บล.พาย:

ADVANC: บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส “รายได้ 2Q22 ตามคาด แม้มีสงครามราคา”

คงคำแนะนำ “ซื้อ” แต่ลดมูลค่าพื้นฐานลง -5% เป็น 246 บาท คำนวณด้วยวิธีคิดลดเงินสด (DCF) อิง 21.8xPE’22E เพื่อสะท้อนการกำไรปกติ 2Q22 ออกมาสอดคล้องคาดการณ์ที่ 6.6 พันล้านบาท (-8%YoY, +5QoQ) ที่ลดลง YoY เพราะอัตราส่วนค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร (SG&A) ต่อยอดขายที่สูงขึ้น แต่เชื่อว่าทิศทางกำไรปกติจะปรับดีขึ้นใน 2H22 จากรายได้ที่โตต่อเนื่องในธุรกิจบรอดแบนด์ และธุรกิจองค์กรและดิจิทัล (คลาวด์และ Disney Plus) SG&A ที่ลดลง และการแข่งขันด้านราคาที่เบาลงเล็กน้อย

กำไรปกติ 2Q22 สอดคล้องกับคาดการณ์

  • กำไรปกติ 2Q22 อยู่ที่ 6.6 พันล้านบาท (-8% YoY, +5% QoQ) ลดลง YoY จาก SG&A ที่สูงขึ้น แต่โตขึ้น QoQ จากอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ที่สูงขึ้น กำไรปกติ 1H22 คิดเป็น 47% ของประมาณการกำไรชุดใหม่สำหรับปี 2022
  • รายได้ 2Q22 อยู่ที่ 4.5 หมื่นล้านบาท (+6% YoY, ทรงตัว QoQ) การเติบโต YoY เป็นผลจากธุรกิจบรอดแบนด์ธุรกิจองค์กระแสดิจิทัลที่โตต่อเนื่อง ส่วนที่ทรงตัว QoQ เป็นเพราะขาดการเติบโตด้านรายได้บริการเครือข่ายมือถือ เชื่อว่ายอดขายจะโตดีขึ้นใน 2H22 เพราะ 1) การขยายธุรกิจบริการบรอดแบนด์ไปยังพื้นที่ชนบทใหม่ๆ ที่มีการแข่งขันต่ำ 2) บริการคลาวด์และ Disney Plus ที่ได้รับอุปสงค์แข็งแกร่งต่อเนื่อง และ 3) สงครามราคาที่อาจแย่ลงจากสถานการณ์ปัจจุบัน
  • GPM อยู่ที่ 32.9% (-1.8ppts YoY, +0.6ppts QoQ) ลดลง YoY จากยอดขายมือถือที่สูงขึ้น (ส่วนที่มีอัตรากำไรต่ำ) และขยายตัวขึ้น QoQ จากยอดขายมือถือที่ลดลง
  • บริษัทประกาศจ่ายเงินปันผลต่อหุ้น (DPS) ระหว่างกาลที่ 3.45 บาท ขึ้น XD วันที่ 19 ส.ค.

คาดกำไรฟื้นตัว 2H22

  • การประชุมนักวิเคราะห์ให้น้ำหนักเป็นกลาง คาดรายได้เฉลี่ยต่อเลขหมาย (ARPU) ยังเผชิญแรงกดดันจากดีลควบบริษัท แต่สงครามราคาในกลุ่มเติมเงินเริ่มลดความร้อนแรงลงแล้ว
  • คาดอัตราส่วน SG&A ต่อยอดขายจะลดลงใน 2H22 จากค่าใช้จ่ายการตลาดสำหรับการส่งเสริมบริการ 5G ที่ลดลง
  • เชื่อว่ายอดขายจะโตดีขึ้นใน 2H22 เพราะ 1) การขยายกิจการบรอดแบนด์ไปยังพื้นที่ชนบทใหม่ที่มีการแข่งขันต่ำ 2) การที่บริการคลาวด์ และ Disney Plus ยังมีอุปสงค์แข็งแกร่งต่อเนื่อง และ 3) คาดสงครามราคาจะไม่แย่ไปกว่าสถานการณ์ปัจจุบัน

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 246 บาท

คงคำแนะนำ “ซื้อ” คำนวณด้วยวิธีคิดลดเงินสด (DCF) (WACC: 8.7%, TG: 2%) เลือก ADVANC เป็นหุ้นเด่นในกลุ่มโทรคมนาคม คำแนะนำซื้อสะท้อนศักยภาพในการทำกำไรที่แข็งแกร่ง ภาพรวมการเติบโตที่มั่นคง และความสามารถในการลงทุนเพื่อรักษาทิศทางการเติบโตในอนาคตที่แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับคู่แข่ง

สรุปผลประกอบการ 2Q22

  • กำไรสุทธิ 2Q22 อยู่ที่ 6.3 พันล้านบาท (-11% YoY, ทรงตัว QoQ) ลดลง YoY จาก SG&A ที่สูงขึ้น (4.1% ของยอดขาย 2Q22 เทียบ, 2.9% ใน 2Q21 แม้ลดลง QoQ จากรายการขาดทุนสุทธิอัตราแลกเปลี่ยน 335 ล้านบาท ส่วน SG&A ที่สูงขึ้นใน 2Q22 เป็นผลจากกิจกรรมการตลาดเพื่อส่งเสริมบริการ 5G หลังกลับมาเปิดเศรษฐกิจ ทั้งนี้ อัตราส่วน SG&A ต่อยอดขายอยู่ที่ 4.1% ของยอดขายรวม นับว่าสูงสุดในรอบ 2 ปี ชี้เป็นนัยว่า ต้นทุนเหล่านี้จะกลับสู่ระดับปกติใน 2H22
  • กำไรปกติ 2Q22 อยู่ที่ 6.6 พันล้านบาท (-8% YoY, +5% QoQ) ลดลง YoY จาก SG&A ที่สูงขึ้น แต่โตขึ้น QoQ จาก GPM ที่สูงขึ้น เชื่อว่าเมื่อ SG&A กลับสู่ระดับปกติในปี 2023 บริษัทจะสามารถรักษาฐานลูกค้าและกลายเป็นผลดีกับกำไรของบริษัทได้
  • รายได้ 2Q22 อยู่ที่ 4.5 หมื่นล้านบาท (+6% YoY, ทรงตัว QoQ) การเติบโต YoY เป็นผลจากธุรกิจบรอดแบนด์ ธุรกิจองค์กระแสดิจิทัล และยอดขายมือถือที่โตขึ้น ส่วนที่ทรงตัว QoQ เป็นผลจากรายได้ระดับสูงในธุรกิจองค์กรและดิจิทัลนั้นถูกหักลบจากยอดขายมือถือที่ลดลง
  • GPM อยู่ที่ 32.9% (-1.8ppts YoY, +0.6ppts QoQ) ลดลง YoY จากยอดขายมือถือที่สูงขึ้นซึ่งเป็นส่วนที่มีอัตรากำไรต่ำ และขยายตัวขึ้น QoQ จากยอดขายมือถือที่ลดลง
  • ARPU 2Q22 ลดลงเหลือ 215 บาท (-4.3% YoY, ทรงตัว QoQ) สืบเนื่องจากการลดลงในกลุ่มเติมเงิน จำนวนลูกค้าทั้งหมดอยู่ที่ 45.5 ล้านราย (+ 2.271 ล้านราย YoY, +8.81 แสนราย QoQ) นับเป็นการเติบโตในเชิง QoQ ที่สูงเป็นอันดับ 2 ในรอบ 2 ปี หนุนจากกิจกรรมการตลาด เชื่อว่าเป็นกลยุทธ์ที่ให้ผลดีในระยะยาว เพราะคาดว่าเมื่อ SG&A ปรับลดลงจำนวนลูกค้าเหล่านี้จะยังคงอยู่ใช้บริการของบริษัท (บริษัทไม่ได้สูญเสียจำนวนลูกค้าเติมเงินและรายเดือนสุทธิมาตั้งแต่ 4Q20)

การแข่งขันที่สูงกว่าคาดนำไปสู่การปรับลดสมมติฐานรายได้บริการเครือข่ายมือถือ

  • ประมาณการปี 2022 ของเราสอดคล้องกับตัวเลขใหม่ของผู้บริหาร คาดรายได้บริการหลัก (เครือข่ายมือถือ บรอดแบนด์ และบริการองค์กร) จะโต 4% YoY มีความเห็นที่สอดคล้องกับผู้บริหารที่ว่า ARPU จะยังเผชิญกับแรงกดดันจนกว่าดีล TRUE-DTAC จะได้ข้อสรุป
  • เชื่อว่าธุรกิจบรอดแบนด์และธุรกิจคลาวด์ ความปลอดภัยด้านไซเบอร์ อินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง บริการไอซีที และดาต้าเซ็นเตอร์ (CCIID) จะโต 14% YoY ในปี 2022 โดย 2 ธุรกิจนี้จะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักต่อการเติบโตรายได้ตั้งแต่ 2H22 แทนที่บริการเครือข่ายมือถือ

ปรับลดประมาณการกำไรปี 2022-23 ลงปีละ 5% เพื่อสะท้อน ARPU ที่ลดลง

ปรับลดประมาณการกำไรปี 2022 ลง 5% เพื่อสะท้อน ARPU ที่ลดลง -4% YTD ขณะที่ปรับดอกเบี้ยจ่ายเล็กน้อยเพราะมีแนวโน้มลดลงมาตลอด ปรับลดประมาณการกำไรปี 2023 ที่ 5% ด้วยเหตุผลเหมือนกัน โดยเชื่อว่า ARPU จะเป็นบวกมากขึ้น แต่ผลกระทบจากปี 2022 อาจส่งทอดมาถึงปี 2023 (บริษัทไม่สามารถปรับเพิ่มราคาจากฐานต่ำได้โดยง่าย มิเช่นนั้นอาจเสียลูกค้าได้)

Revenue breakdown

รายได้ของบริษัท มาจาก 3 ธุรกิจหลัก:

(1) บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือคิดเป็น 65% ของรายได้ปี 2021 บริษัทมีผู้ใช้บริการทั้งหมด 44.1 ล้านรายทั่วประเทศ โดยมีผู้ใช้บริการที่ชำระล่วงหน้า (ระบบเติมเงิน) คิดเป็นสัดส่วน 74% ของผู้ใช้บริการทั้งหมด และส่วนที่เหลือเป็นผู้ใช้บริการแบบชำระภายหลัง (แบบระบบรายเดือน) นอกจากนี้ยังยอดขายของ SIM และอุปกรณ์มือถือ ซึ่งโดยปกติจะรวมอยู่กับบริการหรือเสนอให้กับลูกค้าแยกต่างหากมีสัดส่วน 20% ของรายได้ทั้งหมด

(2) บริการอินเตอร์เน็ตความเร็ว (FBB) สูงคิดเป็น 5% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งบริษัทให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและบริการส่งสัญญาณอื่นๆ บนเครือข่ายใยแก้วนำแสงของบริษัท ในปัจจุบันบริษัทมีผู้ใช้บริการ 1.8 ล้านราย

(3) ธุรกิจดิจิตอลเซอร์วิสเป็นส่วนที่เหลืออีกราว 11% ซึ่งแบ่งเป็นธุรกิจแพลตฟอร์มวิดีโอ บริการคลาวด์สำหรับธุรกิจ บริการอินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (IoT) ดาต้าเซ็นเตอร์ และบริการเช่าอุปกรณ์อื่นๆ

- Advertisement -