บล.พาย:

SPRC: บมจ. สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง “ค่าการกลั่นหนุนกำไร 2Q22 สู่จุดสูงใหม่”

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 13.50 บาท กำไรสุทธิ 2Q22 พุ่ง สูงขึ้น 825% YoY และ 35% QoQ ทำจุดสูงใหม่ที่ 7.2 พันล้านบาท นับว่าดีกว่าที่ตลาดและเราคาด 11% กำไรที่โตดีมีแรงหนุนมาจากค่าการกลั่นที่พุ่งสูงขึ้นจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน และยอดขายที่ปรับดีขึ้นจากอุปสงค์ในประเทศที่สูงขึ้น ขณะที่คาดว่าค่าการกลั่นใน 3Q22 จะชะลอลงจากยอดสูง QoQ แต่ปริมาณสต็อกที่ต่ำและอุปสงค์ที่สูงขึ้นสำหรับดีเซลและเชื้อเพลิงอากาศยานหลังจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น น่าจะช่วยหนุนการเติบโต YoY ได้ ทั้งนี้ บริษัทประกาศจ่ายเงินปันผลสำหรับ 1H22 ที่ 0.96 บาท/หุ้น คิดเป็น อัตราผลตอบแทนที่ 8%

ค่าการกลั่นที่สูงช่วยหนุนกำไร 2Q22

  • หากไม่รวมกำไรสต็อกน้ำมันและรายการพิเศษครั้งเดียวอื่นๆ EBITDA ปกติจะโตเป็น 7.7 พันล้านบาท (>1000% YoY, +142% QoQ) หนุนจากค่าการกลั่นที่พุ่งสูงขึ้นและปริมาณขายที่ปรับดีขึ้น
  • ค่าการกลั่นตลาดพุ่งแตะ US$18.9/bbl. ใน 2Q22 เพิ่มจาก US$2.6/bbl. ใน 2Q21 และ US$8.5/bpl. ใน 1Q22 หนุนจากส่วนต่างราคาที่ปรับดีขึ้น (ดีเซล เบนซิน และเชื้อเพลิงอากาศยาน) มีสาเหตุจากสภาวะอุปทานตึงตัวจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน และอุปสงค์ที่โตขึ้นจากการผ่อนปรนมาตรการเดินทางในหลายประเทศ
  • ปริมาณการผลิตฟื้นตัวเล็กน้อยเป็น 15.6 ล้าน bbl. (+15% YoY, +3% QoQ) หนุนจากอุปสงค์สำหรับดีเซลและเชื้อเพลิงอากาศยานในประเทศที่เพิ่มขึ้น หลังจากมีการผ่อนปรนมาตรการโควิด-19 คาดค่าการกลั่นจะลดลงใน 3Q22 และฟื้นตัวหลังจากนั้น
  • คาดค่าการกลั่นใน 3Q22 จะชะลอตัวลงจากยอดสูงใน 2Q22 จากสภาวะอุปทานตึงตัวที่สืบเนื่องจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน แต่คาดว่า เป็น downside ขนาดเล็ก และประเมินว่าค่าการกลั่นจะยืนระดับเหนือ US$10/bbl ได้ใน 2H22 เพิ่มจาก US$4.2/bbl ใน 2H21 หนุนจากส่วนต่างราคาดีเซลและเชื้อเพลิงอากาศยานที่แข็งแกร่งขึ้น
  • มีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นต่อภาพรวม 4Q22 สืบเนื่องจากอุปสงค์ก๊าซระดับสูงในสหรัฐฯ และยุโรป และสภาวะอุปทานตึงตัวจากสงคราม รัสเซีย-ยูเครน ที่น่าจะกระตุ้นอุปสงค์น้ำมันชนิดกลางได้มากขึ้น (เชื้อเพลิงทดแทน)

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 13.5 บาท

มูลค่าพื้นฐานที่ 13.5 บาท อิง 1.2xPBV’23E หรือเทียบเท่าค่าเฉลี่ย 5 ปี บริษัทประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลที่ 0.96 บาท/หุ้น คิดเป็นอัตราผลตอบแทนเงินปันผลที่ 8% ขึ้น XD วันที่ 24 ส.ค. เลือก SPRC เป็นหุ้นเด่น ในกลุ่มโรงกลั่น

กำไร 2Q22 พุ่งขึ้น 825% YoY

  • กำไรสุทธิ 2Q22 พุ่งสูงขึ้น 825% YoY และ 35% QoQ ทำจุดสูงใหม่ที่ 7.2 พันล้านบาท นับว่าดีกว่าที่ตลาดและเราคาด 11%
  • หากไม่รวมกำไรสต็อกน้ำมันและรายการพิเศษครั้งเดียวอื่นๆ EBITDA ปกติจะโตเป็น 7.7 พันล้านบาท (>1000% YoY, +142% QoQ) หนุนจากค่าการกลั่นที่พุ่งสูงขึ้นและปริมาณขายที่ปรับดีขึ้น
  • ค่าการกลั่นตลาดพุ่งแตะ US$18.9/bbl. ใน 2Q22 เพิ่มจาก US$2.6/bbl. ใน 2Q21 และ US$8.5/bbl. ใน 1Q22 หนุนจากส่วนต่างราคาที่ปรับดีขึ้น (ดีเซล เบนซิน และเชื้อเพลิงอากาศยาน) มีสาเหตุจากสภาวะอุปทานตึงตัวจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน และอุปสงค์ที่โตขึ้นจากการผ่อนปรนมาตรการเดินทางในหลายประเทศ
  • ปริมาณการผลิตฟื้นตัวเล็กน้อยเป็น 15.6 ล้าน bbl. (+15% YoY, +3% QoQ) หนุนจากอุปสงค์สำหรับดีเซลและเชื้อเพลิงอากาศยานในประเทศที่เพิ่มขึ้น หลังจากมีการผ่อนปรนมาตรการโควิด-19
  • บริษัทรับรู้กำไรสต็อกน้ำมัน 2.0 พันล้านบาท เนื่องจากราคาน้ำมันดิบดูไบปรับเพิ่มขึ้นเป็น US$108/bbl (+61% YoY, +13% QoQ)

คาดค่าการกลั่นจะลดลงใน 3Q22 และฟื้นตัวหลังจากนั้น

  • คาดค่าการกลั่นใน 3Q22 จะชะลอตัวลงจากยอดสูงใน 2Q22 จากสภาวะอุปทานตึงตัวที่สืบเนื่องจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน แต่คาดว่าเป็น downside ขนาดเล็ก และประเมินว่าค่าการกลั่นจะยื่นระดับเหนือ US$10/bbl ได้ใน 2H22 เพิ่มจาก US$4.2/bbl ใน 2H21 หนุนจากส่วนต่างราคาดีเซลและเชื้อเพลิงอากาศยานที่แข็งแกร่งขึ้น
  • ส่วนต่างราคาเบนซินช่วง 3QTD ลดลง 50% QoQ เหลือ US$17.7/bbl เนื่องจากสต็อกในเอเชียยังสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีหลังจากฤดูกาลขับขี่ท่องเที่ยวในหน้าร้อนสิ้นสุดลง ขณะที่ส่วนต่างราคาเชื้อเพลิงอากาศยานในเชิง QTD ปรับลดลงเพียง 20%-24% เพราะมีสต็อกต่ำ ผนวกกับการกลับมาเดินทางทางอากาศยานและมีกิจกรรมภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น ส่วนในเชิง YoY พบว่าค่าการกลั่นยังปรับสูงขึ้นใน 3Q22 เพราะส่วนต่างราคาทั้งเบนซิน ดีเซล และเชื้อเพลิงอากาศยานมีระดับเกือบ 2-6 เท่าต่อระดับใน 2Q21
  • มีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นต่อภาพรวม 4Q22 สืบเนื่องจากอุปสงค์ก๊าซระดับสูงในสหรัฐฯ และยุโรป และสภาวะอุปทานตึงตัวจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่น่าจะกระตุ้นอุปสงค์น้ำมันชนิดกลางได้มากขึ้น (เชื้อเพลิงทดแทน)

Revenue breakdown

บริษัทดำเนินธุรกิจโรงกลั่นเป็นหลัก โดยมีการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมคุณภาพสูงหลากหลายชนิด เช่น

  • ดีเซล (48% ของรายได้ทั้งหมด)
  • เบนซิน (32% ของรายได้ทั้งหมด)
  • น้ำมันอากาศยาน (2% ของรายได้ทั้งหมด)
  • น้ำมันเตากำมะถันหนัก (HSFO) (2% ของรายได้ทั้งหมด)
  • แนฟทา (3% ของรายได้ทั้งหมด)
  • ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) (2% ของรายได้ทั้งหมด)
  • อื่นๆ (11% ของรายได้ทั้งหมด) ซึ่งรวมถึงก๊าซผสม C4 ยางมะตอย และโพรพิลีน

ผลิตภัณฑ์ที่บริษัทจำหน่ายภายในประเทศส่วนใหญ่จะจำหน่ายผ่านข้อตกลงระยะยาวที่มีกับ Chevron และ PTT ขณะที่มีกำลังการกลั่น 175 KBD หรือคิดเป็นราวๆ 13% ของกำลังการผลิตกลั่นทั้งหมดของไทย

- Advertisement -