สรุปภาวะตลาด

วันพุธที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหวในช่วงแคบ มีแรงซื้อในหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และกลุ่มการแพทย์ เช่น DELTA BDMS และมีแรงเก็งกำไรในหุ้นขนาดกลาง-เล็ก ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,594.73 จุด +5.57 จุด +0.35% มูลค่าการซื้อขาย 50,898 ลบ. ต่างชาติ -108.08 ลบ. TFEX +2,371 สัญญา ตราสารหนี้ +1,020.15 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ ดัชนีดาวโจนส์ปิดพุ่งขึ้น 416.33 จุด +1.29% ขานรับผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน และข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐ ซึ่งรวมถึงดัชนีภาคบริการที่ดีดตัวขึ้นในเดือนก.ค. ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนก.ค. ของสหรัฐในวันพรุ่งนี้

+ ดัชนีภาคบริการของสหรัฐดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 56.7 ในเดือน ก.ค. สวนทางกับนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 53.5 หลังจากร่วงลงติดต่อกัน 3 เดือน

+ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนก.ค.ของ จีนขยายตัวรวดเร็วที่สุดในรอบ 15 เดือน หลังจากรัฐบาลจีนผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด- 19 ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นมากขึ้น

+ กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นอนุมัติการใช้งานวัคซีนโรคฝีดาษที่เชื่อว่ามีประสิทธิภาพป้องกันโรคฝีดาษลิง โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขประเมินว่า วัคซีนฝีดาษที่ได้รับการอนุมัติครั้งนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคฝีดาษลิงถึง 85%

+ กกร. คงกรอบการเติบโตของ GDP ที่ 2.75-3.5% แม้ว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มถดถอยชัดเจนก็ตาม สาเหตุส่งออกยังเติบโต โดยปรับเพิ่มกรอบมูลค่าส่งออกโตเป็น 6-8% จากเดิม 5%

+/- ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 2,166 ราย มีผู้เสียชีวิต 29 ราย รักษาหาย 2,700 ราย

ปัจจัยลบ –

– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลง 3.76 ดอลลาร์ -4% ปิดที่ 90.66 ดอลลาร์/บาร์เรล ต่ำสุดนับตั้งแต่ 10 ก.พ. หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบและน้ำมันเบนซินพุ่งขึ้น บดบังปัจจัยบวกที่กลุ่มประเทศ โอเปกพลัสมีมติเพิ่มกำลังการผลิตเพียง 100,000 บาร์เรล/วันในก.ย. เทียบกับ 648,000 บาร์เรล/วันใน เดือนก.ค.และส.ค. และ 432,000 บาร์เรล/วันในเดือน มิ.ย.

– จีนประกาศเตือนให้สายการบินต่างๆ ที่ให้บริการในเอเชียหลีกเลี่ยงการใช้เส้นทางบินรอบเกาะไต้หวัน ซึ่งเป็นจุดที่จีนจะใช้เป็นสถานที่ซ้อมรบ เพื่อแสดงแสนยานุภาพตอบโต้การเดินทางเยือนไต้หวันของนาง แนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ

– ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายของยูโรโซน ลดลงแตะ 51.2 ในเดือนก.ค. จากระดับ 53.0 ในเดือนมิ.ย. แต่ยังสูงกว่าตัวเลขประมาณการขั้นต้นที่ระดับ 50.6

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีในวันนี้มีโอกาสปรับตัวในลักษณะ Sideway ออกข้าง โดยนักลงทุนยังคงจับตาสถานการณ์ตึงเครียดด้าน การเมืองระหว่างสหรัฐและจีน ซึ่งกองทัพจีนประกาศเปิดปฏิบัติการซ้อมรบขนาดใหญ่เพื่อตอบโต้การเดินทางเยือน ไต้หวันครั้งประวัติศาสตร์ของสหรัฐ ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ปรับตัวลงแรงกดดันหุ้นกลุ่มพลังงานมองกรอบ ดัชนีในวันนี้ที่ 1,585-1,600 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • กนง.มีโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ยช่วงครึ่งปีหลัง 1 + หุ้นแบงก์ได้ประโยชน์จากธปท. เลิกเพดานจ่ายปันผลและทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น เราชอบแบงก์ใหญ่ KBANK BBL KTB TISCO
  • ค่า Ft ขึ้นขณะที่ต้นทุนพลังงานปรับตัวลง : GPSC BGRIM GULF
  • กังวลโควิด-19 ระลอกใหม่ + สธ. เตรียมยกระดับฝีดาษลิง โรคติดต่อร้ายแรง : BH BDMS CHG BCH PRINC WPH PR9
  • ลดภาษีประจำปีรถ EV ระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียน : EA GPSC FORTH DELTA PIMO .
  • โครงการคนละครึ่งเฟส 5 : TNP KK BJC MAKRO CBG OSP TKN ICHI SAPPE

หุ้นรายงานพิเศษ

BAY (Bloomberg Consensus 38.75 บาท)

สถานการณ์ Zipmex ไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ

  • 2Q65 มีกำไรสุทธิ 7,834 ล้านบาท -46%YoY +6%QoQ 1H65 มีกำไร 15,252 ล้านบาท +19%YoY จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยและการลดลงจากคชจ.สำรอง ซึ่งสอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของคุณภาพ สินเชื่อ
  • ผู้บริหารคงเป้าหมายทางการเงินปี 65 ที่ระดับการเติบโตสินเชื่อ 3-5% (1H65 +3.1%YTD) รายได้ดอกเบี้ย 165 +4.8%YoY NIM 3.1 – 3.3% (1H65 3.36%) รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย (1H65 -3.6%) %NPL 2.6% (1H65 2.11%) Credit cost 150-160 bps (1H65 136 bps) Coverage Ratio มากกว่า 150% (1H65 189.2%)
  • ธนาคารไม่มีแผนร่วมจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ เนื่องจาก NPL มีจำนวนน้อย และผู้บริหารประเมินแนวโน้มว่าคงไม่เพิ่มขึ้นมาก
  • สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับ Zipmex ไม่มีผลกระทบต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของธนาคาร ทั้งนี้บริษัทย่อย “กรุงศรีฟินโนเวต” ถือหุ้น Zipmex สัดส่วน 1% คิดเป็นเงิน 66 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3% ของสัดส่วนการลงทุนทั้งหมดของกรุงศรีฟินโนเวต มูลค่าการลงทุนเมื่อเทียบกับมูลค่าสินทรัพย์รวม ณ 30 มิ.ย. 65 คิดเป็น 0.0028% (ที่มา SET NEWS)
  • ความเห็น เรามีมุมมองบวกต่อแนวโน้มผลประกอบการปี 65 ต่อเนื่องในปี 66 ที่มีโอกาสเติบโต Bloomberg Consensus คาดกำไรปี 65-65 เฉลี่ย 29,048 ลบ. -14%YoY (ปี 64 ฐานสูงเพราะมีกําไรจากการขาย TIDLOR) และ 31,112 ลบ. +7% ตามลำดับ

หุ้นมีข่าว

(+) ORI (Bloomberg consensus 14.00 บาท) โชว์ยอดขาย 7 เดือน กว่า 2.1-2.2 หมื่นล้านบาท มองครึ่งปีหลังยอดขายฟื้นตัวแกร่ง ซูบ้านเกิน 10 ล้านบาท ขายดี มั่นใจทั้งปียอดขายทะลุ 3.5 หมื่นล้านบาท ลุยเปิดโครงการใหม่ 23 โครงการ คงเป้ารายได้ 1.75 หมื่นล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

(+) SELIC (Bloomberg consensus – บาท) เร่งเครื่องโอนสินทรัพย์ผลิตภัณฑ์เฮลธ์แคร่ไตรมาส 4/2565 นี้ เชื่อหนุนผลงานปี 2566 โตแกร่ง พบดีมานด์แผ่นพลาสเตอร์ปิดแผลแผ่นปิดบรรเทาปวดมีสูง โดยเฉพาะกลุ่มต่างชาติ คาดสัดส่วนขาย-ผลิต 60-70% ปักหมุดยอดขายปีนี้โต 10-15% กางกลยุทธ์ช่วงที่เหลือคุมต้นทุน รักษามาร์จิ้น (ที่มา ทันหุ้น)

(+) ASIAN (Bloomberg consensus 20.15 บาท) ชูอาหารสัตว์เลี้ยงครึ่งปีหลังโตแรง ลุยเพิ่มกำลังการผลิตใหม่ 6,000 ตันต่อปี ดันยอดขาย มั่นใจบริหารจัดการต้นทุนได้ ด้านค่าเงินบาทอ่อน หนุนผลงานปีนี้ ด้านอาหารแช่แข็งฟื้นตัวดี แย้มครึ่งปีหลังเติบโตใกล้เคียงครึ่งปีแรก พร้อมย้ำเป้ายอดขายปีนี้ตามเป้า 1.12 หมื่นล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

(+) WFX (Bloomberg consensus บาท) พร้อมลุยตลาดเชิงรุก ขยายฐานไปยังยุโรป บังกลาเทศ อินโดนีเซีย เวียดนาม ที่มีการเติบโตสูงสร้างโอกาสเพิ่มออเดอร์ มองไตรมาส 3/2565 อุตสาหกรรมสิ่งทอกลับมาช่วงไฮซีซัน พร้อมการท่องเที่ยวกระตุ้น เดินหน้าบริหารจัดการต้นทุน เดินหน้าขยายกำาลังการผลิตตามแผน เผยเฟส 2 คาดแล้วเสร็จปลายปี 2565 ยังคงเป้ารายได้ปีนี้โต 10-15% (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • 5 ส.ค. กระทรวงพาณิชย์แถลงสถานการณ์ด้านราคาสินค้าและบริการ
  • สัปดาห์ที่ 2 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แถลงข้อมูลสรุปภาวการณ์ซื้อขายหลักทรัพย์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
  • 10 ส.ค. ประชุมกนง. ครั้งที่ 4/2565
  • สัปดาห์ที่ 3 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
  • 15 ส.ค. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) แถลงตัวเลข GDP 2Q65
  • สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้า

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 4 ส.ค. ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ประชุมนโยบายการเงินและแถลงมติอัตราดอกเบี้ย

สหรัฐ รายงานจํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ยอดน่าเข้า ยอดส่งออก และดุลการค้าเดือนมิ.ย.

  • 5 ส.ค. ธนาคารกลางอินเดียประชุมนโยบายการเงินและแถลงมติอัตราดอกเบี้ย

สหรัฐ รายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ก.ค.

  • 7 ส.ค. จีน รายงานยอดนําเข้า ส่งออก และดุลการค้าเดือนก.ค. ทุนสํารองเงินตราต่างประเทศ เดือนก.ค.
  • 9 ส.ค. สหรัฐ รายงานดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อมเดือนก.ค.จากสหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐ
- Advertisement -