บล.พาย: 

TTB: บมจ. ธนาคารทหารไทยธนชาต ได้เวลาเร่งเครื่อง

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 1.60 บาท ผลประกอบการ 2022 โต ขึ้น 36% YoY (+8% QoQ) และสูงกว่าคาด 20% คุณภาพสินเชื่อยืดหยุ่นดี ด้วยอัตราส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL ratio) ที่ลดลง และมีอัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่แข็งแกร่งพอรับมือกับความไม่แน่นอน โดยยังคงประมาณการอัตราการเติบโตกำไรสุทิที่แข็งแกร่ง ระดับ 18% YoY ในปี 2022 และ 17% YoY ในปี 2023

ผลประกอบการ 2Q22

  • กำไรสุทธิ 2Q22 ออกมาอยู่ที่ 3.4 พันล้านบาท โตขึ้น 36% YoY (+8% QoQ) ดีกว่าคาด 20% จากการตั้งสำรองหนี้ฯ น้อยลง แม้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิไม่ได้สูงแต่ที่เติบโต YoY และ QoQ ได้เป็นเพราะการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง และรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิที่สูงขึ้น ในด้านอัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) ปรับลดลงเล็กน้อย QoQ เป็น 2.8% ใน 2Q22 สืบเนื่องจากต้นทุนดอกเบี้ยที่สูงขึ้น อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้เพิ่มเล็กน้อย QoQ เป็น 45.7% (1Q22:44.3%)
  • สินเชื่อพลิกมาโตแดนบวกที่ 1.9% QoQ ใน 2Q22 (1Q22: -0.5%) หนุนจากอุปสงค์สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่และรายย่อยที่สูงขึ้น (สินเชื่อเช่าซื้อยานยนต์และสินเชื่อจดจำนอง) คุณภาพสินเชื่อปรับดีขึ้น ขณะที่ NPL ratio ลดลงเล็กน้อย QoQ เป็น 2.6% ในด้านอัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้นเป็น 133% เพียงพอต่อการรับมือกับความไม่แน่นอนในอนาคต

ภาพรวมการเติบโตยังแข็งแกร่งตามเดิม

  • กำไรสุทธิ 1H22 อยู่ที่ 6.6 พันล้านบาท (+25% YoY) คิดเป็น 54% ของประมาณการทั้งปี 2022 ทั้งนี้ด้วยการที่ปกติแล้วธนาคารไม่ได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาล จึงคาดว่าอัตราผลตอบเงินปันผลรายปีจะอยู่ที่ 4.8% ในปี 2022
  • คงประมาณการอัตราการกำไรสุทธิที่ 18% YoY ในปี 2022 และ 17% YoY ในปี 2023 สืบเนื่องจากรายได้การดำเนินงานที่สูงขึ้น และการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง ขณะที่คาดว่าค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญจะลดลงเหลือ 135bp ในปี 2022 และ 120bp ในปี 2023 เทียบกับ 156bp ในปี 2021

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 1.60 บาท

  • คงคำแนะนำ “ซื้อ” สะท้อนถึง 1) การเติบโตที่มั่นคงในอนาคต 2) คุณภาพสินเชื่อที่ยืดหยุ่นดี และ 3) มูลค่าหุ้นที่น่าดึงดูด มูลค่าพื้นฐานข้างต้นคำนวณด้วยวิธี Gordon growth (ROE 6.5%, อัตราการเติบโต 2%) อิง 0.7x PBV’22E หรือ -0.5SD ต่อค่าเฉลี่ย 5 ปี (2017 2021)

Revenue breakdown

รายได้ปี 2021 มาจาก 3 ธุรกิจหลักดังนี้

  • รายได้ดอกเบี้ยสุทธิคิดเป็นสัดส่วนรายได้ก้อนใหญ่สุดหรือราว 74% ของรายได้รวมในปี 2021 ปัจจัยที่จะหนุนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ คือ การเติบโตของสินเชื่อและอัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM)
  • รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิคิดเป็น 16% ของรายได้รวมปี 2021 ประกอบด้วยประกันผ่านธนาคาร กองทุนรวม และค่าธรรมเนียมด้านเครดิต
  • รายได้การดำเนินงานอื่นคิดเป็น 10% ของรายได้รวมปี 2021 ประกอบด้วยกำไรจากการลงทุน การเทรดและอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงรายได้เงินปันผล
- Advertisement -