บล.เอเซีย พลัส:
เรียบง่าย
ภาพรวมการประชุมนักวิเคราะห์โทนเป็นกลาง เนื่องจากเป้าหมายทางการเงินคงเดิม และสอดคล้องกับสมมติฐานฝ่ายวิจัย โดยทิศทาง NIM เร่งตัวขึ้นในช่วง 2H65 ตามสภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น และแนวโน้ม ECL จากการตั้งล่วงหน้าเพื่อรองรับความเสี่ยงแล้วในช่วงที่ผ่านมา จึงยังคง ECL ทั้งปีที่ 2.6 หมื่นล้านบาท (สมมติฐานฝ่ายวิจัยที่ 2.7 หมื่นล้านบาท) เทียบกับ 1H65 ที่ 1.48 หมื่นล้านบาท บ่งชี้ว่า ECL งวด 2H65 จะอยู่ที่ 1.1 – 1.2 หมื่นล้านบาท หรือเฉลี่ย 5.5 – 6 พันล้านบาทต่อไตรมาส
คงแนะนำ ซื้อ เพราะอยู่ในฐานะได้เปรียบยามดอกเบี้ยขาขึ้น จากโครงสร้างสินเชื่อที่สามารถปรับดอกเบี้ยภายใน 1 ปี (อิงข้อมูล ณ สิ้นปี 2564) ที่ 88% ของพอร์ตสินเชื่อ (VS ค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ ที่ 77%) ด้านสินเชื่อต่างประเทศรับประโยชน์จากทิศทางอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงขึ้นเร็วกว่าไทย ในด้าน Valuation ราคาหุ้นซื้อขายที่ PBV 0.49 เท่า มองว่าถูกมากเกินไป พร้อมคาดหมาย Div yield ราว 3% ต่อปี
ทิศทาง NIM ดีต่อ 2H65 และ ECL น่าจะลดลง
จากการประชุมนักวิเคราะห์ เริ่มด้วยมุมมองต่อเศรษฐกิจไทย โดย ดร. กอบศักดิ์ ภูตระกูล ซึ่งภาพรวมเป็นไปในเชิงบวกจากสถานการณ์ COVID-19 ดีขึ้น และการ Recovery ของภาคท่องเที่ยว ทางธนาคารฯ จึงคงเป้าหมาย GDP ไทยปี 2565 ที่ 3% – 4% YoY ส่วนปี 2566 แม้มีหลายปัจจัยไม่แน่นอน แต่เศรษฐกิจไทยมีข้อได้เปรียบจากการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวที่คิดเป็นสัดส่วน 15% ของ GDP ไทย ในขณะที่มุมมองอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ของไทยมองว่าขั้นแรกน่าจะกลับไปอยู่ที่ 1.25% ส่วนระยะยาวระดับที่เหมาะสมของอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยอยู่ที่ 2.5% โดยเป้าหมายทางการเงินปี 2565 ทางธนาคารฯ ยังคงเป้าหมายเดิมหลักๆ เช่น สินเชื่อปี 2565 ขยายตัว 4% – 6% YoY (1H65 + 2.5% YTD และสมมติฐานฝ่ายวิจัย+4% YoY) ขับเคลื่อนด้วยลูกค้ารายใหญ่และสินเชื่อต่างประเทศ ด้าน NIM คงเป้าอย่างอนุรักษ์นิยมใกล้เคียงปี 2564 ที่ 2.1% (1H64 ที่ 2.1%) ซึ่งน่าจะมี โมเมนตัมที่ดีต่อในช่วง 2H65 ทั้งจากสินเชื่อต่างประเทศ ตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอย่าง LIBOR และสินเชื่อในประเทศปล่อยใหม่ สามารถเรียกอัตราดอกเบี้ยจากลูกค้าสูงขึ้น
ส่วน ECL ทั้งปีคงไว้ที่ประมาณ 2.6 หมื่นล้านบาท เทียบกับ 1H65 ที่ 1.48 หมื่นล้านบาท และสมมติฐานฝ่ายวิจัยที่ 2.7 หมื่นล้านบาท บ่งชี้ว่า ECL งวด 2H65 จะอยู่ที่ 1.1 – 1.2 หมื่นล้านบาท หรือเฉลี่ย 5.5 6 พันล้านบาทต่อไตรมาส ภายใต้การบริหารจัดการ NPL Ratio ณ สิ้นปี 2565 ไม่เกิน 4.0% (สิ้นงวด 4Q64 ที่ 3.2%) ในมุมมองฝ่ายวิจัยมองว่ามีความเป็นไปได้ จากการตั้งสำรองล่วงหน้าเพื่อรองรับความเสี่ยง สะท้อนผ่าน LLR / Loan ณ สิ้นงวด 2Q65 ที่ 9.2% เทียบกับ Pre-COVID ที่ราว 8.5% และค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ ที่ 6.3% ทั้งนี้ BBL มีมูลหนี้ที่ได้รับการปรับโครงสร้างหนี้ราว 10% – 12% ของพอร์ตสินเชื่อกว่า 90% ของลูกหนี้ที่รับการปรับโครงสร้างหนี้ยังชำระหนี้ตามปกติ
สำหรับสินเชื่อในต่างประเทศ เห็นการเติบโตของ Permata ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอินโดฯ ส่วนสินเชื่อในจีน ไม่มีการเปิดเผยสัดส่วนที่ชัดเจน ถือเป็น Top 5 ของลูกค้าต่างประเทศ ซึ่งหากพิจารณาสินเชื่อต่างประเทศที่คิดเป็น 25% ของพอร์ตฯ เป็น Permata ราว 10% ของพอร์ตฯ ทำให้ฝ่ายวิจัยเชื่อว่าสัดส่วนสินเชื่อจากจีนไม่น่าเกิน 10% ของพอร์ตฯ โดย BBL กล่าวว่าส่วนใหญ่ลูกหนี้ที่อยู่ในจีนจะอยู่ในกลุ่มธุรกิจผลิตและ พาณิชย์ มีสัดส่วนลูกหนี้ที่เกี่ยวกับภาคอสังหาริมทรัพย์ต่ำมาก
ภาพรวมเป้าหมายทางการเงินยังสอดคล้องกับสมมติฐานฝ่ายวิจัย ประกอบกับกำไรสุทธิ 1H65 คิดเป็นสัดส่วน 49% ของประมาณการทั้งปี จึงคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2565 ที่ 2.9 หมื่นล้านบาท เติบโต 9% YoY
ชื้อ รับอานิสงค์ดอกเบี้ยขาขึ้นและ VALUATION น่าสนใจ
อิง GGM กำหนด ROE ระยะยาว 7% และ COE ที่ 10.8% ให้ PBV ที่ 0.56 เท่า ได้ FV ปี 2565 ที่ 152 บาท คงแนะนำ ซื้อ เพราะได้เปรียบยามดอกเบี้ยขาขึ้น จากโครงสร้างสินเชื่อที่สามารถปรับดอกเบี้ยภายใน 1 ปี (อิงข้อมูล ณ สิ้นปี 2564) ที่ 88% ของพอร์ตสินเชื่อ (VS ค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ ที่ 77%) ขณะที่โครงสร้างสินเชื่อต่างประเทศ รับประโยชน์จากทิศทางอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงขึ้นเร็วกว่าไทย ในด้าน Valuation ราคาหุ้นซื้อขายที่ PBV 0.49 เท่า มองว่าถูกมากเกินไป พร้อมคาดหมาย Div yield ราว 3% ต่อปี
ประเด็นความเสี่ยงที่มีน้ำหนักต่อประมาณปี 2565 ของ BBL
กรณีที่ NIM ลดลงต่ำกว่าคาด โดยทุก 10 bps ของ NIM ที่ปรับตัวลดลงจากคาดการณ์ปี 2565 ที่ 2.0% จะทำให้รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิลดลง 5% จากปัจจุบันที่ 76,788 ล้านบาท และกำไรสุทธิปี 2565 ลดลง 12.7% จากปัจจุบันที่ 25,533 ล้านบาท และ ROE ระยะยาว เฉลี่ยลดลงราว 0.2% ส่งผลให้ FV ปี 2565 ลดลงประมาณ 7 บาท
กรณีที่สินเชื่อโตต่ำกว่าเป้าหมาย โดยทุก 1% ของคาดการณ์สินเชื่อสุทธิปี 2565 ที่ลดลง จากปัจจุบันที่ประเมินขยายตัว 4% yoy จะทำให้รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิลดลง 0.7% จากสมมติฐานที่ 76,788 ล้านบาท และกำไรสุทธิปี 2565 ลดลง 1.7% จากประมาณการที่ 25,533 ล้านบาท ส่วน FV ไม่เปลี่ยนแปลง
กรณีที่คุณภาพสินทรัพย์มีแนวโน้มแย่กว่าคาด โดยทุก 10 bps ของคาดการณ์ Credit Cost ปี 2565 ที่เพิ่มขึ้นจากสมมติฐานที่ 100 bps จะทำให้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) เพิ่มราว 10% จากปัจจุบันที่ 25,000 ล้านบาท และทำให้กำไรสุทธิปี 2565 ลดลงราว 8% จาก 25,533 ล้านบาท และ ROE ระยะยาวเฉลี่ยลดลงราว 0.1% ส่งผลให้ FV ปี 2565 ลดลงประมาณ 4 บาท
BBL แนะนํา ซื้อ
ราคาปัจจุบัน (บาท) 132.50
ราคาเป้าหมาย (บาท) 152.00
Upside (%) 14.7
Dividend yield (%) 3.2