บล.พาย: 

PTTEP บมจ. ปตท. สํารวจและผลิตปิโตเลียม

“ภาพรวม 2Q22 ที่แข็งแกร่ง”

ประเมินกำไรสุทธิ 2Q22 พุ่งสูงขึ้น 170% YoY และ 83% QoQ หนุนจากปริมาณขายและราคาขายเฉลี่ยที่สูงขึ้น คาดผลการดำเนินงานจะแข็งแกร่งต่อเนื่องในช่วง 2H22 เพราะปริมาณขายที่สูงขึ้นจะชดเชยราคาน้ำมันดิบที่ลดลงได้ ด้วยเหตุนี้จึงคงคำแนะนำ “ซื้อ”

ภาพรวมกำไรที่สดใสใน 2Q22

  • คาดกำไรสุทธิ 2Q22 ที่ 1.93 หมื่นล้านบาท (+170% YoY, +83% QoQ) หนุนจากราคาขายเฉลี่ยและปริมาณขายที่แข็งแกร่ง คาดว่าบริษัทจะบันทึกค่าใช้จ่ายพิเศษน้อยลง (ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน) ที่ 2.0 พันล้านบาทเทียบกับ 8.5 พันล้านบาทใน 1Q22
  • ประเมินราคาขายเฉลี่ยเพิ่มเป็น US$56/BOE (+32% YoY, +8% QoQ) เนื่องจากราคาน้ำมันดิบดูไบอ้างอิงปรับเพิ่มเป็น US$108/bbl (+61% YoY, +13% QoQ) และราคาก๊าซที่เพิ่มเป็น US$6.2/mm BTU (+11% YoY, +2% QoQ) ขณะที่คาดว่าปริมาณขายจะเพิ่มขึ้น 6% YoY และ 10% QoQ เป็น 469kBOED ใน 2Q22 หนุนจากส่วนแบ่งแหล่งก๊าซใหม่จากโครงการเอราวัณ (G1/61) ที่เริ่มดำเนินงานในเดือน เม.ย. 2022 และยอดขายที่สูงขึ้นจากโครงการ Oman block 61
  • อย่างไรก็ตาม ต้นทุนหน่วยผลิตปรับเพิ่มเป็น US$29.5/bbl (+8% YoY, +11% QoQ) สืบเนื่องจากค่าใช้จ่ายการผลิตที่สูงขึ้นที่อาจไปฉุดอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ลงเป็น 52% (-5.0 ppts QoQ)

คาดผลการดำเนินงานแข็งแกร่งต่อเนื่องใน 2H22

  • เล็งเห็นทิศทางกำไรที่แข็งแกร่งต่อเนื่องใน 2H22 จากปริมาณขายที่สูงขึ้นที่น่าจะไปชดเชยกับราคาขายเฉลี่ยที่ลดลงได้ ทั้งนี้คาดปริมาณขายเพิ่มเป็น 487kBOED ใน 2H22 (+9% HoH) หนุนจากส่วนแบ่งที่สูงขึ้นจากโครงการเอราวัณที่เริ่มเดินเครื่องใน 2Q22
  • คาดราคาน้ำมันดิบดูไบที่เพิ่มขึ้นเป็น US$107/bbl YTD (เพิ่ม 55% จาก US$69/bbl ใน 2Q21) จะอ่อนตัวลงใน 2H22 เพราะอุปทานจากสหรัฐฯ ประเทศสมาชิก OPEC และอื่นๆ ที่ปรับสูงขึ้น แต่เล็งเห็น downside risk เพียงเล็กน้อย แม้ได้รวมประเด็นที่ว่าการหาน้ำมันเข้ายุโรปแทนส่วนอุปทานจากรัสเซียไม่ใช่เรื่องง่ายเข้ามาในสมมติฐานแล้วก็ตาม ดังนั้นจึงคาดว่าราคาขายเฉลี่ยช่วง 2H22 จะทรงตัวในกรอบ US$54/BOE (-3% HoH) ลดลง 3% จาก 2Q22

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐานที่ 179.0 บาท

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐานที่ 179.0 บาท คำนวณด้วยวิธีคิดลดเงินสด (DCF) (WACC 8.9%, TG 1%) อิง 9xPE’22E โดยคาดว่าทิศทางกำไรที่แข็งแกร่งใน 2Q-2H22 และคาดการณ์อัตราผลตอบแทนเงินปันผลที่น่า ดึงดูดระดับ 6.5% ในปี 2022 จะเป็นปัจจัยหนุนทิศทางราคาหุ้นได้

Upside จํากัดจากราคาน้ำมันดิบ

  • ราคา spot น้ำมันดิบเบรนท์เฉลี่ยอยู่ที่ US$113/bbl ใน 2Q22 (+13% QoQ) สภาวะสงครามทำให้สมดุลระหว่งอุปสงค์และอุปทานปั่นป่วน และผลักราคาน้ำมันดิบแตะจุดสูงรอบ 7 ปี
  • แต่คาดว่ามาตรการรับมือจากสหรัฐฯ IEA และ OPEC ในการปรับเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบเพื่อชดเชยอุปทานน้ำมันของรัสเซียที่ขาดหายไป (2-3m bbl/d) จะจำกัด upside ราคาน้ำมันดิบในระดับหนึ่ง
  • EIA ประเมินราคาเบรนท์เฉลี่ยที่ US$111/bbl ใน 3Q22 และลดลงเหลือ US$105/bbl ใน 4Q22 และ US$97/bbl ในปี 2023
  • ราคาแท้จริงจะขึ้นกับความเข้มข้นของมาตรการคว่ำบาตรที่ดำเนินกับรัสเซีย แต่การขาดแคลนแหล่งอุปทานทดแทนและอุปสรรคด้านโลจิสติกส์น่าจะกันไม่ให้น้ำมันดิบเบรนท์ลดลงต่ำกว่า US$105/bbl ใน 2H22

Revenue breakdown

  • รายได้หลักของ PTTEP มาจากธุรกิจสำรวจและการผลิต (E&P) ซึ่งคิดเป็น 98% ของรายได้ทั้งหมด ที่เหลืออีก 2% มาจากธุรกิจท่อส่งก๊าซและอื่นๆ โดยในส่วนของก๊าซนั้นคิดเป็น 71% ของปริมาณขายทั้งหมด ส่วนน้ำมันคิดเป็น 29%
  • ขณะที่น้ำมันมีราคาขายที่สูงกว่าก๊าซ ทำให้รายได้จากธุรกิจก๊าซคิดเป็น 55% ของรายได้ทั้งหมด ส่วนน้ำมันคิดเป็น 45%
  • PTTEP ลงทุนทั้งในและต่างประเทศ รายได้ราว 72% มาจากไทย 21% จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอีก 7% จากที่อื่นๆ
- Advertisement -