บล.เอเซีย พลัส:
พอได้
กำไรสุทธิงวด 2Q65 เท่ากับ 410 ล้านบาท หากไม่รวมกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 129 ล้านบาท มีกำไรปกติอยู่ที่ 281 ล้านบาท เติบโต 35% YoY หนุนด้วยยอดขาย และส่วนแบ่งกำไรจาก บ. ร่วม ด้วยกำไรปกติ 1H65 เท่ากับ 687 ล้านบาท (+33% YoY) คิดเป็นสัดส่วน 73% ของประมาณปี 2565 เดิม นำไปสู่การปรับเพิ่มกำไรปกติ ปี 2565 – 66 เฉลี่ย 34% ส่งให้กำไรปกติปี 2565 อยู่ที่ 1.28 พันล้านบาท (+60% YoY) และปี 2566 ที่ 1.35 พันล้านบาท (+6% YoY)
ปรับ PER จาก 10 เท่า เหลือ 8 เท่า สะท้อนความเสี่ยง Recession ให้ FV ปี 2565 ที่ 29 บาท (เดิม 24.4 บาท) ปรับคำแนะนำเป็นซื้อจาก Switch ทิศทางกำไรดีขึ้น 3Q65 หลังผ่าน Low season อีกทั้งแนวโน้มกำไรโตเด่นสุดในกลุ่มฯ กอปรกับ PER ซื้อขาย 6 เท่า และ PBV 0.8 เท่า พร้อมคาด Div Yield 5.5% ต่อปี โดย AH จ่ายปันผลงวด 1H65 ที่ 0.58 บาทต่อหุ้น (Div yield ราว 2.7%) ขึ้น XD 29 ส.ค. 65
กําไร 2Q65 ตามฤดูกาล และบวก 35% YOY
กำไรสุทธิงวด 2Q65 เท่ากับ 410 ล้านบาท (+1.8% QoQ,+63.8% YoY) หากไม่รวมกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนทางบัญชีราว 129 ล้านบาท (1Q65 ลบ 3.5 ล้านบาท, 2064 บวก 42.4 ล้านบาท) หลักๆ เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าเงินให้กู้ยืมสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ ที่เกี่ยวข้องกับ SGAH มีกำไรปกติอยู่ที่ 281 ล้านบาท ลดลง 31% QoQ ตามฤดูกาล แต่เติบโต 35% YoY หนุนด้วยยอดขายที่ 6.1 พันล้านบาท ขยายตัว 27% YoY (-9% QoQ) สูงกว่ายอดผลิตรถยนต์ไทยงวด 2Q65 ที่ 3.9 แสนคัน (-18% QoQ, +3% YoY) ดีขึ้นจากทั้งธุรกิจผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ (สัดส่วน 74% ของยอดขาย) เพิ่ม 24% YoY (-12% QoQ) และธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ (สัดส่วน 26% ของยอดขาย) บวก 38% YoY ทั้งจากการเปิด showroom Mazda และ MG กอปรกับ showroom ในมาเลเซียได้อานิสงค์จากมาตรการสนับสนุนภาครัฐ (สิ้นสุด 30 มิ.ย. 65)
ด้าน Gross Margin ลดลงจาก 11.6% ช่วงเดียวกันปีก่อนมาที่ 10.1% (1Q65 ที่ 11.1%) เหตุเพราะสัดส่วนรายได้เพิ่มจากธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ที่มีมาร์จิ้นต่ำ (EBIT margin 1H65 ที่ 1.1%) กว่าธุรกิจชิ้นส่วนฯ (EBIT margin 1H65 ที่ 8.4%) กอปรกับสายการผลิตในโปรตุเกส (สัดส่วน 18% ของยอดขายปี 2564) ยังต้องใช้เวลาในการส่งผ่านราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้นไปยัง OEM
ด้วยกำาไรปกติ 1H65 เท่ากับ 687 ล้านบาท (+33% YoY) คิดเป็นสัดส่วน 73% ของประมาณการกำไรปี 2565 เดิมนำไปสู่การปรับเพิ่มกำไรปกติปี 2565 – 66 เฉลี่ย 34% จากการปรับยอดขายขึ้นเฉลี่ย 17% สะท้อนยอดขาย 1Q65 ทำให้ยอดขายปี 2565 อยู่ที่ 2.57 หมื่นล้านบาท (+26% YoY) และ 1H65 คิดเป็นสัดส่วน 50% ของประมาณการยอดขายใหม่ ส่วนสมมติฐานยอดขายปี 2566 เติบโต 3% YoY จากความระมัดระวังด้าน Recession ในยุโรป ชดเชยการปรับลด Gross margin ปี 2565 – 66 ให้สอดรับกับ 1H65 และสภาวะ Inflation จาก 11.5% มาที่ 10.7% (1H65 ที่ 10.69%)
องค์ประกอบรวมคาดการณ์กำไรปกติปี 2565 อยู่ที่ 1.28 พันล้านบาท (+60% YoY) ซึ่ง 1H65 คิดเป็นสัดส่วน 54% ของประมาณการกำไรทั้งปี และปี 2566 ที่ 1.35 พันล้านบาท (+6% YoY)
ปรับเป็นชื้อ …กำไรเด่น ราคายังไม่แพง
เพื่อสะท้อนความเสี่ยงในการเกิด Recession ของเศรษฐกิจโลกในปี 2566 โดยอิงจากระดับ PER ซื้อขายช่วงที่อุตสาหกรรมเผชิญอุปสรรค เช่น น้ำท่วมใหญ่ไทยปี 2554 ราคาหุ้น มี PER ซื้อขายราว 8 เท่า ขณะที่ช่วง Trade – War ค่าเฉลี่ยปี 2561 – 62 อยู่ที่ 6.6 เท่า ดังนั้นฝ่ายวิจัยจึงปรับลด PER จาก 10 เท่า เหลือ 8 เท่า (ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีที่ 9 เท่า) ให้ FV ปี 2565 ที่ 29 บาท มี Upside 37% ปรับเพิ่มคำแนะนำจาก SWITCH เป็น ซื้อ หลังทิศทางกำไรดีขึ้นตั้งแต่ 3Q65 หลังผ่าน Low season ของภาคการผลิตรถยนต์ไทย อีกทั้งแนวโน้มกำไรเติบโตเด่นสุดในกลุ่มฯ กอปรกับในเชิง Valuation ราคามี PER ซื้อขาย ที่ 6 เท่า และ PBV ที่ 0.8 เท่า ต่ำกว่าเฉลี่ย 5 ปีราว 0.25 SD พร้อมคาดหมาย Div Yield 5.5% ต่อปี โดย AH จ่ายปันผลงวด 1H65 ที่ 0.58 บาทต่อหุ้น (Div yield ราว 2.7%) ขึ้น XD 29 ส.ค. 65
ประเด็นความเสี่ยง
1. เศรษฐกิจที่ยังต้องใช้เวลาฟื้นตัว, ปัญหาชิปขาดแคลน รวมถึง COVID-19 อาจส่งผลให้ยอดผลิตรถยนต์ต่ำกว่าเป้า
2. Gross Margin ในสภาวะ Inflation
3. ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ SGAH ยังไม่ชัดเจน และส่วนแบ่งกำไร จาก บ. ร่วมในอินเดีย มาจากงบบริหาร
AH แนะนำ ซื้อ
ราคาปัจจุบัน (บาท) 21.20
ราคาเป้าหมาย (บาท) 29.00
Upside (%) 36.8
Dividend yield (%) 5.5