สรุปภาวะตลาด
วันจันทร์ที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหวในแดนบวก 5-7 จุด โดยในช่วงเช้าสภาพัฒน์เผย GDP 2Q65 ขยายตัว 2.5% ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 3.1% และสภาพัฒน์ขยับช่วงคาดการณ์ GDP ปี 65 เป็นโต 2.7-3.2% จากเดิม 2.5-3.5% มีแรงซื้อเข้ามาในหุ้นกลุ่มไอซีที และธนาคาร ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,625.25 จุด +2.99 จุด +0.18% มูลค่าการซื้อขาย 72,518 ลบ. ต่างชาติ +5,774.63 ลบ. TFEX +32,339 สัญญา ตราสารหนี้ +6,044.52 ลบ.
ปัจจัยบวก+
+ ดัชนีดาวโจนส์ปิด เพิ่มขึ้น 151.39 จุด +0.45% ท่ามกลางความหวังที่ว่าเฟดจะสามารถควบคุมเงินเฟ้อได้ตามเป้าหมายโดยไม่ทำให้เศรษฐกิจทรุดตัวลง นลท.จับตาการเปิดเผยรายงานการประชุมเฟดประจำวันที่ 26-27 ก.ค. ในวันพุธนี้ เพื่อประเมินทิศทางอัตราดอกเบี้ย หลังจากเจ้าหน้าที่เฟดหลายรายยังคงสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราน้ำมัน ดอกเบี้ย แม้มีสัญญาณว่าเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัวลง
+ แบบจำลองคาดการณ์ GDPNow ชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 2.5% ใน 3Q65 สูงกว่าระดับ 1.4% ที่ระบุก่อน หน้านี้ เฟดสาขาแอตแลนตาจะรายงานตัวเลขคาดการณ์ GDPNow ครั้งใหม่ในวันที่ 16 ส.ค.
+ รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยในว่า GDP 2Q65 ขยายตัว 2.2%YoY ขยายตัวติดต่อกัน 3 ไตรมาส โดยได้แรงหนุนจากการอุปโภคบริโภคในภาคเอกชนที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง
+ ฟิทช์ เรทติ้งส์เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศของจีน ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้สำคัญของการใช้จ่าย ด้านการค้าปลีกเริ่มกระเตื้องขึ้น หลังจากร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงที่จีนบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ครั้งใหญ่
+ แบงก์เอกชน และ 7 แบงก์รัฐประกาศตรึงดอกเบี้ยเงินกู้ ช่วยลูกค้า ขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก
+/- ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ในประเทศวันนี้ ป่วยรายใหม่รักษาในรพ. 1,508 ราย มีผู้เสียชีวิต 29 ราย รักษาหาย 2,023 ราย
ปัจจัยลบ –
– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลง 2.68 ดอลลาร์ 2.9% ปิดที่ 89.41 ดอลลาร์/บาร์เรล ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของดอลลาร์ ข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของจีน และแนวโน้มความคืบหน้าในการเจรจาข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน ซึ่งอาจปูทางให้อิหร่านกลับมาส่งออก
– กองทัพจีนเปิดปฏิบัติการซ้อมรบใกล้เกาะไต้หวันรอบใหม่ หลังคณะผู้แทนสภาคองเกรสของสหรัฐเดินทาง เยือนกรุงไทเปและพบปะกับปธน.ไช่ อิงเหวิน ส่งผลให้สถานการณ์ตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐทวีความรุนแรงมากขึ้น
– ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ของบลูมเบิร์กเปิดเผยว่า ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจยูโรโซนจะถดถอยพุ่งแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2563 จากการขาดแคลนพลังงาน ทำให้มีความเสี่ยงที่จะผลักดันให้เงินเฟ้อที่สูงเป็นประวัติการณ์อยู่แล้วสูงขึ้นไปอีก
– ธนาคารกลางจีนประกาศลดดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ในรอบปี เพิ่มความกังวลศก.โลกถดถอย
– สภาพัฒน์ลดคาดการณ์ GDP ปี 65 เหลือ 2.7-3.2% จากเดิม 2.5-3.5% ค่ากลางทั้งปี 3% ได้แรงหนุนจาก การบริโภคและนักท่องเที่ยวเพิ่มส่งผลให้ GDP 2Q65 โต 2.5% ต่อเนื่องจากขยายตัว 2.3% ใน 1Q65
แนวโน้มตลาดวันนี้
คาดดัชนีในวันนี้มีโอกาสแกว่งตัวในกรอบแคบ โดยนักลงทุนจับตาการเปิดเผยรายงานการประชุมเฟดในวันพุธนี้ ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลงแรงกดดันหุ้นกลุ่มพลังงาน มองกรอบดัชนีในวันนี้ที่ 1,617-1,630 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
- กนง.ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% + หุ้นแบงก์ได้ประโยชน์จากธปท.เลิกเพดานจ่ายปันผลและทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น เราชอบแบงก์ใหญ่ KBANK BBL SCB KTB TISCO
- ผู้ป่วยต่างชาติเพิ่มขึ้น : BH BDMS D
- โครงการคนละครึ่งเฟส 5 : TNP KK BJC MAKRO CBG OSP TKN ICHI SAPPE
- MSCI Global Standard เพิ่มหุ้นเข้าคำนวณ มีผล 31 ส.ค. : KBANK
- ผลประกอบการหุ้นกลุ่มโรงแรมเริ่มฟื้นตัว : MINT ERW CENTEL AWC SHR
หุ้นรายงานพิเศษ
TWPC (Bloomberg Consensus 7.93 บาท) ลุ้น 2H65 กำไรฟื้นตัว
- รายงานกําไร 2Q65 ที่ 46 ลบ. -39%YoY และ -72%QoQ โดยถูกกดดันจาก GP ที่อ่อนตัวลงจาก 20% สู่ 18% หลังต้นทุนค่าขนส่งปรับตัวขึ้น นอกจากนี้มีค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญราว 17 ลบ. ขณะที่ผลประกอบการ 1H65 อยู่ที่ 213 ลบ. +5%YoY และ GP อยู่ที่ 20.5% ลดลงจากปีก่อนที่ 21.3% สาเหตุหลักมาจากราคาต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น 2% QoQ เพราะปริมาณฝนที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณหัวมันที่ออกสู่ตลาดในช่วงกลาง Q2 ลดลง และมีค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญราว 20 ลบ.
- ผู้บริหารมองผลผลิตหัวมันสำปะหลังใน 2H65 จะเพิ่มขึ้นทำให้ราคาหัวมันลดลง ซึ่งหนุนให้ GP เฉลี่ยกลับมาที่ระดับเดียวกับปี 64 ที่ 21% นอกจากนี้ยังมีการขยายธุรกิจไปยัง Bioplastic เนื่องจากประเทศในยุโรปมีความต้องการใช้พลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้
- ฝ่ายวิจัยประเมินว่าช่วงครึ่งปีหลังธุรกิจยังสามารถเพิ่มยอดขายในต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะจีนและเวียดนาม หลังคลายล็อกดาวน์ทำให้มีการรีสต๊อกสินค้าอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม 2H65 ราคาขายแป้งมันสำปะหลังปรับตัวลง 4%QoQ สู่ 520 เหรียญต่อตัน แต่ต้นทุนหัวมันที่ลดลงจะช่วยหนุนให้ GP ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 21% ตามปี 64 โดยเราแนะนำ “ถือ” เนื่องจากหุ้นซื้อขายที่ P/E 14 เท่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มที่ 6 เท่า
หุ้นมีข่าว
(+) GULF (Bloomberg Consensus 53.00 บาท) จับมือยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมสิงคโปร์ Keppel รุกใหญ่พลังงานเพื่ออนาคต หลังประกาศขายหุ้นโรงไฟฟ้าพลังงานลม BKR2 สัดส่วน 50% ให้รับทรัพย์ 1.1 หมื่นล้านบาท ชูดีกรีพันธมิตรสุดแข็งแกร่ง เป็นบิ๊กด้านธุรกิจพัฒนาเมือง ลดคาร์บอน (ที่มา ทันหุ้น)
(+) KEX (Bloomber Consensus 19.50 บาท) ลุ้นสิ้นปี 65 พลิกทำกำไร หลังปรับกลยุทธ์เชิงรุก ลดต้นทุน เน้นขยายสาขาใหม่ แชร์จุดบริการร่วมพันธมิตร ชี้จุดให้บริการเพิ่มเป็น 33,000 จุด เล็งเปิดตัวพันธมิตรใหม่ไตรมาส 3 มองการแข่งขันลดความรุนแรง หลังบาดเจ็บไปมาก ทยอยปรับขึ้นค่าขนส่ง มีธุรกิจใหม่เสริม ปักธง 3-5 ปี รายได้เติบโตไม่ต่ำกว่า 20% วอลุ่มการส่งพัสดุโต 30% ต่อปี (ที่มา ทันหุ้น)
(+) ORI (Bloomberg consensus 14.00 บาท) ผนึกกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่จากฮ่องกง “โลฟิส” ลุยร่วมทุนเพิ่ม 2 โครงการใหม่ มูลค่ารวม 4.6 พันล้านบาท หนุนมูลค่าโครงการร่วมทุนสะสมทะลุ 5.8 พันล้านบาท พร้อมพิจารณาร่วมทุนเพิ่มเติม พร้อมมองตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยยังได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติต่อเนื่อง (ที่มา ทันหุ้น)
(+) PR9 (Bloomberg consensus 17.88 บาท) ผลงาน Q2/2565 ทำนิวไฮ กวาดรายได้ 980.04 ล้านบาท กำไรสุทธิโต 124.80 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 959% รับอานิสงส์ยอดผู้ป่วยในประเทศเพิ่ม โรคซับซ้อน-ตรวจสุขภาพ-เลสิก-Covid และคนไข้ต่างชาติฟื้นตัว ส่องครึ่งปีหลังโตดีกว่าครึ่งปีแรก เข้าสู่ไฮซีซันธุรกิจ พร้อมปรับเป้ารายได้ปี 2565 โต 3,900 ล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)
ปัจจัยจับตาในประเทศ
- 17 ส.ค. ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)
- สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขการ ส่งออก-นำเข้า
- 24 ส.ค. คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยรายงานการประชุมของวันที่ 10 ส.ค.
- 24-26 ส.ค. ตลท.จัดงาน Thailand Focus 2022
- สัปดาห์ที่ 5 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีอุตสาหกรรม
- 31 ส.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
ปัจจัยจับตาต่างประเทศ
- 16 ส.ค. อียู รายงานดุลการค้าเดือนมิ.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเดือนส.ค.จากสถาบัน ZEW
สหรัฐ รายงานการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนก.ค. การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ค.
- 17 ส.ค. สหรัฐ รายงานยอดค้าปลีกเดือนก.ค. สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนมิ.ย. สต็อก น้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) (เช้าวันที่ 18 ส.ค.) คณะกรรมการกำหนดนโยบาย การเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) เปิดเผยรายงานการประชุมวันที่ 26-27 ก.ค.
- 18 ส.ค. อียู รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.ค.
สหรัฐ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานราย สัปดาห์ ดัชนีการผลิตเดือนส.ค.จากเฟดฟิลาเดล เฟีย