บล.พาย:

AOT: บมจ.ท่าอากาศยานไทย “FY3Q22 ยังขาดทุน แต่ต่ำสุดตั้งแต่เกิดโควิด”

เราปรับคำแนะนำขึ้นเป็น “ถือ” จากเดิมแนะนำ “ขาย” และประเมิน มูลค่าพื้นฐานได้ใหม่ที่ 73 บาท (40XPER’24E) จากเดิม 53 บาท โดยปรับไปใช้ราคาปี 24 ที่คาดว่าจะเป็นปีที่ผลประกอบการฟื้นตัวอย่างเต็มที่ โดยเราคาดกำไรปีดังกล่าวไว้ที่ 25,968 ลบ. (+ 98%YoY) สำหรับระยะสั้นเราคาดว่า AOT จะมีผลประกอบการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการเดินทางระหว่างประเทศที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และทำให้ผลประกอบการงวด FY3Q22 ที่ผ่านมามีผลขาดทุนต่ำสุด นับตั้งแต่เกิดโควิดในช่วง FY3Q20 มาอยู่ที่ 2,207 ลบ.

2Q22 ขาดทุนเหลือ 2,207 ลบ.

  • งวด FY3Q22 (เม.ย.-มิ.ย.) ขาดทุน 2,207 ลบ. ลดลงจาก 4,078 ลบ. ใน FY3Q21 และ 3,276 ลบ. ใน FY2Q22 ถ้าไม่รวมรายการพิเศษจะขาดทุน 2,392 ลบ. ต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดโควิดในช่วง FY3Q20 ได้รับผลดี จากมาตรการเปิดประเทศของภาครัฐที่ไม่ต้องกักตัวตั้งแต่ 1 พ.ค. ทำให้จำนวนเที่ยวบินและผู้โดยสารปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก รายได้หลักอยู่ที่ 4,666 ลบ. (+180%YoY,+55%QoQ) แบ่งเป็นธุรกิจการบิน 2,072 ลบ. (+313%YoY, +66%QoQ) เติบโตตามจำนวนผู้โดยสารและเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น ธุรกิจที่ไม่เกี่ยวกับการบิน 2,594 ลบ. (+123%YoY, +47%QoQ) เพิ่มขึ้นมากในส่วนของรายได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์ (+231%YoY, +99%QoQ) ตามจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น และรายได้ค่าบริการจากธุรกิจที่ให้บริการภาคพื้น (+127%YoY, 29%QoQ) ด้านค่าใช้จ่ายหลักโดยรวมอยู่ที่ 6,283 ลบ. (+14%YoY, +6%QoQ) เพิ่มขึ้นในทุกหมวด โดยเฉพาะค่าจ้างบุคคลภายนอก ค่าซ่อมบำรุง และค่าตอบแทนการใช้ที่ราชพัสดุ ดอกเบี้ยจ่ายอยู่ที่ 730 ลบ. ทรงตัวจากปีก่อน รวมแล้วในช่วง FY9M22 AOT มีรายได้ 10,010 ลบ. (+78%YoY) และมีผลขาดทุนสุทธิ 9,875 ลบ. ลดลงจากขาดทุน 11,165 ลบ. ใน FY9M21

ปรับขาดทุนปีนี้เพิ่มเล็กน้อยเพราะเดิมทำต่ำไป

  • เราปรับขาดทุนในปี 22 ขึ้นจากเดิม 13% เป็น 11,826 ลบ. และปรับลดกำไรปี 23 ลง 31% มาอยู่ที่ 13,111 ลบ. ก่อนที่ในปี 24 จะมีกำไรสุทธิเติบโตแบบก้าวกระโดดมาอยู่ที่ 25,968 ลบ. (+98%YoY) หลังจากรับรู้ผลดีจากการไม่มีการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการแล้วเต็มปี (สิ้นสุด 31 มี.ค. 23) รวมถึงคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะกลับสู่ระดับใกล้เคียงก่อนโควิด

FY3Q22 เห็นผลดีชัดเจนหลังเปิดเมือง

  • จำนวนผู้โดยสารในช่วง FY3Q22 ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 316%YoY,51%QoQ รวมถึงจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น 114%YoY, 18%QoQ เป็นผลจากการเปิดประเทศตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมา ส่งผลให้ผลประกอบการในช่วง FY3Q22 มีผลขาดทุนต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดโควิดเป็นต้นมา
  • รายการพิเศษคือกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 283 ลบ. กำไรจากการขายสินทรัพย์ 2 ลบ. ขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ 15 ลบ. และขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ 85 ลบ.

ประเมินผู้โดยสารปี 23 เพิ่ม 122%YoY

  • สำหรับแนวโน้มปี 23 เราคาดว่าจำนวนผู้โดยสารจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 96 ล้านคน (+122%YoY) ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังรับรู้ผลดีจากการเปิดประเทศเต็มปี และสอดคล้องกับที่ AOT ประเมินไว้ (แต่ต่ำกว่าที่เราเคยประเมินไว้เดิมที่ 117 ล้านคน ขณะที่จำนวนเที่ยวบินคาดว่าจะอยู่ที่ 631 พันเที่ยวบิน (+30%YoY) การเติบโตดังกล่าวอาจจะต่ำกว่าจำนวนผู้โดยสารเนื่องจากลูกค้าหลักของ AOT อย่างการบินไทยยังกลับมาให้บริการได้ไม่เต็มที่
  • โดยเราคาดรายได้เติบโต 43,712 ลบ. (+228%YoY) คาดเห็นการเติบโตชัดเจนในช่วง FY2H23 หลังสิ้นสุดมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ และคาดกำไรสุทธิที่ 11,469 ลบ.

ปี 24 กลับสู่ภาวะปกติ

  • เราคาดว่าในปี 24 ภาพรวมอุตสาหกรรมการบินจะเริ่มกลับสู่ระดับเดียวกับก่อนโควิดได้แล้ว ทำให้เราประเมินผู้โดยสารอยู่ที่ 135 ล้านคน (+40%YoY) และจำนวนเที่ยวบิน 880 พันเที่ยว (+40%YoY) โดยเราคาดรายได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 68,873 ลบ. (+ 50%YoY) และมีกำไรสุทธิ 25,968 ลบ. (+102%YoY)

Revenue breakdown

  • โครงสร้างรายได้ของ AOT สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ 1.กลุ่มที่เกี่ยวกับการบิน (Aero) แบ่งได้เป็นค่าบริการสนามบิน, ค่าบริการผู้โดยสารขาออก, ค่าเครื่องอำนวยความสะดวก และ 2.กลุ่มที่ไม่เกี่ยวกับการบิน (Non-Aero) ได้แก่ ค่าเช่าสำนักงานและอสังหาริมทรัพย์ รายได้เกี่ยวกับการบริการ และรายได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์
- Advertisement -