

มุมมองตลาดหุ้น SET วันนี้คาดแกว่งในกรอบ 1535-1550 จุด หุ้นแนะนำ SCGP

Top Pick :

SCGP (ราคาพื้นฐาน 64.0 บาท) เราคาดกำไรผ่านจุดต่ำสุดแล้ว คาดกำไรปกติไตรมาส 2/2565 อยู่ที่ 1.87 พันลบ. ลดลง 18.1% YoY จากราคาถ่านหินที่สูงขึ้น แต่เพิ่มขึ้น 8.9% QoQ จาก GPM ที่ดีขึ้นจากธุรกิจเส้นใย และมีแนวโน้มกำไรจะดีขึ้นในครึ่งปีหลังแรงหนุนจาก 1) การผ่อนคลายการล็อกดาวน์ของจีนซึ่งน่าจะช่วยเพิ่มยอดขายส่งออกของ SCGP และราคากระดาษ testliner ในภูมิภาค 2) GPM ที่สูงขึ้นจากส่วนต่างราคาที่คาดสูงขึ้นจากราคาเศษกระดาษ OCC ที่ลดลงจากค่าระวางเรือและค่าขนส่งทางบกที่ลดลง 3) ราคาถ่านหินที่อ่อนตัวลง และ 4) การควบรวมกิจการกระดาษรีไซเคิล (RCP) จากยุโรปจะเป็นปัจจัยบวกต่อกำไรและราคาหุ้น

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

วันอังคาร ติดตามตัวเลข Housing Starts ของสหรัฐฯเดือน มิ.ย. คาด +2.3% MoM เป็น 1.585 ล้านยูนิต ตัวเลข Building Permits ของสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. คาด -2.6% MoM เป็น 1.65 ล้านยูนิต และถ้อยแถลงของ Fed Brainard

วันพุธ ติดตามการกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของจีนคือ Loan Prime rate 1 ปี และ 5 ปี คาดคงดอกเบี้ยที่ 3.7% และ 4.45% ตามลำดับ ดัชนี PPI ของเยอรมันเดือน มิ.ย. คาด +1.1% MoM และ 33.9% YoY อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษเดือน มิ.ย. คาด +0.7% MoM และ +9.2% YoY ตัวเลข Existing homesales ของสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. คาด -0.6% MoM เป็น 5.38 ล้านยูนิต และปริมาณสต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ รายสัปดาห์

วันพฤหัสฯ ติดตาม ตัวเลขดุลการค้าของญี่ปุ่นเดือน มิ.ย. คาด -1.509 ล้านล้านเยน (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ -2.385 ล้านล้านเยน) ผลการประชุมของ BOJ คาดคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% ผลการประชุมของ ECB คาดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25bps. เป็น -0.25% สำหรับ Deposit Facility Rate และตัวเลข Initial Jobless Claim ของสหรัฐฯ คาด 240K เทียบสัปดาห์ก่อนที่ 244K

วันศุกร์ ตัวเลขดุลการค้าของไทยเดือน มิ.ย. คาด -1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบเดือนก่อนหน้าที่ -1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นเดือน มิ.ย. คาด +0.2% MoM และ +2.6% YoY ตัวเลข Retail sales ของอังกฤษเดือน มิ.ย. คาด -0.4% MoM และ -5.3% YoY ตัวเลข S&P Global Manufacturing PMI Flash ของยูโรโซนเดือน ก.ค. คาด 51 จุด (-2.1% MoM) และตัวเลข S&P Global Manufacturing PMI Flash ของสหรัฐฯเดือน ก.ค. คาด 52 จุด (-1.3% MoM)

- Advertisement -