บล.พาย:

COM7: บมจ. คอมเซเว่น “กำไรใน 2Q22 แต่มีภาพรวมระยะยาวที่สดใส”

แม้กำไร 2Q22 ออกมาต่ำกว่าคาด แต่ปรับเพิ่มคำแนะนำเป็น “ซื้อ” และปรับเพิ่มมูลค่าพื้นฐานขึ้น 16% เป็น 45.00 บาท อิง 35.6xPE’1H23E หรือ -0.5S.D. ต่อค่าเฉลี่ย 5 ปี เพราะหุ้นมีภาพรวมที่ดีขึ้น โดยรวมเชื่อว่ากำไรของบริษัทจะโตแข็งแกร่งต่อเนื่องในปี 2022-23 ทั้งนี้ ราคาหุ้นที่ลดลง 21% YTD ทำให้ราคาหุ้น COM7 น่าดึงดูดมากขึ้น ปัจจุบันหุ้นซื้อขายกันที่ 22.4xPE’23E หรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มในไทยที่ 29.0xPE’23E อยู่ 23%

กำไร 2Q22 ลดลงมากกว่าคาดในเชิง QoQ

• กำไร 2Q22 อยู่ที่ 620 ล้านบาท (+6% YoY, -21%QoQ) การเติบโตในเชิง YoY เป็นผลจากรายได้ที่โตแข็งแกร่ง ส่วนที่ลดลง QoQ เป็นเพราะอัตราส่วนค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร (SG&A) ต่อยอดขายที่สูงขึ้น และอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ที่ลดลง ทำให้ผลประกอบการออกมาต่ำกว่าคาด 18%

• ยอดขาย 2Q22 อยู่ที่ 1.4 หมื่นล้านบาท (+25% YoY, ทรงตัว QoQ) การเติบโตที่แข็งแกร่ง YoY เป็นผลจากอุปสงค์สำหรับผลิตภัณฑ์ Apple และ Realme ที่มีอย่างต่อเนื่อง หนุนจากการเปิดสาขาเพิ่ม 109 แห่ง YoY ส่วนที่ทรงตัว QoQ เป็นเพราะช่วง low season ในด้านอัตราการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม (SSSG) สำหรับร้านขายปลีกอยู่ที่ 8% YoY และ -5% QoQ

• GPM ใน 2Q22 อยู่ที่ 13.2% (-0.2ppts YoY, -0.5ppts QoQ) ที่ลดลง YoY และ QoQ เป็นผลจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ที่ลดลง หลังจากปรับลดราคาขายเฉลี่ยเพราะการแข่งขันสูง

ภาพรวม 2H22 และปี 2023 ยังเป็นบวก

• คาดกำไร 2H22 ปรับดีขึ้น HoH จากยอดขายที่โตดี ขณะที่ไตรมาส 4 มักเป็นช่วง high season ของปีเพราะมีการเปิดตัว iPhone รุ่นใหม่ (iPhone 14 ในปีนี้)

• ภาพรวมกำไรปี 2023 ยังเป็นบวก คาดได้แรงหนุนจากการหันมาใช้ระบบ 5G กันมากขึ้น ส่วนรอบการเปลี่ยนเครื่อง iPhone ในกรอบ 3 ปี หมายความว่าลูกค้าตั้งแต่ปี 2020 (ปีที่บริษัทมีกำไรสูงเป็นประวัติการณ์ ณ ช่วงเวลานั้น) มีแนวโน้มจะเปลี่ยนเครื่องในปี 2023

• กำไร 1H22 คิดเป็น 45.4% ของประมาณการทั้งปี 2022

เพิ่มคำแนะนำเป็น “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 45.00 บาท

แนะนำ “ซื้อ” อิง 35.6XPE’1H23E จากเดิมที่ 28.9xPE (-0.5S.D. ต่อค่าเฉลี่ย 5 ปี) ซึ่งนับเป็นระดับที่ต่ำเกินไปหากพิจารณาว่ากำไรจะโตต่อปีที่ 34% ในช่วงปี 2017-23 ทั้งนี้ บริษัทยังมีความสำคัญในไทย เพราะไทยมีอัตราการใช้ระบบดิจิทัลสูงและมีแนวโน้มหันไปใช้บริการ 5G อย่างต่อเนื่อง

ผลประกอบการ 2Q22

• กำไร 2Q22 อยู่ที่ 620 ล้านบาท (+6% YoY, -21%QoQ) การเติบโตในเชิง YoY เป็นผลจากรายได้ที่โตแข็งแกร่ง ส่วนที่ลดลง QoQ เป็นเพราะอัตราส่วน SG&A ต่อดยอดขายที่สูงขึ้นเป็น 8.0% ใน 2Q22 จาก 7.1% ใน 1Q22 รวมถึง GPM ที่ลดลง และส่วนแบ่งกำไรจาก Next Capital PCL ที่ลดลง ทั้งนี้ SG&A เกิดขึ้นจากค่าใช้จ่ายการตลาดที่สูงขึ้นหลังจากกลับมาเปิดประเทศ นอกจากนี้ ต้นทุนจากการดำเนินงานสาขาใหม่ (ค่าเช่า ค่าบริการ และค่าสาธารณูปโภค) และการกลับสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 เป็นอีกปัจจัยที่กระตุ้น SG&A ให้สูงขึ้น

• รายได้ 2Q22 อยู่ที่ 1.4 หมื่นล้านบาท (+25% YoY, ทรงตัว QoQ) การเติบโตที่แข็งแกร่ง YoY เป็นผลจากอุปสงค์สำหรับผลิตภัณฑ์ iPhones, iPads, Apple Watches, และสมาร์ทโฟนของ Realme ที่มีอย่างต่อเนื่อง หนุนจากการเปิดสาขาเพิ่ม 109 แห่ง YoY ส่วนที่ทรงตัว QoQ เป็นเพราะช่วง low season ในด้าน SSSG สำหรับร้านขายปลีกอยู่ที่ 8% YoY และ 5% QoQ GPM ใน 2Q22 อยู่ที่ 13.2% (-0.2ppts YoY, -0.5ppts QoQ) ที่ลดลง YoY และ QoQ เป็นผลจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ที่ลดลง หลังจากปรับลดราคาขายเฉลี่ยเพราะการแข่งขันสูง

ปรับลดสมมติฐานยอดขายปี 2022 ลง

ปรับลดประมาณการปี 2022 เพื่อสะท้อนยอดขายที่อ่อนแอลง ปรับลดประมาณการกำไรปี 2022 ลง 5% จากการปรับสมมติฐานยอดขายลง 7% จากเดิมที่มีสมมติฐานยอดขายปี 2022 ในเชิงรุกเกินไป ตัวอย่างเช่น COM7 มียอดขายที่สูงเป็นประวัติการณ์ในปี 2021 และส่วนแบ่งรายได้ 1H21 ที่ 46.0% ของประมาณการทั้งปี 2021 ขณะที่ประมาณการชุดเดิมสำหรับปี 2022 จะมีส่วนแบ่ง 1H22 คิดเป็น 43% ของประมาณการทั้งปี 2022 ทำให้การปรับลดสมมติฐานยอดขายลงส่งผลให้ยอดขายใน 1H22 คิดเป็น 46.5% ของประมาณการยอดขายชุดปัจจุบันสำหรับทั้งปี 2022

Revenue breakdown

ผลิตภัณฑ์ของบริษัทสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประเภท:

  • โทรศัพท์มือถือที่รองรับทั้งระบบ ที่รองรับทั้งระบบ iOS และ Android ซึ่งคิดเป็น 56% ของรายได้รวมของ COM7 ในปี 2021
  • แล็บท็อปคิดเป็น 12% ของรายได้ทั้งหมดของบริษัท ผลิตภัณฑ์ประกอบด้วยแบรนด์ Apple MacBook, Acer, Asus, Dell, HP, Lenovo และ MSI
  • อุปกรณ์เสริมหรืออุปกรณ์ไอทีและสินค้าเสริมที่มีอุปกรณ์อัจฉริยะ (14% ของรายได้รวม) ตัวอย่างเช่น Apple Watch ลำโพง หูฟัง แฟลชไดรฟ์ เมาส์ คีย์บอร์ด ที่ชาร์จมือถือ และเคสโทรศัพท์
  • แท็บเล็ตคิดเป็น 15% ของรายได้ทั้งหมด บริษัทจำหน่ายแท็บเล็ตหลากหลายแบรนด์ ประกอบด้วย Apple, Lenovo, Acer, ASUS และ Microsoft
  • เดสก์ท็อป (คิดเป็น 2% ของรายได้รวม) ประกอบด้วย Acer, Asus, Dell, HP, Lenovo
  • ธุรกิจบริการ (คิดเป็น 1% ของรายได้รวม) เป็นการขายซิมการ์ด และ iCare สำหรับผลิตภัณฑ์ Apple
- Advertisement -