สรุปภาวะตลาด

วันอังคารที่ผ่านมา ดัชนีปรับตัวลงแรงถึง -20 จุด แต่มีแรงช้อนซื้อ ทำให้ดัชนีลดช่วงลบลงเหลือ -11 จุด ปัจจัยกดดันมาจากประเด็น บริษัท แอปเปิล วางแผนชะลอจ้างงาน การใช้จ่าย รับมือแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัว รวมถึงบริษัทขนาดใหญ่อย่าง เมตา แพลตฟอร์มส์ และเทสลา อิงค์ โดยหุ้นกลุ่มที่ปรับตัวกดดันตลาด ได้แก่ กลุ่มพลังงาน ธนาคาร และอาหาร จากข่าวที่ว่าราคาหมู ไก่ อาจถูกคุมราคา ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,533.43 จุด -11.38 จุด -0.74% มูลค่าการซื้อขาย 57,611 ลบ.ต่างชาติ -1,562.83 ลบ. TFEX -19,013 สัญญา ตราสารหนี้ -1,335.04 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ ดัชนีดาวโจนส์ปิดพุ่งขึ้น 754.44 จุด +2.43% ขานรับผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียนหลายบริษัทที่ดีกว่าคาด รวมถึงบริษัทฮัลลิเบอร์ตัน ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานรายใหญ่ของสหรัฐ และเน็ตฟลิกซ์ผู้ให้บริการสตรีมมิ่งสื่อบันเทิงรายใหญ่ของสหรัฐ

+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 1.62 ดอลลาร์ +1.6 + % ปิดที่ 104.22 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิด สูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค.ได้ปัจจัยหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และการคาดการณ์ที่ว่าอุปทานนํ้ามันในตลาดโลกจะเผชิญภาวะตึงตัว

+ สหรัฐปรับเพิ่มอันดับของไทยให้อยู่ในระดับ “เทียร์ 2” (Tier 2) หลังจากที่ไทยถูกลดระดับสู่ “เทียร์ 2 ที่ต้องจับ ตามอง” (Tier 2 Watch List)

+ รัสเซียจะกลับมาส่งก๊าซให้แก่สหภาพยุโรป (EU) หลังซ่อมบำรุงประจำปีเสร็จสิ้นในวันที่ 21 ก.ค.แต่ต่ำกว่า ระดับ 160 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งเป็นระดับการส่งก๊าซเต็มศักยภาพของท่อส่งดังกล่าว ช่วยคลายความวิตกเกี่ยวกับวิกฤตพลังงานในยุโรป หนุนตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 5 สัปดาห์

+ ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) มีมติให้คงราคาน้ำดีเซลไว้ที่ลิตรละ 34.94 บาท โดยเป็นการตรึงราคาต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 5 เพื่อช่วย ลดค่าใช้จ่ายให้ประชาชน

ปัจจัยลบ –

– สหรัฐรายงานตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านลดลง 2% ในเดือนมิ.ย. สู่ระดับ 1.559 ล้านยูนิตต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.2564 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.580 ล้านยูนิตได้รับผลกระทบจากการพุ่งขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนอง ราคาวัสดุก่อสร้าง และการขาดแคลนแรงงาน

– ผลสํารวจนักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัว 3.1% ในไตรมาสนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีที่ผ่านมา ซึ่งลดลงจากประมาณการที่ได้สำรวจเมื่อเดือนมิถุนายนที่คาดว่าจะโต 3.5%

+/- ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศว่าพบผู้ติดเชื้อรายใหม่รักษาในโรงพยาบาล 2,886 ราย เสียชีวิต 19 ราย

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีในวันนี้รีบาวด์ตามดัชนีดาวโจนส์ที่ปรับตัวขึ้น หลังบริษัทพลังงานรายใหญ่ของสหรัฐประกาศผลประกอบการดีกว่าคาด อย่างไรก็ตาม การเกิด Inverted yield curve ระหว่างพันธบัตรสหรัฐอายุ 2 ปีและ 10 ปี ยังเป็นปัจจัยที่นักลงทุนกังวล และการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมสัปดาห์หน้า คาดกรอบดัชนีในวันนี้ที่ 1,530-1,547 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • กนง.มีโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ยช่วงครึ่งปีหลัง + หุ้นแบงก์ได้ประโยชน์จากธปท. เลิกเพดานจ่ายปันผลและทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น เราชอบแบงก์ใหญ่ KBANK BBL KTB TISCO
  • กังวลโควิด-19 ระลอกใหม่ : BH BDMS CHG BCH PRINC WPH
  • หุ้นเด่น IAA Consensus : BBL BEM CPN KBANK
  • ค่า Ft ขึ้น ขณะที่ต้นทุนพลังงานปรับตัวลง : GPSC BGRIM GULF

หุ้นรายงานพิเศษ

SISB (Bloomberg Consensus 13.45 บาท)

  • ปัจจุบันมีนักเรียน 2,750 คนเพิ่มขึ้นจากปลาย 1Q22 ที่ 2,622 คน โดยนักเรียนเริ่มกลับมาเรียนที่โรงเรียนเพิ่มขึ้นตามนโยบายภาครัฐ ทำให้มีรายได้จากค่าอาหารและกิจกรรมเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ปีการศึกษา 2023 เริ่ม ส.ค. 22 ทางโรงเรียนได้ปรับเพิ่มค่าเล่าเรียน 5% หลังจากที่ไม่ได้ปรับขึ้นจากผลกระทบของ COVID-19
  • ผู้บริหารเตรียมปรับเป้าจำนวนนักเรียนปลายปีขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีนักเรียน 2,750 คน ชนเป้าปี 22 แล้ว ขณะที่แผนการก่อสร้างโรงเรียนที่นนทบุรีและระยองยังเป็นไปตามแผน โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 23 ช่วยหนุนการเติบโตต่อเนื่อง
  • ความเห็น เรามีมุมมองบวกต่อผลประกอบการ 2Q22 หลังภาครัฐประกาศให้นักเรียนกลับ เข้าเรียนที่โรงเรียน 100% และจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องสามารถชดเชยค่าเสื่อมราคาที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดสาขาธนบุรีเฟส 2 ได้ นอกจากนี้ยังปรับเพิ่มค่าเล่าเรียนอีก 5% และมีแผนเปิดโรงเรียนอีก 2 แห่งในปี 2566 เราจึงแนะนำ “ซื้อ”

หุ้นมีข่าว

(0) CBG (Bloomberg consensus 118.00 บาท) ไม่ห่วง กรณีแบงก์ชาติเมียนมาห้ามสั่งจ่ายหนี้ต่างประเทศ บิ๊ก “ร่มธรรม เศรษฐสิทธิ์” ยันไม่กระทบ เหตุซื้อขายเงินบาทผ่านตัวแทนจำหน่ายรายเดียว ปัจจุบันรายได้ในเมียนมาอยู่ที่ 25% ยืนยันลุยต่อเนื่องไม่ปรับกลยุทธ์ในเมียนมา มั่นใจผลงานครึ่งหลังโตต่อ ตลาดจีนโต 50-60% (ที่มา ทันหุ้น)

(+) UBE (Bloomberg consensus 2.95 บาท) ดีมานด์เอทานอลสู่ปกติก่อนเกิดโควิด แถมได้ราคาดี ล็อกต้นทุนต่ำ ช่วยดันมาร์จิ้น แย้มความต้องการแป้งมันสำปะหลังและแป้งฟลาวดีต่อเนื่อง เร่งขยายตลาด มั่นใจผลงานครึ่งปีหลังโตต่อ มีดีล M&A ต่อยอดธุรกิจปีนี้รายได้ตามเป้า 15-20% แผน 3 ปี แตะหมื่นล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

(+) KUMWEL (Bloomberg consensus – บาท) ชูสินค้านวัตกรรมครึ่งหลัง คาดดันยอดขายโตกระโดด เชื่ออุตสาหกรรมดิจิทัลดีมานด์ป้องกันล้น กอดแบ็กล็อกแน่น 100 ล้านบาท จ่อบุ๊กช่วงที่เหลือปีนี้ทั้งหมด ฟากผู้บริหารมองธุรกิจครึ่งปีหลังดีกว่าครึ่งปีแรก มั่นใจยอดชนเป้า หรือโตไม่น้อยกว่า 20% (ที่มา ทันหุ้น)

(+) NRF (Bloomberg consensus – บาท) เดินหน้าเสริมแกร่งในทุกกลุ่มธุรกิจ เร่งลุยธุรกิจกัญซง-กัญชา, แพลนต์-เบส เต็มสูบ การันตีรายได้ปี 2565 โต 50% ยันบาทอ่อนไม่กระทบ เผยดีลลงทุน Tofurky จบภายใน 2 เดือนนี้ ดันแพลนต์-เบส ขึ้น Top 4 ในอเมริกา พร้อมนำบริษัทไปสู่การเป็น Global Clean Food Tech Company (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • 20 ก.ค. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
  • สัปดาห์ที่ 5 สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
  • 19-22 ก.ค. อภิปรายไม่ไว้วางใจ ลงมติ 23 ก.ค.
  • ภายใน 21 ก.ค. หุ้นกลุ่มธนาคารส่งงบฯ งวด 2Q65
  • 25 ก.ค. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์
  • 29 ก.ค. ธปท. รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
  • 10 ส.ค. ประชุมกนง. ครั้งที่ 4/65

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 20 ก.ค. ธนาคารกลางจีนกำาหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ LPR

สหรัฐ รายงานยอดขายบ้านมือสองเดือนมิ.ย. สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์

  • 21 ก.ค. ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประชุมนโยบายการเงินและแถลงมติอัตราดอกเบี้ย

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประชุมนโยบายการเงิน และแถลงมติอัตราดอกเบี้ย

สหรัฐ รายงานจํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ดัชนีการผลิตเดือนก.ค.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนมิ.ย.จากคอนเฟอเรนซ์บอร์ด (Conference Board)

  • 22 ก.ค. อียู รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นต้นเดือนก.ค.
  • 26–27 ก.ค. การประชุมนาคารกลางสหรัฐ (FED)
  • 3 ส.ค. โอเปกพลัสประชุมกำหนดนโยบายการผลิต
- Advertisement -