บล.พาย:  

MINT: บมจ. ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนลคาดกำไรคร้ังแรกต้ังแต่โควิด-19 ระบาด

คงคำแนะนำ “ซื้อ” ขณะที่ปรับมูลค่าพื้นฐานขึ้นจาก 38.0 บาท เป็น 41.0 บาท คาดบริษัทรายงานกำไรปกติได้ครั้งแรกที่ 1.0 พันล้านบาทใน 2Q22 นับตั้งแต่โควิด-19 เริ่มระบาด เทียบกับขาดทุน 3.8 พันล้านบาทใน 1Q22 ทั้งนี้ได้แรงหนุนมาจากช่วง high season ของธุรกิจโรงแรมในยุโรป นำโดยพอร์ต NH Hotel ที่คาดว่าอัตรารายได้เฉลี่ยต่อห้องพักต่อคืน (RevPar) จะฟื้นตัวสู่ระดับที่สูงกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ขณะที่คาดว่าธุรกิจอาหารจะมีอัตราการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ที่แข็งแกร่งต่อเนื่องระดับ 7.3% จาก 4.2% ใน 1Q22 ท่ามกลางช่วงที่มีการ ผ่อนปรนมาตรการโควิด-19 (ยกเว้นจีน) และการทานอาหารภายในอาคารมากขึ้น แต่คาดว่า EBITDA margin ของธุรกิจอาหารจะยังซบเซา สืบเนื่องจากแรงกดดันด้านต้นทุนที่สูงขึ้น

ธุรกิจโรงแรมฟื้นตัวดีเยี่ยม

• คาดรายได้ธุรกิจโรงแรมแตะจุดสูงรอบ 12 ไตรมาสที่ 2.3 หมื่นล้านบาท หนุนจาก NH Hotel Group (NHH) ที่คาดว่ามีอัตราการเข้าพักพุ่งสูงแตะ 70% พร้อมกับอัตราราคาห้องพักเฉลี่ย (ARR) ที่คาดว่าจะโตสู่ระดับที่สูงกว่าช่วงก่อนโควิด-19 ราว 10% หรือที่ EUR115 (+40% YoY) ขณะที่คาดว่า RevPar ของธุรกิจโรงแรมในไทยจะเพิ่มขึ้น 3 เท่าจาก 2Q21 หรือคิดเป็น 55% ของช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ด้วยแรงหนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งจากกลุ่มนักท่องเที่ยวในประเทศ และกิจกรรมประเภท MICE ที่เพิ่มมากขึ้น โดย 2 แรงขับเคลื่อนนี้ช่วยเป็นกันชนต่อช่วง low season จากพอร์ตกิจการในมัลดีฟส์ได้ทังหมด

• คาดรายได้ธุรกิจอาหารจะอยู่ที่ 5.7 พันล้านบาท (+16%YoY -6%QoQ) เพราะประเมินว่า SSSG จะแข็งแกร่งต่อเนื่องที่ 7.3% เทียบกับ 4.2% และ 6.1% ใน 2Q21 และ 1Q22 ตามลำดับ โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนมาจากการทานอาหารภายในอาคารที่สูงขึ้นหลังจากที่แต่ละร้านผ่อนปรนมาตรการด้านโควิด-19 ลง ส่วนรายได้ที่ลดลง QoQ คาดเป็นผลมาจากปัจจัยตามฤดูกาล ขณะที่คาดว่า EBITDA margin ของธุรกิจอาหารจะลดลง QoQ มาอยู่ที่ 17.0% จาก 18.2% ใน 1Q22 เพราะแรงกดดันของต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น

คาดธุรกิจโรงแรมใน 2H22 จะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น 

• ธุรกิจโรงแรมของบริษัทจะได้ประโยชน์ต่อเนื่องจากอุปสงค์สะสมในยุโรป ส่วนการยกเลิกมาตรการ Thailand Pass (ที่เริ่มในวันที่ 1 ก.ค.) น่าจะช่วยให้ธุรกิจโรงแรมในไทยมีอัตราการเข้าพักที่เพิ่มขึ้นมาเหนือเหนือ 50% ได้ภายในสิ้นปี 2022 เพราะคาดว่าการผ่อนปรนมาตรการต่างๆ จะช่วยกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวต่างชาติไหลเข้ามาเฉลี่ย 1 ล้านคน เดือนตั้งแต่ 3Q22 เป็นต้นไป ในด้านต้นทุนนั้นเชื่อว่าบริษัทบริการจัดการผลกระทบจากเงินเฟ้อที่สูงขึ้นได้เป็นอย่างดี เห็นได้จาก ARR ของพอร์ตธุรกิจโรงแรมเกือบทั้งหมดที่ปรับเพิ่มสู่ระดับที่สูงกว่าช่วงก่อนโควิด-19 โดยเฉพาะกิจการในยุโรป ทั้งนี้คาดว่า ARR ของธุรกิจโรงแรมไทยใน 2Q22  จะยังต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19 อยู่ 5% แต่คาดว่าจะแตะระดับค่าเฉลี่ยในอดีตได้ภายใน 2H22

ซื้อมูลค่าพื้นฐาน 41.0 บาท

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐานที่ 41.0 บาท คำนวณด้วยวิธีคิดลดเงินสด (DCF) (WACC,8.0%) อิง 37.6x PE’23E หรือคิดลด 10% ต่อค่าเฉลี่ยหุ้นกลุ่มโรงแรมในไทยที่วิเคราะห์อยู่ คำแนะนำซื้อ สะท้อนธุรกิจโรงแรมในยุโรปที่ฟื้นตัวเป็นอย่างดี ส่วนที่อื่นคาดว่าจะค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้น ขณะที่ยังมี downside risk มาจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ และคาดการณ์ถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก แต่ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อประมาณการกำไรปี 2022-23 ในวงจํากัด

พรีวิวผลประกอบการ

• คาดกำไรสุทธิ 2Q22 ที่ 1.0 พันล้านบาท เทียบกับขาดทุน 3.9 พันล้านบาท และ 3.8 พันล้านบาทใน 2Q21 และ 1Q22 ตามลำดับ การฟื้นตัวขึ้นทั้ง ในเชิง YoY และ QoQ ได้แรงหนุนมาจากรายได้ที่คาดว่าจะออกมาอยู่ที่ 2.9 หมื่นล้านบาท (+113%YoY +48%QoQ)

• คาดอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) จะเพิ่มเป็น QoQ เป็น 45.3% จากรายได้ธุรกิจโรงแรมที่โตขึ้น

• ปรับลดประมาณการเป็นขาดทุนสุทธิที่ 708 ล้านบาทในปี 2022 จากเดิมที่คาดถึงกำไรสุทธิ เนื่องจากอัตราการเข้าพักของธุรกิจโรงแรมที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาด ทั้งยังปรับลด GPM ลงเป็น 42.7% เพราะรายได้ธุรกิจโรงแรมที่ลดลง ขณะที่ปรับประมาณการลงประมาณการกำไรสุทธิสำหรับปี 2023 ลง 15% เพราะคาดว่าผลกระทบจากกำลังซื้อของคนไทยที่ฟื้นตัวช้าจะไปกดดันธุรกิจอาหารของบริษัท

Revenue breakdown

รายได้ของบริษัทมาจาก 3 ธุรกิจหลัก ดังนี้

(1) ธุรกิจโรงแรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโรงแรม คิดเป็นสัดส่วน 66% ของรายได้ทั้งหมด ปัจจุบันธุรกิจนี้ประกอบด้วยโรงแรม 535 แห่ง จำนวนห้องทั้งหมด 75,621 ห้อง ภายใต้แบรนด์ Anantara, AVANI, TIVOLI, NH Hotel, NH Collection, nhow และ OAKS

(2) ธุรกิจอาหาร คิดเป็นสัดส่วน 30% ของรายได้ทั้งหมด ปัจจุบันธุรกิจนี้ประกอบด้วยร้านอาหารจำนวน 2,389 สาขา ใน 26 ประเทศทั่วโลก ภายใต้ 10 แบรนด์หลัก ดังนี้ The Pizza Company, Swensens, Sizzler, Dairy Queen, Burger King, The Coffee Club, Thai Express, Jiang Bian Cheng Wai, Benihana a Bon Chon

(3) ธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้า คิดเป็นสัดส่วน 4% ของรายได้ทั้งหมด ปัจจุบันธุรกิจนี้ประกอบด้วยร้านจัดจำหน่ายสินค้า 386 ร้านในไทย ภายใต้ แบรนด์ Anello, Esprit, Bossini, Charles & Keith, Etam, OVS และ Redley

- Advertisement -