บล.พาย:

KBANK บมจ. ธนาคารกสิกรไทย ยังให้ความสำคัญกับคุณภาพสินเช่ือเป็นหลัก

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 174.00 บาท กำไรสุทธิ 2Q22 ออกมาที่ 1.08 หมื่นล้านบาท (+21% YoY, -4% QoQ) คาดธนาคารจะมุ่งเน้นการเสริมประสิทธิภาพให้กับงบดุลที่คาดว่าจะช่วยให้ธนาคารเติบโตเป็นอย่างดีในอนาคต ทั้งนี้ยังคงประมาณการกำไรสุทธิที่ 14% สำหรับปี 2022 และ 11% ในปี 2023

การประชุมนักวิเคราะห์

ให้น้ำหนักเป็นกลางต่อการประชุมนักวิเคราะห์วันที่ 21 ก.ค.

  • ธนาคารยืนยันว่าตนมีเงินสำรองพอต่อการสนับสนุนการเติบโตในอนาคต และรับมือกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยให้แนวทางค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญที่ 160bp ตามเดิม ธนาคารจะยังเน้นการเสริมประสิทธิภาพด้านงบดุล เพื่อเตรียมพร้อมกับการเติบโตในอนาคต ขณะที่ให้แนวทางอัตราส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม (NPL ratio) ที่ 3.7% 4.0% ตามเดิม
  • มีโอกาสที่ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญจะลดลงในปี 2023 หากเศรษฐกิจไทยโตดีขึ้นต่อเนื่อง
  • แม้ไม่มีข้อมูลชัดเจนเกี่ยวกับการลงทุนครั้งใหม่ของธนาคารราว 1.0 แสนล้านบาท แต่ผู้บริหารให้ความเห็นว่าอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จะยังอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้
  • คาดว่าธนาคารจะกลับมาจ่ายเงินปันผลตามนโยบายของตัวเองหลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผ่อนปรนมาตรการในด้านนี้

ผลประกอบการ 2Q22

  • กำไรสุทธิ 2Q22 ออกมาอยู่ที่ 1.08 หมื่นล้านบาท (+21% YoY, -4% QoQ) ต่ำกว่าคาด 8% การเติบโตที่แข็งแกร่ง YoY เป็นผลจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่สูงขึ้น และการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง ส่วนกำไรที่ลดลง QoQ ถูกฉุดลงจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่ลดลง ขาดทุนสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่บันทึกบนงบกำไรขาดทุนตามมูลค่ายุติธรรม และการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่สูงขึ้น

ทิศทางการเติบโต

  • คงประมาณการอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิที่ 14% YoY สำหรับปี 2Q22 และ 10% YoY ในปี 2023 หนุนจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่สูงขึ้น และการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง คาดค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญที่ลดลงเป็น 150bp ในปี 2022 และ 130bp ในปี 2023 เทียบกับ 173bp ในปี 2021

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 174.00 บาท

  • คงคำแนะนำ “ซื้อ” เพราะ 1) มีแนวโน้มการเติบโตที่มั่นคงจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีขึ้น 2) มีสำรองหนี้ฯ เพียงพอต่อ NPLs ใหม่ 3) มี upside จากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย และ 4) มูลค่าหุ้นน่าดึงดูด
  • มูลค่าพื้นฐานคำนวณด้วยวิธี Gordon Growth Model (ROE 9%, อัตราการเติบโตที่ 2%) อิง 0.8x PBV22E หรือ -0.75SD ต่อค่าเฉลี่ย 5 ปี

สรุปผลประกอบการ 2Q22

  • กำไรสุทธิ 2Q22 ออกมาอยู่ที่ 1.08 หมื่นล้านบาท (+21% YoY, -4% QoQ) ต่ำกว่าคาด 8% จากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่ลดลง แม้ขาดทุนสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่บันทึกบนงบกำไรขาดทุนตามมูลค่ายุติธรรมอันเป็นผลมาจากความผันผวนของตลาดทุน แต่กำไรสุทธิสามารถโตขึ้น 21% YoY จากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่สูงขึ้นและการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง ส่วนกำไรที่ลดลง 4% QoQ ถูกฉุดลงจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่ลดลง ขาดทุนสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่บันทึกบนงบกำไรขาดทุนตามมูลค่ายุติธรรม และการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่สูงขึ้น
  • อัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) ค่อนข้างทรงตัว QoQ ที่ 3.3% อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้สูงขึ้นเป็น 43.5% จากค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่สูงขึ้น
  • สินเชื่อโต 1.3% QoQ จากอุปสงค์สำหรับเงินทุนหมุนเวียนและธุรกรรมระหว่างประเทศที่สูงขึ้น
  • คุณภาพสินเชื่อยังยืดหยุ่นดี NPL ratio ค่อนข้างทรงตัว QoQ ที่ 3.8% สืบเนื่องจากการขายและตัดบัญชี NPL ขณะที่อัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ ลดลงเป็น 144.6% แต่ยังถือเป็นระดับที่สูงพอรับมือกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น

Revenue breakdown

รายได้ธนาคารมาจาก 3 แหล่งดังนี้

  • รายได้ดอกเบี้ยสุทธิคิดเป็น 73% ของรายได้รวมในปี 2021 และนับเป็นรายได้ก้อนใหญ่ที่สุดของธนาคาร ปัจจัยสนับสนุนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ คือ การเติบโตของสินเชื่อและอัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM)
  • รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการคิดเป็น 22% ของรายได้รวมในปี 2021 ประกอบด้วยรายได้จากค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม ค่าธรรมเนียมการขายประกันผ่านธนาคาร และค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการสินทรัพย์
  • รายได้อื่นๆ คิดเป็น 6% ของรายได้รวมในปี 2021 ประกอบด้วยกำไรการลงทุน กำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินตามมูลค่ายุติธรรมที่บันทึกผ่านงบกำไรขาดทุน ค่าเบี้ยประกัน รายได้เงินปันผล และรายได้อื่นๆ
- Advertisement -