บล.เอเซีย พลัส:
ธุรกิจหลักยังดี…เพิ่มคำาแนะนำเป็นซื้อ
กำไรสุทธิงวด 2Q65 เท่ากับ 1.6 พันล้านบาท (สูงกว่าที่ฝ่ายวิจัยและตลาดคาดราว 20%) ลดลง 7% qoq และ 31% yoy จากการบันทึกค่าใช้จ่ายพิเศษสุทธิเข้ามา 98 ล้านบาท ในงวด 2Q65 ขณะที่กำไรปกติงวด 2Q65 เท่ากับ 1.7 พันล้านบาท ตามคาด เพิ่มขึ้น 5% qoq (แต่ลดลง 22% yoy) จากธุรกิจหลักยังดีต่อเนื่อง ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าธุรกิจ Red Lobster ที่อ่อนตัวลงไปได้ทั้งหมด
คาดกำไรสุทธิปี 2565 จะลดลง 26% yoy จากแนวโน้มประสิทธิภาพการทำกำไรลดลง จากต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งสูงขึ้น และคาดธุรกิจ Red Lobster จะอ่อนตัวลง ทั้งนี้ คาดกำไรสุทธิงวด 3Q65 จะปรับเพิ่มขึ้นจากงวด 2Q65 จากการเข้าช่วง High season ของธุรกิจ โดย TU ประกาศจ่ายปันผลระหว่างกาลเท่ากับ 0.40 บาท/ หุ้น คิดเป็น Div yield สำหรับงวด 1H65 เท่ากับ 2.4% ราคาหุ้นปรับฐานไป 15% YTD จนปัจจุบันมี Upside รวม Div Yield ราว 12% จึงเพิ่มคำแนะนำเป็น ซื้อ
กำไรสุทธิ 2Q65 ปรับลดลง…แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี
กำไรสุทธิงวด 2Q65 เท่ากับ 1.6 พันล้านบาท (สูงกว่าที่ฝ่ายวิจัยและตลาดคาดราว 20%) ลดลง 7.0% qoq และ 30.7% yoy มีปัจจัยกดดันจากการบันทึกค่าใช้จ่ายพิเศษสุทธิเข้ามา 98 ล้านบาท (ดีกว่าคาดมาก) ในงวด 2Q65 หลักๆ แบ่งเป็น 1) ค่าใช้จ่ายพิเศษจากการประเมินมูลค่ายุติธรรมของ Preferred shares ของ Red Lobster (TU ถือหุ้น Preferred shares ใน Red Lobster 24% ของทุนชำระแล้ว) เข้ามาสุทธิ (หลังหักภาษี) ถึงราว 424 ล้านบาท ในงวด 2Q65 (เป็นค่าใช้จ่ายทางบัญชีไม่กระทบเงินสด) สาเหตุหลัก เกิดจากทิศทางอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้น โดย FED ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นถึง 2.0% ในงวด 2Q65 และก.ค.65 ทำให้ TU ต้องใช้ Discount rate ในการประเมินมูลค่าเงินลงทุนของ Preferred shares สูงขึ้น ทำให้มูลค่าปัจจุบันของเงินลงทุน (Present value) ลดลง ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยประเมินว่า Fed จะปรับขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในงวด 2H65 ทำให้ประเมินว่า TU จะบันทึกค่าใช้จ่ายพิเศษจากการประเมินมูลค่ายุติธรรมของ Preferred shares ของ Red Lobster เข้ามาสุทธิหลังภาษีอีกราว 450 ล้านบาทในงวด 2H65 แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายพิเศษราว 225 ล้านบาท ในงวด 3Q65 และ 225 ล้านบาทในงวด 4Q65 2) ค่าใช้จ่ายพิเศษในการปิดโรงงานอาหารกระป๋องที่ประเทศเยอรมนีของ Rugen Fisch สุทธิหลังหักภาษีราว 195 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายทางบัญชีไม่กระทบเงินสดเช่นกัน ทั้งนี้ ปัจจุบัน TU ไม่มีแผนจะปิดโรงงานเพิ่มเติมในปี 2565-66 และ 3) TU บันทึกกำไร จาก Fx เข้ามาถึง 475 ล้านบาท
ทั้งนี้ หากไม่รวมรายการพิเศษ กำไรปกติงวด 2Q65 เท่ากับ 1.7 พันล้านบาท ตามคาด เพิ่มขึ้น 4.8% qoq (แต่ลดลง 21.8 % yoy) มีปัจจัยสนับสนุนจาก
1) รายได้รวมงวด 2Q65 เพิ่มขึ้น 7.4% qoq และ 8.5% yoy มาที่ 3.9 หมื่นล้านบาท ทำจุดสูงสุดรายไตรมาส จากค่าเงินบาทเฉลี่ยงวด 2Q65 อ่อนค่าลง 4.1% qoq และ 9.7% yoy มาที่ 34.4 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยรายได้ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงและสินค้ามูลค่าเพิ่ม (20% ของรายได้รวม) งวด 2Q65 ปรับเพิ่มขึ้นถึง 16.9% qoq และ 41.7% yoy มาที่ 8.1 พันล้านบาท จากความต้องการใช้อาหารสัตว์เลี้ยงเติบโตต่อเนื่อง จากการขยายฐานลูกค้าไปสู่กลุ่มใหม่ๆ มากขึ้น และการปรับเพิ่มราคาขายบางส่วน รวมไปถึงรายได้ในกลุ่มธุรกิจสินค้ามูลค่าเพิ่มและบรรจุภัณฑ์เติบโตต่อเนื่องด้วยเช่นกัน ขณะที่รายได้ธุรกิจอาหารกระป๋อง (43% ของรายได้รวม) งวด 2Q65 ปรับเพิ่มขึ้น 8.9% qoq และ 10.7% yoy มาที่ 1.7 หมื่นล้านบาท และรายได้ธุรกิจอาหารแช่เย็นและแช่แข็ง (37% ของรายได้รวม) งวด 2Q65 ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.8% (แต่ปรับลดลง 6.5% yoy) มาที่ 1.4 หมื่นล้านบาท
2) สัดส่วนค่าใช้จ่าย SG&A/Sales งวด 2Q65 ปรับลดลงมาที่ 12.4% จาก 12.9% ในงวดก่อน จากการประหยัดต่อขนาด โดยค่าใช้จ่ายขนส่งยังทรงตัวสูงต่อเนื่อง ทั้งนี้ TU เริ่ม เห็นค่าขนส่งทยอยปรับลดลงเล็กน้อยในปลายงวด2Q65 และคาดว่าจะทยอยลดลง ต่อเนื่องในงวด 2H65
ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่า 1) ส่วนแบ่งขาดทุนจากบริษัทร่วมงวด 2Q65 อยู่ที่ 283 ล้านบาท แย่ลงจากที่บันทึกส่วนแบ่งขาดทุนจากบริษัทร่วมเข้ามา 177 ล้านบาท ในงวด 1Q65 (และที่บันทึกส่วนแบ่งขาดทุนจากบริษัทร่วมเข้ามา 74 ล้านบาท ในงวด 2Q64) ผลกระทบจากส่วนแบ่งขาดทุนจากธุรกิจ Red Lobster งวด 2Q65 เพิ่มขึ้นมาที่ 383 ล้านบาท จากที่ TU บันทึกส่วนแบ่งขาดทุนจากธุรกิจ Red Lobster เข้ามา 335 ล้านบาท ในงวด 1Q65 ผลกระทบจากปัญหาเงินเฟ้อในสหรัฐฯ โดยเฉพาะค่าน้ำมันที่สูงขึ้นกดดันให้ลูกค้าออกมาทานอาหารนอกบ้านลดลง เพื่อลดค่าใช้จ่าย และผลกระทบจากต้นทุนวัตถุดิบอาหารทะเลที่สูงขึ้น อาทิ ปู ล็อปเตอรส์ และแซลมอน เป็นต้น
ขณะที่ส่วนกำไรจาก Avanti Feeds งวด 2Q65 ฟื้นตัวดีขึ้นจากงวด 1Q65 จากการเข้าช่วง high season ของการเลี้ยงกุ้ง หนุนปริมาณขายอาหารกุ้งและกุ้งเพิ่มขึ้น
และ 2) Gross margin งวด 2Q65 ปรับลดลงเล็กน้อยมาที่ 17.4% จาก 17.5% ในงวดก่อน จากวัตถุดิบอาหารทะเล เช่น ปู ล็อปเตอรส์ และแซลมอน เป็นต้น ราคาบรรจุภัณฑ์ (กระป๋องและซอง) ส่วนผสมของอาหาร (น้ำมันพืช) ปรับสูงขึ้น ทั้งแม้ราคาวัตถุดิบทูน่าเฉลี่ยตั้งแต่ต้นงวด 2Q65 อยู่ที่ 1.7 พันดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 1.0% qoq (แต่เพิ่มขึ้นถึง 28.5% yoy) แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าผลบวกจากค่าเงิน บาทเฉลี่ยงวด 2Q65 ที่อ่อนค่าลงข้างต้นไปได้ทั้งหมด
โดยรวมแล้ว กำไรสุทธิงวด 1H65 เท่ากับ 3.4 พันล้านาท ลดลง 18.7% yoy คิดเป็น 57% ของประมาณการกำไรสุทธิปี 2565 ที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้ และกำไรปกติงวด 1H65 เท่ากับ 3.4 พันล้านบาท ลดลง 15.1% yoy คิดเป็น 50% ของประมาณการกำไรสุทธิปี 2565 ที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้
ทิศทางกำไรจะฟื้นตัวในงวด 3Q65
คงประมาณการ คาดกำไรสุทธิปี 2565 จะลดลง 26.1% yoy มาที่ 5.9 พันล้านบาท จากฐานกําไรที่สูงมากในปีก่อน แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับที่ดี โดยคาด gross margin ปี 2565 จะอ่อนตัวลงมาที่ 17.5% จากต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น เช่น กระป๋องและน้ำมันพืช เป็นต้น แนวโน้มสัดส่วนค่าใช้จ่าย SG&A/Sales ปี 2565 ปรับเพิ่มขึ้นมาที่ 12.5% ผลกระทบจากแนวโน้มค่าขนส่งสูงขึ้น และแนวโน้มส่วนแบ่งขาดทุนจากธุรกิจ Red Lobster สูงขึ้น หักล้างแนวโน้มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง และ Avanti Feeds ที่จะฟื้นตัวไปได้ทั้งหมด
ทั้งนี้ คาดกำไรสุทธิงวด 3Q65 จะปรับเพิ่มขึ้นจากงวด 2Q65 จากการเข้าช่วง High season ของธุรกิจหนุนแนวโน้มรายได้รวมเติบโตต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังได้ผลบวกจากการปรับเพิ่มราคาอาหารกระป๋องที่เป็นแบรนด์ได้เฉลี่ยราว 7-12% yoy สะท้อนราคาต้นทุนวัตถุดิบทูน่า อาหารทะเล น้ำมันพืชและบรรจุภัณฑ์ที่สูงขึ้น และแนวโน้มค่าเงินบาท เฉลี่ยงวด 3Q65 ที่อ่อนค่าลงจากงวด 2Q65 หนุนแนวโน้มประสิทธิภาพการทํากําไรของ TU ขึ้น
ขณะที่ธุรกิจ Red Lobster คาด TU จะรับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนลดลงเล็กน้อยในงวด 3Q65 จากการทยอยปรับเพิ่มราคาอาหารได้ตั้งแต่กลางส.ค. 65 แต่คาด TU จะรับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนจาก Red Lobster เพิ่มขึ้นในงวด 4Q65 เนื่องจากเป็นช่วง low season ของธุรกิจ โดยฝ่ายวิจัยประเมินว่า TU จะกลับมารับรู้ส่วนแบ่งกำไรจาก Red Lobster ได้ในงวด 1Q66 เพราะเป็นช่วง high season ของธุรกิจ Red Lobster
ปรับเพิ่มเป้ารายได้รวมปี 2565 เป็นเติบโต 10-12% YOY
ทั้งนี้ TU ได้ปรับเป้ารายได้รวมปี 2565 ใหม่อีกครั้ง (ปรับเพิ่มเป้าการเติบโตของรายได้รวมเป็นครั้งที่ 2 ของปี 2565) เป็นเติบโต 10-12% yoy (เดิมเติบโต 7-8% yoy) สู่ระดับ 1.6 แสนล้านบาท (สอดคล้องกับสมมติฐานรายได้รวมปี 2565 ที่ฝ่ายวิจัยกำหนดให้เติบโต 9.4% yoy) จากธุรกิจอาหารกระป๋อง อาหารแช่เย็นแช่แข็ง และอาหารสัตว์เลี้ยงและมูลค่าเพิ่มเติบโต และผลบวกจากทิศทางค่าเงินบาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลงในปี 2565
โดย TU ยังคงเป้าหมาย gross margin ปี 2565 ที่ 17.5-18.0% ลดลงจากระดับ 18.3% ในปี 2564 เล็กน้อย แต่ก็ถือว่าอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง (สอดคล้องกับที่ฝ่ายวิจัยกำหนดไว้ที่ 17.5%) เนื่องจากต้องเผชิญปัจจัยกดดันจากแนวโน้มราคาวัตถุดิบอาหารทะเล (ทูน่าและกุ้ง) บรรจุภัณฑ์ (กระป๋องและซอง) ส่วนผสมของอาหาร (น้ำมันพืช) ที่สูงขึ้นในปี 2565 โดยราคาวัตถุดิบทูน่าเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี 2565 อยู่ที่ 1.7 พันดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึง 17.6% yoy สูงกว่าสมมติฐานราคาวัตถุดิบทูน่าเฉลี่ยปี 2565 ที่ฝ่ายวิจัยกำหนดไว้ที่ 1.6 พัน ดอลลาร์สหรัฐฯ เล็กน้อย โดยล่าสุด TU ได้เจรจาปรับเพิ่มราคาอาหารกระป๋องที่เป็นแบรนด์ได้เฉลี่ยราว 7-12% yoy สะท้อนราคาต้นทุนวัตถุดิบทูน่า อาหารทะเล น้ำมันพืช และบรรจุภัณฑ์ที่สูงขึ้น ช่วยหนุนให้แนวโน้มประสิทธิภาพการทำกำไรของ TU ยังดีต่อเนื่องในงวด 2H65
นอกจากนี้ TU ก็ยังคงเป้าสัดส่วนค่าใช้จ่าย SG&A/Sales ปี 2565 มาที่ระดับ 12.0-12.5% สอดคล้องกับที่ฝ่ายวิจัยกำหนดไว้ที่ 12.5% จากแนวโน้มค่าขนส่งยังสูงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม TU เริ่มเห็นสัญญาณบวกจากแนวโน้มค่าขนส่งจะทยอยปรับลดลงในงวด 2H65
FAIR VALUE ปี 2565 เท่ากับ 18 บาท…เพิ่มคําแนะนําเป็นชื้อ
กำหนด Fair Value ปี 2565 เท่ากับ 18 บาท อิงวิธี DCF (WACC 7.34%) โดย TU ประกาศจ่ายปันผลระหว่างกาลเท่ากับ 0.40 บาท/หุ้น คิดเป็น Div yield สำหรับงวด 1H65 เท่ากับ 2.4% ราคาหุ้นปรับฐานไป 15% นับตั้งแต่ต้นปี 2565 จนปัจจุบันมี upside รวม Div Yield ราว 12% จึงปรับเพิ่มคำแนะนำเป็น ซื้อ (เดิม Switch)
การทำธุรกิจโดยให้ความสําคัญต่อ ESG
กลยุทธ์ SeaChange มีเป้าหมายในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้เกิดขึ้นกับทั้งอุตสาหกรรมอาหารทะเลโลก นอกจากนี้ ยังมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับผู้คนและดูแลรักษาความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเล
Environmental: จับปลาทูน่าจากเรือที่ใช้วิธีการจับอย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล ตรวจสอบย้อนกลับได้
Social: ให้ความสำคัญต่อสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เช่น จ้างแรงงานถูกกฎหมาย พัฒนาด้านการศึกษาของเด็กไทยและต่างชาติ และการเงินอย่างยั่งยืน เป็นต้น
Governance: การกํากับดูแลกิจการที่ดี ต่อต้านคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ
ประเด็นความเสี่ยง
1. ความผันผวนของค่าเงินบาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ และ บาท/ยูโร หากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น จะกดดันแนวโน้มกำไรสุทธิของ TU
2. ความผันผวนของราคาวัตถุดิบทูน่า หากราคาวัตถุดิบทูน่าปรับสูงขึ้น แต่ TU ไม่สามารถปรับเพิ่มราคาขายให้ สอดคล้องกับต้นทุนได้ จะกดดันแนวโน้มกำไรสุทธิของ TU
TU แนะนํา ซื้อ
ราคาปัจจุบัน (บาท) 16.60
ราคาเป้าหมาย (บาท) 18.00
Upside (%) 8.4
Dividend yield (%) 4.2