บล.พาย:

GUNKUL “JV กับ GULF เพื่อสร้างประโยชน์ร่วม”

คงคำแนะนำ “ถือ” มูลค่าพื้นฐาน 4.45 บาท คาดว่าการร่วมทุนระหว่าง GUNKUL-GULF และการลดสัดส่วนการถือครองของบริษัทในโรงไฟฟ้าพลังลม 3 แห่งเหลือ 50% จากเดิม 100% จะส่งผลกระทบเชิงลบต่อ GUNKUL ในระยะสั้น ด้วยการลดลงของกำไรปกติรายไตรมาส 23% ตั้งแต่ 3Q22 เป็นต้นไป แต่คาดว่าการร่วมทุนในระยะยาวจะสร้างประโยชน์ได้จาก 1) สภาพคล่องที่สูงขึ้นจากการอัดฉีดเงินทุนโดย GULF 5 พันล้านบาท และ 2) คาดว่าประโยชน์ร่วมกับ GULF (ผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่สุดในประเทศ) จะช่วยให้บริษัทบรรลุเป้าหมายกำลังการผลิตที่ 1.0GW ได้โดยง่าย (เพิ่ม 2 เท่าจากปัจจุบัน)

GUNKUL-GULF ตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อขยายพอร์ตพลังงานทดแทน

  • เมื่อวันที่ 24 ก.ค. บริษัทชี้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) เรื่องการขายหุ้นในบริษัท กัลฟ์ กันกุล คอร์เปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกันระหว่าง GUNKUL และบริษัท กัลฟ์ รีนิวเอเบิล เอ็นเนอร์จี จำกัด (บริษัทลูก 100% ของ GULF) ด้วยมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 5 พันล้านบาท อิงวิธีคำนวณแบบคิดลดเงินสด (DCF)
  • สินทรัพย์ของ GUNKUL ในบริษัทร่วมทุนคือโรงไฟฟ้าพลังลม 3 แห่ง ที่มีกำลังการผลิตติดตั้งแล้ว 170MW (กลุ่มวินเอ็นเนอร์ยี) คิดเป็นมูลค่าสินทรัพย์รวมที่ 1.34 หมื่นล้านบาท และมีกำไรสุทธิรวม 229 ล้านบาท ณ 1Q22

คาดบริษัทร่วมทุนสร้างประโยชน์ร่วมได้ในระยะยาว

  • การลดสัดส่วนการถือครองในกลุ่มวินด์เอ็นเนอร์ยีจาก 100% เป็น 50% จะฉุดกําไรรายไตรมาสลง 23% (อิงฐานใน 1Q22) แต่มูลค่าการลงทุน 5 พันล้านบาท และประโยชน์ร่วมกับ GULF จะเพิ่มศักยภาพของธุรกิจ พลังงานทางเลือกของ GUNKUL ในระยะยาวขึ้น
  • ราคาขายหุ้นของบริษัทร่วมทุนถือว่าถูกมาก แต่เมื่อดูจากมูลค่าการลงทุนที่ 5 พันล้านบาท และคาดการณ์กำไรรายปีจากกลุ่มวินด์เอ็นเนอร์ยีที่ 460 ล้านบาท (อิงสัดส่วนการถือครอง 50%) ถือว่า GULF เข้าซื้อกิจการที่ 11xPE ถือกว่าของ GUNKUL ที่ 22xTrailing PE หรือ 17.5xPE’22E อยู่ค่อนข้างมาก ดังนั้นกรณีของ GUNKUL อาจยังไม่เห็นการเร่งตัวขึ้นของมูลค่า และคาดว่าตลาดในระยะสั้นจะมีปฏิกิริยาต่อราคาหุ้นจนกว่าจะมีความชัดเจนเรื่องโครงการใหม่และแผนธุรกิจจากบริษัทร่วมทุน

คงคำแนะนำ “ถือ” มูลค่าพื้นฐาน 4.45 บาท

มูลค่าพื้นฐานที่ 4.45 บาท คำนวณด้วยวิธีรวมส่วนธุรกิจ (SOTP) อิง 15x PE’22E โดยจะทบทวนประมาณการกำไร มูลค่าพื้นฐาน (อิงวิธี SOTP) และคําแนะนําอีกครั้งหลังจากได้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการในอนาคต ของบริษัทร่วมทุน ปัจจุบันแนะนําเลี่ยงการเทรดไปก่อน

Revenue breakdown

GUNKUL มีสัดส่วนรายได้ก้อนใหญ่มาจากการจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งคิดเป็น 57% ของยอดขายทั้งหมด บริษัทมีกำลังการผลิตโดยรวม 554MWe ในรูปแบบโรงไฟฟ้าพลังลม พลังงานแสงอาทิตย์ และก๊าซธรรมชาติที่กระจายอยู่ในไทย ญี่ปุ่น เวียดนาม มาเลเซีย และเมียนมา

นอกจากนี้ บริษัทได้ให้บริการรับเหมาก่อสร้างแบบครบวงจร (EPC) รวมถึงการก่อสร้างโรงงาน ท่อส่งและจำหน่าย และโรงไฟฟ้าให้กับรัฐบาลและภาคเอกชน โดยธุรกิจ EPC และธุรกิจรับปฏิบัติงานและซ่อมบำรุง (O&M) รวมกันจะคิดเป็นสัดส่วน 25% ของรายได้ทั้งปี 2021 ของ GUNKUL

รายได้ที่เหลือ (18%) จะมาจากงานผลิต การจัดหาและจำหน่ายอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า ซึ่งจะครอบคลุมงานท่อส่งและจำหน่ายอย่างครบวงจรด้วย รายการสินค้ามากกว่า 5,000 รายการ

- Advertisement -