บล.เคจีไอ (ประเทศไทย):
Charoen Pokphand Foods (CPF.BK/CPF TB)*
ผลประกอบการ 2Q65: เป็นไปตามคาด
Event
ผลประกอบการ 2Q65
Impact
กำไรสุทธิใน 2Q65 ลดลง 11% YoY แต่เพิ่มขึ้น 48% QoQ
กำไรสุทธิของ CPF ใน 2Q65 อยู่ที่ 4.21 พันล้านบาท (-11% YoY, +48% QoQ) ดีกว่า consensus 20% แต่เป็นไปตามประมาณการของเรา ทั้งนี้ หากไม่รวมกำไรพิเศษ 1.30 พันล้านบาท จากการปรับมูลค่าเหมาะสมของเงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และการขายการลงทุน กำไรปกติของ CPF จะอยู่ที่ 2.91 พันล้านบาท (-27% YoY, +72% QoQ) โดยรายได้เพิ่มขึ้น 20% YoY และ 12% QoQ จากราคาเนื้อสัตว์ที่สูงขึ้น และปริมาณยอดขายที่เพิ่มขึ้น เพราะสถานการณ์ COVID-19 ในหลายประเทศดีขึ้น ทั้งนี้ รายได้ในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 14% YoY และ 7% QoQ ในขณะที่รายได้จากต่างประเทศเพิ่มขึ้น 24% YoY และ 15% QoQ ส่วน GPM ลดลง 190bps YoY เนื่องจากฐานที่สูงของราคาหมูในต่างประเทศเมื่อปีที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้น 170bps QoQ เนื่องจากราคาปศุสัตว์ดีขึ้นในหลายประเทศ ในขณะเดียวกัน สัดส่วน SG&A ต่อยอดขายอยู่ที่ 8.7% ลดลง 80bps YoY เนื่องจากการประหยัดต่อขนาด แต่ทรงตัว QoQ
CPF บันทึกส่วนแบ่งผลขาดทุนจาก JV และบริษัทในเครือ 793 ล้านบาท (จากที่บันทึกกำไร 753 ล้านบาทใน 2Q64 และขาดทุน 336 ล้านบาทใน 1Q65) เนื่องจากธุรกิจหมูในจีนเป็นหลัก ในขณะที่ธุรกิจค้าปลีกส่งผลกำไรมาที่ CPF 1.16 พันล้านบาท (+70% YoY, -14% QoQ) นอกจากนี้ ราคาหมูที่สูงขึ้นในประเทศไทยและเวียดนามยังทำให้ CPF บันทึกกำไรจากสินทรัพย์ชีวภาพ 729 ล้านบาทใน 2Q65 เทียบกับที่มีบันทึกกำไร 1.10 พันล้านบาทใน 1Q65 และที่บันทึกขาดทุน 526 ล้านบาทใน 2Q64
คาดว่ากำไร ใน 3Q65F จะเพิ่มขึ้นทั้ง YoY และ QoQ
เราคาดว่ากำไรสุทธิของ CPF จะเพิ่มขึ้นทั้ง YoY และ QoQ ใน 3Q65F โดยธุรกิจในประเทศไทยจะยังคงเป็นตัวจักรสำคัญที่ขับเคลื่อนการเติบโตจากราคาเนื้อสัตว์ที่แข็งแกร่ง และต้นทุนอาหารสัตว์ที่ลดลง เราคาดว่าผลการดำเนินงานของธุรกิจในประเทศจีนจะพลิกมาเป็นบวกได้จากการที่ราคาหมูเพิ่มขึ้นถึง 45% ใน 3QTD65 ทั้งนี้ กำไรสุทธิในงวด 1H65 คิดเป็น 42% ของประมาณการกำไรเต็มปีของเราที่ 1.67 หมื่นล้านบาท
Valuation & Action
เรายังคงคำแนะนำซื้อ CPF และประเมินราคาเป้าหมาย SoTP ปี 2566F ที่ 33.75 บาท ทั้งนี้ CPF ประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล 0.40 บาท/หุ้น กำหนดขึ้น XD วันที่ 30 สิงหาคม 2565
Risks
เกิดโรคระบาดในสัตว์บกและสัตว์น้ำ, ต้นทุนอาหารสัตว์แพง, เศรษฐกิจโลกถดถอย