บล.พาย:

DELTA: บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย)

กําไรที่ดีใน 2Q22 นําไปสู่ฐานปี 2022 ที่สูง และอาจไปจํากัดการเติบโตในปี 2023

คงคำแนะนำ “ซื้อ” แต่ปรับมูลค่าพื้นฐาน 1% เป็น 423 บาท 38.6xPE’23E (ค่าเฉลี่ย 5 ปี) คำแนะนำนี้สะท้อนภาพรวมการเติบโตที่ทรงตัวของกำไรปี 2023 สืบเนื่องจากฐานที่สูงในปี 2022 ปัจจัยบวกปัจจุบันที่ช่วยหนุนให้กำไรโตดีใน 2Q22 ทั้งในเชิง QoQ และ YoY เช่น ต้นทุนวัตถุดิบระดับต่ำและการอ่อนค่าของเงินบาทจะไม่ต่อเนื่องไปถึงปี 2023 แต่ราคาหุ้นที่ลดลง 8% YTD และกำไรที่โตแข็งแกร่งในปี 2022 ยังถือเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าสะสมหุ้น ทั้งนี้ บริษัทจะจัดการประชุมนักวิเคราะห์ช่วงเย็นวันนี้ คาดว่าจะไม่มีประเด็นอะไรให้เราต้องปรับมูลค่าพื้นฐานและประมาณการชุดปัจจุบัน

คาดกำไรที่ดีใน 2Q22 จะไม่ยั่งยืน

• กำไรสุทธิ 2Q22 อยู่ที่ 4.3 พันล้านบาท (+53% YoY, +158% QoQ) สูงกว่าที่เราและตลาดคาด 60% ปัจจัยหนุนกำไรทั้ง YoY และ QoQ มา จากราคาทองแดงที่ลดลงแตะจุดต่ำรอบ 2 ปี กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 346 ล้านบาท และยอดขายที่โตแข็งแกร่ง

• ยอดขาย 2Q22 อยู่ที่ 2.8 หมื่นล้านบาท (+36% YoY, +14% QoQ) หนุนจากกลุ่มพาวเวอร์ซัพพลายในรถยนต์ไฟฟ้า (EV) พัดลมระบายความร้อน และดาต้าเซ็นเตอร์ที่โตขึ้นเรื่อยๆ และคาดว่าจะโตต่อเนื่อง ในอนาคต

• อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ใน 2Q22 อยู่ที่ 25.1% (+3.5ppts YoY, +4.2ppts QoQ) โต QoQ และ YoY เป็นผลจากต้นทุนวัตถุดิบที่ต่ำ รวมถึงส่วนผสมผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้นจากกลุ่มผลิตภัณฑ์อัตรากำไรสูง จําพวกดาต้าเซ็นเตอร์และพาวเวอร์ซัพพลายใน EV

ปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2022-23

ปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2022-23 ขึ้น 40% และ 30% ตามลำดับ เพื่อสะท้อนถึงผลการดำเนินงานใน 1H22 ที่แข็งแกร่ง และยอดขายกลุ่ม EV พัดลมระบายความร้อน และดาต้าเซ็นเตอร์ที่โตอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่อง ปัจจุบันกำไร 1H22 คิดเป็น 51% ของประมาณการกำไรทั้งปี 2022 (ก่อนปรับตัวเลขกำไร 1H22 คิดเป็น 75% ของประมาณการกำไรชุดเดิม)

คงคำแนะนำซื้อมูลค่าพื้นฐาน 423 บาท

คงคำแนะนำ “ซื้อ” แต่ปรับมูลค่าพื้นฐาน 1% เป็น 423 บาท 38.6×PE’23E (ค่าเฉลี่ย 5 ปี) เชื่อว่าอุปสงค์ต่อบริษัทจะไม่ถูกกดดันจากอัตราเงินเฟ้อ แต่ด้วยภาพรวมการเติบโตที่ทรงตัวในปี 2023 จึงปรับฐานและลดเป้าหมาย PE เป็น 38.6×PE’23E จาก 51.7xPE’22E

สรุปผลประกอบการ 2Q22

• กำไรสุทธิ 2Q22 อยู่ที่ 4.3 พันล้านบาท (+53% YoY, +158% QoQ) การเติบโตทั้ง YoY และ QoQ ได้แรงหนุนจากยอดขายและ GPM ที่สูงขึ้น  บริษัทรับรู้กำไรอัตราแลกเปลี่ยนที่ 346 ล้านบาทนับว่าสูงเป็นอันดับ 2 ในประวัติของบริษัท สืบเนื่องจากเงินบาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลง ทั้งนี้ แม้กำไรออกมาดีแต่ทิศทางการเติบโตที่เกิดขึ้นใน 2Q22 จะไม่ยั่งยืน เพราะเล็งเห็นว่า GPM ที่โตขึ้นสูงเป็นผลจากราคาวัตถุดิบที่ต่ำ (เช่น ราคาทองแดงที่เกือบแตะจุดต่ำรอบ 2 ปี) และเงินบาทที่อ่อนค่าลง ซึ่งมองว่าทั้ง 2 ปัจจัยนี้จะกลับสู่สภาวะปกติใน 2H22 หรือ 1H23

• ยอดขาย 2Q22 อยู่ที่ 2.8 หมื่นล้านบาท (+36% YoY, +14% QoQ) หนุนจากกลุ่มพาวเวอร์ซัพพลายใน EV พัดลมระบายความร้อน และดาต้าเซ็นเตอร์ที่โตต่อเนื่อง โดยคาดว่าทิศทางการเติบโตของกลุ่มเหล่านี้จะดำเนินต่อไปในอนาคต เพราะไม่ได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น ยอดขายกลุ่มพาวเวอร์ (พาวเวอร์ซัพพลายสำหรับ EV และพัดลม) ที่โตขึ้น 39% YoY เทียบกับ 36% YoY ใน 1Q22 ขณะที่ยอดขาย จากกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน (ดาต้าเซ็นเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม) โต 26% YoY เทียบกับ 10% YoY ใน 1Q22

• GPM ใน 2Q22 อยู่ที่ 25.1% (+3.5ppts YoY, +4.2ppts QoQ) ขณะที่ส่วนผสมผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้นช่วยหนุนให้ GPM โตทั้ง QoQ และ YoY แต่ เล็งเห็นว่าปัจจัยขับเคลื่อนหลักมาจากราคาวัตถุดิบที่ต่ำ โดยเฉพาะทองแดงและอลูมิเนียมมากกว่า ทั้งนี้ด้วยสภาวะขาดแคลนอุปทานที่บริษัทและ ผู้ผลิตอื่นจะยังเผชิญต่อเนื่อง จึงคาดว่าราคาวัตถุดิบจะปรับสูงขึ้นสู่ระดับใน 1Q22 ภายใน 2H22 หรือ 1H23

กลุ่ม EV ที่โตแข็งแกร่งต่อเนื่อง ราคาวัตถุดิบระดับต่ำ และเงินบาทที่อ่อนค่าลงคือปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตของกำไรปี 2022-23

• ปรับประมาณการกำไรปี 2022 ขึ้น 46% หลังจากมีผลงานที่ดีใน 2Q22 ก่อนการปรับตัวเลขเดิมที่กำไรใน 1H22 คิดเป็น 75% ของประมาณ การกำไรชุดเดิม แต่หลังจากการปรับประมาณการกำไรสุทธิ 1H22 คิดเป็น 51% ของประมาณการกำไรทั้งปี 2022 ชุดใหม่

• ปัจจัยสนับสนุนต่อการปรับประมาณการกำไรปี 2022 คือการเติบโตของ GPM และกำไรอัตราแลกเปลี่ยน ปัจจุบันคาด GPM ที่ 23% เพิ่มขึ้น 1.3ppts สืบเนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบระดับต่ำที่อาจค่อยๆ ปรับสูงขึ้นตลอดช่วง 2H22 ขณะที่ปรับสมมติฐานกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเป็น 916 ล้านบาทจาก 112 ล้านบาท สืบเนื่องจากเงินบาทอ่อนค่าลงและอาจมีทิศทางเช่นนี้ต่อไปจนถึงสิ้นปี 2022

• ปรับเพิ่มรายได้ปี 2022 ขึ้น 10% โดยผู้บริหารกล่าวเป็นนัยว่าผลงานใน 1H22 คิดเป็นสัดส่วนราว 45% ของประมาณการรายได้ทั้งปีของ บริษัท ด้วนส่วนแบ่งใน 2H22 ที่ 55% จากคำสั่งซื้อขนาดใหญ่ขึ้น และปัญหาการขาดแคลนอุปทานที่บรรเทาลง โดยก่อนการปรับประมาณการรายได้ใน 1H22 คิดเป็นราว 52% ของประมาณการรายได้ทั้งปี หลังปรับประมาณการพบว่ารายได้ 1H22 คิดเป็นกับตัวเลขของผู้บริหารที่ราว 47%

• นอกจากนี้ยังปรับกำไรปี 2023 ขึ้น 30% จากยอดขายใน 1H22 ที่ดีกว่าคาด โดยคาดว่าอุปสงค์กลุ่มพาวเวอร์ใน EV และพัดลมระบายความ ร้อนจะสูงขึ้น เพราะมีผู้คนหันมาใช้รถ EV มากขึ้น ทั้งยังคาดว่ากลุ่มดาต้าเซ็นเตอร์จะโตอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน เพราะกลุ่มโทรคมนาคมต่างหันมาใช้ระบบ 5G ส่วนธุรกิจหลายภาคส่วนก็เล็งเห็นการสร้างมูลค่าจากแพลตฟอร์บริการคลาวด์อย่างต่อเนื่อง (หนุนกลุ่มดาต้าเซ็นเตอร์) แต่การเปลี่ยนแปลงของตัวเลขอัตราการเติบโตของกำไรการดำเนินงาน และกำไรสุทธิที่ติดลบนั้นเป็นผลจากฐานที่สูงในปี 2022 ดังนั้นจาก มุมมองในปัจจุบันจึงคาดว่าการเติบโตจะชะลอตัวลงในปี 2023 และหลังจากนั้น

Rerate downwards to reflect slowing growth in 23E

ปรับตัวคูณมุลค่าพื้นฐานเป็น 38.6xPE’22E (ค่าเฉลี่ย 5 ปี) จาก 56.1xPE’22E (+0.5SD ต่อค่าเฉลี่ย 5 ปี) แม้กลุ่มพาวเวอร์ซัพพลายใน EV พัดลมระบายความร้อนและดาต้าเซ็นเตอร์เติบโตแข็งแกร่งต่อเนื่อง แต่เชื่อว่าต้นทุนวัตถุดิบที่ต่ำและเงินบาทที่อ่อนค่าในขณะนี้ไม่ใช่ปัจจัยที่ยั่งยืน  ขณะที่ทั้ง 2 ปัจจัยนี้มีส่วนสำคัญต่อกำไรใน 2Q22 และมีผลต่อการปรับประมาณการกำไรปี 2022 ทั้งนี้ ด้วยฐานที่สูงในปี 2022 จึงคาดว่าการเติบโตของกำไรใน ปี 2023 จะมีอย่างจำกัด YoY ด้วยเหตุนี้มูลค่าพื้นฐานจึงสะท้อนภาพรวมที่ทรงตัวด้วยมูลค่าตัวคูณตามค่าเฉลี่ย

DELTA GPM vs. London Metal Exchange Copper Price (10-Year)

ผลการวิเคราะห์สะท้อนให้เห็นว่าราคาทองแดงที่เปลี่ยนแปลงทุก 10% จะทําให้GPM เปลี่ยนไป 2.29ppts ดังนั้นถ้าราคาทองแดงเพิ่มขึ้น 10% เป็น US$9,070 ต่อตันจากค่าเฉลี่ยใน 2Q22 ที่ US$8,245 ต่อตัน GPM จะลดลงเหลือ 22.8% จาก 25.1% ใน 2Q22

DELTA GPM vs. London Metal Exchange Aluminum Price (10-Year)

ผลการวิเคราะห์สะท้อนให้เห็นว่าราคาอะลูมิเนียมที่เปลี่ยนแปลงทุก 10% จะทําให้ GPM เปลี่ยนไป 2.86ppts ดังนั้นถ้าราคาอะลูมิเนียมเพิ่มขึ้น 10% เป็น US$2,676 ต่อตัน จากค่าเฉลี่ยใน 2Q22 ที่ US$2,433 ต่อตัน GPM จะลดลงเหลือ 22.2% จาก 25.1% ใน 2Q22

Revenue breakdown

ธุรกิจกลุ่มพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์คิดเป็นสัดส่วน 73% ของรายได้รวมของบริษัท ซึ่งเกี่ยวข้องกับออกแบบ ผลิต และจำหน่ายพาวเวอร์ซัพพลายที่ ใช้ในคอมพิวเตอร์, เซิร์ฟเวอร์, อุปกรณ์ระบบอัตโนมัติในสำนักงาน, เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน, และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับรถยนต์ โดยมี ผลิตภัณฑ์หลักคือตัวแปลงไฟฟ้า DC/DC เพาเวอร์ซัพพลายสำหรับคอมพิวเตอร์ พัดลม และเซิร์ฟเวอร์ผลิตภัณฑ์ระบบความร้อน โซลีนอยด์และอีเอ็ม ไอฟิลเตอร์

ธุรกิจระบบโครงสร้างพื้นฐานคิดสัดส่วน 25% ของรายได้รวม โดยธุรกิจนี้เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และระบบของโรงไฟฟ้าประเภทต่างๆ ซึ่งผลิตภัณฑ์หลักนั้นใช้ในระบบโทรคมนาคม พลังงานทดแทน การจัดเก็บพลังงาน และระบบไฟฟ้าแรงสูง ธุรกิจระบบอัตโนมัติคิดเป็นสัดส่วน 2% ของรายได้รวม โดยบริษัทได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ระบบอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพสูงและเชื่อถือได้ประกอบด้วย รวมถึงไดรฟ์ระบบควบคุมการเคลื่อนไหว ระบบควบคุมทางอุตสาหกรรมและการสื่อสาร การปรับปรุงคุณภาพพลังงาน การเชื่อมต่อเครื่องจักรต่อเครื่องจักรและมนุษย์ ระบบเซ็นเซอร์ มิเตอร์และโซลูชั่นหุ่นยนต์

- Advertisement -