บล.พาย: 

KTB: บมจ.ธนาคารกรุงไทย “การเติบโตที่แผ่วลง”

คงคำแนะนำ “ถือ” แต่เพิ่มมูลค่าพื้นฐานขึ้นจาก 16.70 บาทเป็น 17.30 บาท ทั้งนี้ คาดว่าการเติบโตของกำไรสุทธิในปี 2023 จะผ่อนแรงลง ส่วนใน 2H22 คาดว่ากำไรสุทธิจะลดลง 21% HoH จากการตั้งสำรองหนี้ฯ และค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่สูงขึ้น แต่ในเชิง YoY คาดว่าจะโตขึ้น 32% ตามการเติบโตของเศรษฐกิจ แม้ภาพรวมการเติบโตอาจชะลอลง บวกกับมี upside ที่จำกัด แต่หุ้นมีอัตราผลตอบแทนเงินปันผลที่น่าดึงดูดระดับ 4.7%-5.0% ในปี 2022-23 ตามลำดับ

การประชุมนักวิเคราะห์

การประชุมนักวิเคราะห์วันที่ 22 ส.ค. ให้ภาพธุรกิจของธนาคารระดับกลาง

  • ผู้บริหารปรับเพิ่มเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อปี 2022 ขึ้นเป็น 4%-5% YoY จาก 3%-4% เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจที่โตดีขึ้น โดยทางธนาคารจะเน้นปล่อยสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่และรายย่อยมากขึ้นใน 2H22
  • อัตราส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม (NPL ratio) จะต่ำกว่า 3.5% ภายในสิ้นปี 2022 (2Q22: 3.3%) ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญใน 2H22 น่าจะออกมาต่างกับในช่วง 1H22 นอกจากนี้ แม้คุณภาพสินเชื่อจะมั่นคง แต่ธนาคารยังคงอัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ราว 160%-170% (2Q22: 174%) เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอน แต่อาจลดลงเหลือ 130%-140% เมื่อความไม่แน่นอนต่างๆ คลี่คลายลงในอนาคต
  • ธนาคารจะลงทุนเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานประเภทดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จึงอาจอยู่ในระดับราว 40% ต้นถึงกลางในช่วงปี 2022

ปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิ

  • ด้วยผลประกอบการ 2Q22 ที่ดีกว่าคาด เราจึงปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2022-24 ขึ้น 20%/16%/15% เพื่อสะท้อนถึงการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง และรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่สูงขึ้น
  • เพื่อสะท้อนถึงการปรับเพิ่มประมาณการกำไรข้างต้น จึงประเมินอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิที่แข็งแกร่งในระดับ 41% YoY ในปี 2022 แต่คาดว่าจะชะลอตัวลงเหลือ 6% ในปี 2023
  • คาดกำไรสุทธิ 2H22 จะโตขึ้น 35% YoY แต่น่าจะลดลง 21% HoH มาอยู่ที่ 1.35 หมื่นล้านบาท สืบเนื่องจากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่ลดลงและค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่สูงขึ้น

คงคำแนะนำ “ถือ” ด้วยมูลค่าพื้นฐานใหม่ที่ 17.30 บาท

  • คงคำแนะนำ “ถือ” เพราะมีภาพรวมการเติบโตที่ชะลอลงและ upside ที่จำกัด แต่ยังมีอัตราผลตอบแทนเงินปันผลที่น่าดึงดูดระดับ 4.7%-5.0% ใน ปี 2022-23
  • ปรับเพิ่มมูลค่าพื้นฐานขึ้นจาก 16.70 บาท เป็น 17.30 บาท เพื่อสะท้อนถึงการปรับเพิ่มประมาณการกำไร มูลค่าพื้นฐานดังกล่าวคำนวณด้วยวิธี Gordon growth model (ROE 8.5%, อัตราการเติบโต 2%) อิง 0.7x PBV’22E หรือเทียบเท่าค่าเฉลี่ย 5 ปีของธนาคาร (2017-2021)

Revenue breakdown

รายได้ธนาคารมาจาก 3 แหล่งดังนี้:

• รายได้ดอกเบี้ยสุทธิคิดเป็น 73% ของรายได้รวมในปี 2021 และนับเป็นรายได้ก้อนใหญ่ที่สุดของธนาคาร หากสินเชื่อและอัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) โตขึ้น รายได้ดอกเบี้ยสุทธิจะโตขึ้นตาม

• รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการคิดเป็น 14% ของรายได้รวมในปี 2021 ประกอบด้วยรายได้จากค่าธรรมเนียมประกันผ่านธนาคาร กองทุนรวม และการค้าระหว่างประเทศ

• รายได้การดำเนินงานอื่นๆ คิดเป็น 14% ของรายได้รวมในปี 2021 มาจากกำไรการลงทุน กำไร/ขาดทุนสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่ประเมินบนพื้นฐานของมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุนและรายได้เงินปันผล

- Advertisement -