KS Daily View 02.08.2022 > ติดตามประเด็น ไต้หวัน– จีน-สหรัฐ ราคาน้ำมันดิบโลกปรับฐาน บวกต่อหุ้น Anti Commodity SET Index วันนีคาดแกว่งตัว 1585-1595 จุด หุ้นแนะนำ AMATA, PT
ต่างประเทศ : KS ยังคงมุมมองในเดือน ส.ค.22 ตามเดิมคือ มีมุมมองเชิงบวกกับสินทรัพย์เสี่ยง โดยปัจจัยสนับสนุนความเชื่อคือ
1.) US Real Yields หรือ Yield adjusted inflation ล่าสุดอยู่ที่ 0.091% ใกล้พลิกกลับมาติดลบครั้งแรกในรอบ 4 เดือน และแนวโน้มลดลงต่อเนื่องเมื่อเทียบกับ กลางเดือน มิ.ย.22 ที่ขึ้นไปอยู่ที่ 0.63% ซึ่งทำจุดสูงสุดในรอบราว 2 ปี KS ประเมินเป็นบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยง จากสถิติในอดีตหาก Real yields ใกล้ 0 หรือติดลบพบว่าตลาดหุ้นโลกจะปรับขึ้น
2.) สินทรัพย์เสี่ยง (Riskky Asset) อาทิ ตลาดหุ้น, Bitcoin ไม่ได้ปรับฐานแรงหรือไม่ทำ New Low แม้ในช่วงสัปดาห์ที่แล้วจะมีการประกาศทั้ง GDP สหรัฐติดลบ 2 ไตรมาสเกิด Technical Recession, Fed ขึ้นดอกเบี้ย 75 bpsในการประชุมรอบ ก.ค. ฯลฯ
3.) แรงกดดันเงินเฟ้อคาดลดลงและน่าจะผ่านจุด Peak ไปแล้วเห็นได้จาก Bond yields สหรัฐ อายุ 2 ปี และ 10 ปีปรับลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ 2.83%, 2.53% ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามความเสี่ยงที่อาจจะกดดันตลาดหุ้นโลก คือ ความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างไต้หวัน-จีน-สหรัฐ ล่าสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ Nancy Peloci ประกาศยืนยันว่าจะไปเยือนไต้หวันในวันนี้ ซึ่งรัฐบาลจีนแสดงความไม่พอใจเป็นประเด็นที่ต้องติดตามคาดเป็น Sentiment ลบต่อตลาดหุ้นระยะสั้น
ส่วนราคาพลังงานคาดจะยังผันผวนต่อในเดือนนี้ โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบโลก ติดตามการประชุม OPEC+ ในที่ 3 ส.ค. จะมีการพิจารณานโยบายการผลิตสำหรับเดือน ก.ย. คาดจะมีผลต่อทิศทางราคาน่ำมัน โดยล่าสุด ราคาน้ำมัน Brent ปิดที่ 100.03 $/บาร์เรล (-3.8%DoD) แรงกดดันจาก
1.) รายงานดัชนี PMI ภาคผลิต เดือน ก.ค. ในหลายประเทศปรับลงและต่ำกว่า 50 จุด(บ่งชี้ว่าภาคการผลิตอยู่ในภาวะหดตัว) อาทิ จีน PMI ภาคผลิตลงมาอยู่ที่ 49 จุด (-2.4%MoM), ยุโรป PMI ลงมาอยู่ที่ 49.8 จุด (-4.4%MoM)
2.) รายงานลิเบียเพิ่มกำลังการผลิตสู่ระดับ 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน จากเดิม 8 แสนบาร์เรล/วัน น้ำมันที่ปรับลงแรงเป็น Sentiment บวกต่อหุ้น Anti Commodity อาทิ PTG, OR ฯลฯ แต่จะลบต่อหุ้นน้ำมันอาทิ PTT, PTTEP
ในประเทศ : SET Index ปรับขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค. ขึ้นมารวม 55 จุด หรือ 3.8% ขึ้นมายืนที่ 1593 จุด ระยะสั้นถือว่ามีโมเมนตัมเชิงบวก แต่ในวันนี้คาดจะชะลอการขึ้นเนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับลง โดยยังคงประเมินแนวต้านถัดไปอยู่ที่ 1616 จุด
ส่วนประเด็นการลงทุนในสัปดาห์นี้
1. ) เหตุการณ์ที่ท่อก๊าซ ซอติก้า ในพม่ารั่วเมื่อวาน ทำให้ PTTEP มีปิดวาล์วชั่วคราว และหยุดส่งมาไทย คาดใช้เวลาซ่อม 2 สัปดาห์ ประเมินกระทบยอดขายของ PTTEP เพียง 0.3% ทั้งนี้ประเมินผลกระทบต่อ gas pool price และต้นทุนก๊าซในการผลิตไฟฟ้าจำกัด ทำให้คาดว่าจะมีแรงซื้อคืนหุ้นโรงไฟฟ้ากลุ่ม SPP ที่มีแรงขายทำกำไรวานนี้
2.) กลุ่มค้าปลีก มีกระแสเชิงบวก คือ รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก เดือน ก.ค. ของ ธปท. ทั้งปัจจุบันและในระยะ 3 เดือนข้างหน้า เร่งตัวขึ้นเหนือ 50 จุด และวันพฤหัสบดีนี้ จะมีการรายงานตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของไทยเดือน ก.ค. ตลาดคาด 41.8 จุด (+0.5% MoM) KS ประเมินเป็น Sentiment บวกกับหุ้นกลุ่ม Commerce โดยหุ้นเด่น คือ CPALL
3.) การประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเตรียมสรุปรายงานความคืบหน้าต่อคณะรัฐมนตรีภายในเดือน ต.ค. ว่าไทยจะเข้าร่วม CPTPP หรือไม่ ซึ่งหากเข้าร่วมคาดจะเป็น sentiment เชิงบวกต่อการค้าและการลงทุน โดยเฉพาะกลุ่มนิคมฯ อาทิ AMATA เพราะปัจจุบันไทยมีสัดส่วนตลาดที่ทำFTA เพียง 62.8% ของการค้าโลกเทียบประเทศ ASEAN เฉลี่ย 77.5%
มุมมองตลาดหุ้น SET วันนี้คาด 1585-1595 จุด หุ้นแนะนำ AMATA, PTG
Top pick :
AMATA (ราคาเป้าหมายพื้นฐาน 24.0 บาท) 1.) เป็นหนึ่งในผู้ได้รับประโยชน์จากการลงทุน การโยกย้ายฐานการลงทุน จากสงครามการค้าและทางทหารที่ยังเป็นกระแส 2.) เราพรีวิวคาด AMATA จะรายงานกำไร 2Q22 ที่ 452 ลบ. เพิ่มขึ้น 82.9% YoY แต่ลดลง 18.3% QoQ กำไรครึ่งปีแรกคาดจะเติบโต 132.3% เป็น 1.0 พันลบ.
PTG (ราคาเป้าหมายพื้นฐาน 17.0 บาท) 1.) เราคาดกำไรงวด 2Q22 อยู่ที่ 400 ล้านบาท จะเติบโตสูง 150%QoQ แรงหนุนจาก GPM/ลิตร ทีสูง 2.) ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลงแรงเมื่อคืน ประเมินจะบวกต่อ PTG เราเชื่อว่าราคาน้ำมันที่ลดลงน่าจะช่วยลดแรงกดดันต่อค่าการตลาดขายปลีกน้ำมันหรือมี Upside 3.) ราคาหุ้น PTG ปัจจุบัน Valuation ค่อนข้างถูกสะท้อนจากPBV ปี 2566 ที่2.3x ต่ำกว่า -1SD
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ
- วันอังคาร ติดตามการประชุมธนาคารกลางออสเตรเลียคาดขึ้นดอกเบี้ย 50bps. เป็น 1.85% ตัวเลข JOLTs Job Opening เดือนมิ.ย. คาด 11 ล้านตำแหน่ง (-2.2% MoM) และถ้อยแถลงของ Fed Evans
- วันพุธ ติดตามตัวเลข Caixin Service PMI ของจีน เดือน ก.ค. คาด 55.2 จุด (+1.3% MoM) ตัวเลขดุลการค้าของเยอรมันเดือน มิ.ย. คาด -1.36 หมื่นล้านยูโร (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ +0.5 พันล้านยูโร ตัวเลข S&P Global Services PMI ของยูโรโซน เดือน ก.ค. คาด 50.6 จุด (-4.5% MoM) ตัวเลข PPI ของยูโรโซนเดือน มิ.ย. คาด +1% MoM และ +35.7% YoY ตัวเลข ISM Non-manufacturing PMI ของสหรัฐฯ เดือน ก.ค. คาด 53.5 จุด (-3.3% MoM) ตัวเลข Factory order ของสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. คาด +1.2% MoM ปริมาณสต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ และการประชุม OPEC+
- วันพฤหัสฯ ติดตามตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของไทยเดือน ก.ค. คาด 41.8 จุด (+0.5% MoM) ตัวเลข Factory order ของเยอรมันเดือน มิ.ย. คาด -0.7% MoM การประชุมธนาคารอังกฤษ คาดปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 25bps. เป็น 1.50% ตัวเลขดุลการค้าของสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. คาด -US$80bn (ลดลงจากเดือนก่อนที่ -U$85.5) ตัวเลข Initial Jobless Claim ของสหรัฐฯ คาด +265K (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนที่ +256K) และถ้อยแถลงของ Fed Mester
- วันศุกร์ ติดตามตัวเลขอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ก.ค. คาด +8.3% YoY (จากเดือนก่อนหน้าที่ +7.66% YoY) ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของไทยเดือน ก.ค. คาด +2.7% YoY (จากเดือนก่อนหน้าที่ +2.51% YoY) การประชุมธนาคารกลางอินเดียคาดปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 50bps. เป็น 5.4% ตัวเลข Non-farm payroll ของสหรัฐฯ เดือน ก.ค. คาด +250K (จากเดือนก่อนหน้าที่ +372K) ตัวเลขอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ เดือน ก.ค. คาด 3.6% (ทรงตัว MoM) ตัวเลข Average Hourly Earnings เดือน ก.ค. คาด +4.9% YoY (จากเดือนก่อนหน้าที่ +5.1% YoY)