บล.พาย:

TCAP: บมจ. ทุนธนชาต “หุ้นปันผลที่น่าสนใจ”

คงคำแนะนำ “ซื้อ” ด้วยมูลค่าพื้นฐานใหม่ที่ 43.0 บาท โดยปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2022-24 ขึ้น 14%/10%8% ตามลำดับ หลังจากผลประกอบการ 2Q22 ออกมาดีกว่าคาด ขณะที่คาดว่ากำไรสุทธิใน 2H22 จะลดลงทั้ง YoY และ HoH จากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่ลดลง ทั้งนี้ ด้วยสภาพคล่องที่มากพอ จึงคาดว่าบริษัทจะจ่ายเงินปันผลที่ 3.0 บาท/หุ้น ในช่วงปี 2022-24 คิดเป็นอัตราผลตอบแทนเงินปันผลที่ 7.8%

การประชุมนักวิเคราะห์

  • เล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจของบริษัทเล็กน้อยห ลังจากเข้าร่วมการประชุมนักวิเคราะห์วันที่ 17 ส.ค. ผู้บริหารคงเป้าหมายปี 2022 และมีโอกาสที่การเติบโตด้านสินเชื่อของราชธานีลิสซิ่ง (THANI) และธนชาต พลัส จะออกมาสูงกว่าเป้าหมาย
  • ด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจและบรรยากาศในตลาดทุนที่ดีขึ้น บริษัทจึงปรับเพิ่มสัดส่วนการถือครองใน TTB เป็น 24.89% จาก 23.3% ใน 1Q และใน THANI เป็น 60.61% จาก 60.49% ทั้งยังคาดถึงผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงขึ้นในช่วง 2H22 อีกด้วย
  • คุณภาพสินเชื่อยืดหยุ่นดี เพราะมีกระบวนการเรียกเก็บหนี้ที่มีประสิทธิภาพ โดยบริษัทให้แนวทางสำหรับค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญใน 2H22 ที่ราว 60-70bp เทียบกับ 66bp ใน 1H22
  • บริษัทจะบันทึกภาษีแท้จริงในอัตราที่ต่ำต่อเนื่อง หรือที่ราว 10%-12% ใน 2H22 สืบเนื่องจากประโยชน์ด้านภาษีที่เหลืออยู่

คาดกำไรกลับมาโตในปี 2022

• ด้วยผลประกอบการที่ดีกว่าคาดใน 2Q22 จึงปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2022-24 ขึ้น 14%/10%/8% เพื่อสะท้อนการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง และรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่สูงขึ้น

• เพื่อสะท้อนถึงการปรับเพิ่มประมาณการดังกล่าว จึงประเมินว่ากำไรสุทธิจะกลับมาเติบโต 4% YoY ในปี 2022 8% ในปี 2023 และ 10% ในปี 2024

• คาดกำไรสุทธิใน 2H22 จะลดลง 14% YoY และ 5% HoH สู่ระดับประมาณ 2.7 พันล้านบาท เพราะรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่ลดลง และค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่สูงขึ้น

คงคำแนะนำ “ถือ” ด้วยมูลค่าพื้นฐานใหม่ที่ 43.00 บาท

• แม้ผลประกอบการ 2Q22 ออกมาดีกว่าคาด แต่คาดว่ากำไรสุทธิจะมีภาพรวมที่ชะลอลงใน 2H22 ทั้งนี้ ยังคงคำแนะนำ “ถือ” เพราะคาดถึงอัตราผลตอบแทนเงินปันผลที่น่าดึงดูดในระดับ 7.8% สำหรับปี 2022-24

• ปรับเพิ่มมูลค่าพื้นฐานขึ้นจาก 39.00 บาท เป็น 43.00 บาท เพื่อสะท้อนการปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิข้างต้น มูลค่าดังกล่าวคำนวณด้วยวิธี Gordon Growth Model (ROE 8.5%, อัตราการเติบโตระยะยาว 2%) อิง 0.7× PBV’22E หรือ -0.5SD ต่อค่าเฉลี่ย 5 ปี

สรุปผลประกอบการ 2Q22

• กำไรสุทธิ 2Q22 อยู่ที่ 1.8 พันล้านบาท (+60% YoY, +70% QoQ) สูงกว่าคาด 56% จากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง การเติบโต YoY และ QoQ ได้แรงหนุนจาก 1) รายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่สูงขึ้น 2) กำไรพิเศษจากเครื่องมือทางการเงินตามมูลค่ายุติธรรมในงบกำไร/ขาดทุน และ 3) การตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง

• อัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) ปรับดีขึ้น QoQ เป็น 3.74% (1022: 3.68%) อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ลดลงมาอยู่ที่ 25.3% เป็นเพราะรายได้การดำเนินงานที่สูงขึ้น และการคุมค่าใช้จ่ายการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ

• สินเชื่อโดยรวมออกมาแข็งแกร่งที่ 5.2% QoQ เพราะอุปสงค์สำหรับสินเชื่อเช่าซื้อในส่วนของ THANI และสินเชื่อ SME ในส่วนของธนชาต พลัสที่สูงขึ้น ในด้านคุณภาพสินเชื่อก็ปรับดีขึ้น ด้วยอัตราส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม (NPL ratio) ที่ลดลงเหลือ 3.8% ใน 2Q22 (1022: 4.4%) ขณะที่อัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ ยังอยู่ในระดับสูงที่ 106.3%

Revenue breakdown

รายได้บริษัทมาจาก 3 แหล่งดังนี้

• รายได้ดอกเบี้ยสุทธิคิดเป็น 10% ของรายได้การดำเนินงานรวมในปี 2021 ปัจจัยสนับสนุนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิคือการเติบโตของสินเชื่อและอัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM)

• รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการคิดเป็น 18% ของรายได้รวมในปี 2021 ประกอบด้วยรายได้จากค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ ประกัน และสินเชื่อเช่าซื้อ

• รายได้อื่นๆ คิดเป็น 72% ของรายได้รวมในปี 2021 ประกอบด้วยส่วนแบ่งกำไร (ขาดทุน) จากการลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียรายได้เบี้ยประกันสุทธิ กำไรจากการขายสิทรัพย์รอการขาย และรายได้อื่นๆ

- Advertisement -