บล.หยวนต้า (ประเทศไทย):

Action BUY (Maintain)

TP upside (downside) +26.9%

Close Jul 20, 2022 Price (THB) 41.75 

12M Target (THB) 53.00

Previous Target (THB) 60.00

What’s new?

  • คาดกำไรปกติ 2Q65 ที่ 373 ล้านบาท (-6.4% QoQ, -51.5% YoY) ลดลง QoQ กดดันจากจีนล็อกดาวน์ กำไรที่ลดลง YoY มาจากฐานสูงและขาดทุน SiC
  • เราปรับลดประมาณการปี 2565/66 ลง หลักๆ จากการปรับลดสมมติฐานการเติบโตของยอดขายเพื่อใส่ผลกระทบจากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจ

Our view

  • เราเพิ่มความระมัดระวังและปรับลด P/E Multiple จากเดิมที่ให้ไว้ระดับ +0.5SD ลงเป็น +0.25SD เพื่อสะท้อนความเสี่ยงของการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เพิ่มขึ้น
  • เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” อิงราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2565 ที่ 53.00 บาทต่อหุ้น หุ้นจะกลับมาน่าสนใจอีกครั้ง หากธุรกิจ SiC ซึ่งจะเริ่มรับรู้รายได้ใน 4Q65 ทำได้ดีกว่าคาด

HANA MICROELECTRONICS ปัจจัยมหภาคกดดันให้ผลประกอบการระยะสั้นขาดสีสัน

คาดกำไรปกติ 2Q65 ลดลง QoQ และ YoY

คาดกำไรปกติ 2Q65 ที่ 373 ล้านบาท (-6.4% QoQ, 51.5% YoY) ลดลง QoQ กดดันจากโรงงานในจีนที่ผลิตได้ไม่เต็มประสิทธิภาพจากการล็อกดาวน์ และลดลงแรง YoY จากผลกระทบของฐานสูงใน 2Q64 และการต้องรับผลขาดทุนของธุรกิจ SiC ที่ยังสูง สรุปสาระสำคัญดังนี้

1) คาดรายได้หลักที่ 6.0 พันล้านบาท (-2.1% QoQ, -1.5% YoY) คาดยอดขายสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ 175 ล้านเหรียญ (-5.4% QoQ, -9.8% YoY) รายได้ลดลง QoQ หลักๆ จากโรงงานในจีนผลิตได้ไม่เต็มประสิทธิภาพจากการล็อกดาวน์ในจีน ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการจัดหาวัตถุดิบในการผลิต

2) คาดอัตรากำไรขั้นต้นที่ 11.2% (+35bps QoQ, -556bps YoY) อัตราการทำกำไรที่ดีขึ้น QoQ เป็นผลบวกจากค่าเงินบาท/USD ที่อ่อนค่าลง -3.5%QoQ ในขณะที่เทียบ YoY คาดอัตราการทำกำไรถูกกดดันจากราคาต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น และการต้องบันทึกผลขาดทุนของธุรกิจ SiC

3) SG&A คาดที่ 353 ล้านบาท (-7.4% QoQ,-5.6% YoY) SG&A to sale คาดที่ 5.9% ใกล้เคียงค่าเฉลี่ย

ปรับลดประมาณการและ P/E Multiple สะท้อนความเสี่ยงที่เศรษฐกิจอาจเกิด Recession

หากกำไรออกมาตามคาด กำไรปกติ 1465 จะคิดเป็น 38% ของประมาณการปี 2565 เดิมของเราที่ 2.0 พันล้านบาท (-12% YoY) แนวโน้ม 2H65 แม้ล็อกดาวน์ในจีนเริ่มคลี่คลาย ทำให้บริษัทสามารถจัดหาวัตถุดิบได้ง่ายขึ้นและหนุนให้ความต้องการ Consumer Electronic ในจีนฟื้นตัว อีกทั้งการบันทึกผลขาดทุนจากธุรกิจ SiC เราคาดจะลดลงเทียบ HoH แต่ความเสี่ยงหลักของ HANA คือการที่เศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคลดการใช้งานสินค้าฟุ่มเฟือยลง เช่น รถยนต์ สินค้าไอที มือถือ มีโอกาสเกิดผลกระทบต่อ HANA สูง เนื่องจากมีสัดส่วนยอดขายหลักเป็นกลุ่มสินค้า Telecom ราว 30% และกลุ่มรถยนต์ ราว 19% เทียบกับรายได้รวม

เราปรับลดประมาณการปี 2565/66 ลง 4% และ 8% ตามลำดับ เป็นคาดกำไรปกติปี 2565 ที่ 1.9 พันล้านบาท (-15% YoY) และกำไรปกติปี 2566 2.5 พันล้านบาท (+27% YoY) หลักๆ จากการปรับลดสมมุติฐานการเติบโตของยอดขายเพื่อใส่ผลกระทบจากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่จะกระทบต่อคำสั่งซื้อ ในแง่ของ PE-BAND เราปรับลด PE Multiple สำหรับ HANA จากเดิมที่ให้ไว้ระดับ +0.5SD ลงเป็น +0.25SD เพื่อสะท้อนความเสี่ยงของการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เพิ่มขึ้น แต่ที่เรายังให้ส่วนเพิ่มอยู่ เนื่องจากมุมมองในระยะยาวการเข้าทำธุรกิจ SiC ทำให้สามารถผลิตสินค้าพรีเมียมที่ให้ GPM สูง และมูลค่าตลาดจะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต ดังนั้นหุ้นสมควรถูกซื้อขายมากกว่าค่าเฉลี่ยในระยะยาว

คงคำแนะนำ “ซื้อ” อิงราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2565 ที่ 53.00 บาท

ผลการปรับลดประมาณการและ PE Multiple ทำให้ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2565 ลดลงเป็น 53.00 บาทต่อหุ้น อิง PER 22x (เทียบเท่า +0.25SD ของค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี และเพิ่ม Premium ของ PER อีก 4% จากผลประเมินด้าน ESG) เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาหุ้นปรับตัวลงสะท้อนปัจจัยลบไปมากแล้ว ราคาปัจจุบันซื้อ ขาย บน PER65 ที่ 17.3x และP/BV ที่ 1.4x ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในระยะยาวแล้ว หุ้นสมควรยืนได้ที่ระดับ +/- 40.00 บาท แต่ในระยะสั้น HANA ขาดปัจจัยหนุน หุ้นอาจจะกลับมาน่าสนใจอีกครั้งใน 4Q65 หากสถานการณ์เงินเฟ้อดีขึ้นหลังการขึ้นดอกเบี้ย หรือธุรกิจ SiC ซึ่งจะเริ่มรับรู้รายได้ใน 4Q65 ทำได้ดีกว่าคาด หุ้นมีโอกาสฟื้นตัวแรง

ความเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ 1) ค่าเงินบาท/USD 2) ผลขาดทุนของธุรกิจ SiC สูงกว่าหรือยาวนานกว่าคาด 3) เกิดการระบาดรุนแรงของ COVID-19 จนกระทบสายการผลิต และ 4) การเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย

- Advertisement -