บล.พาย:

BANKING: OVERWEIGHT

TOP PICK: BBL, SCB

“อุปสงค์สินเชื่อเร่งตัวขึ้นในเดือน ก.ค.”

สินเชื่อโตต่อเนื่องในเดือน ก.ค. หนุนจากสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และผลกระทบจากยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ลดน้อยลง ขณะที่คาดว่าการฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ การบริโภคในประเทศที่ดีขึ้น และการส่งออกที่สูงขึ้นต่อเนื่องจะช่วยหนุนอุปสงค์ต่อสินเชื่อได้มากขึ้น ทั้งนี้ คาดว่าการสินเชื่อจะโตต่อเนื่องไปตลอดช่วงที่เหลือของปี ด้วยเหตุนี้จึงคงประมาณการอัตราการเติบโตของสินเชื่อทั้งปี 2022 ที่ 4.5%-5.0% คงมุมมองเชิง “บวก” ขณะที่เลือก BBL และ SCB เป็นหุ้นเด่นของกลุ่ม

สินเชื่อโต 0.6% MoM ในเดือน ก.ค.

  • ธนาคาร 9 แห่งที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีสินเชื่อสุทธิโดยรวมที่เพิ่มขึ้น 0.6% MoM (+5.3% YoY) เป็น 12.8 ล้านล้านบาทในเดือนก.ค. ธนาคารส่วนใหญ่มีสินเชื่อสุทธิที่โตขึ้นในเดือน ก.ค. BBL คือธนาคารที่มีสินเชื่อโตมากที่สุดที่ 1.4% MoM ส่วนธนาคารอื่นที่มีสินเชื่อโตขึ้นคือ KBANK, KKP, LHFG, SCB, และ, TISCO ขณะที่ BAY, KTB, และ TTB มีสินเชื่อค่อนข้างทรงตัวในเดือน ก.ค.
  • สำหรับสินเชื่อสุทธิสะสม 7M22 โต 2.6% YTD (ม.ค. – ก.ค.) โดยในเชิง 7M22 พบว่าทั้ง 9 ธนาคารมีสินเชื่อโตขึ้นถ้วนหน้า ด้วย KKP ที่โตมาก ที่สุด 10.9% หนุนจากอุปสงค์สินเชื่อรายย่อย (เช่าซื้อและจดจำนอง) และสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่เพิ่มขึ้น

สภาพคล่องพอสนับสนุนการเติบโต

  • เงินฝากโดยรวมโตขึ้น 0.5% MoM เป็น 14.4 ล้านล้านบาทในเดือน ก.ค. ธนาคารที่มีเงินฝากโตขึ้นในเดือน ก.ค. ได้แก่ BBL, KBANK, KKP, LHFG, SCB, และ TTB ส่วนในเชิง 7M22 พบว่าเงินฝากโดยรวมโตขึ้น 2.3% YTD ทั้งนี้ ด้วยการเติบโตของเงินฝากช่วง 7M22 ต่ำกว่าการเติบโตของสินเชื่อในช่วงเดียวกันอยู่เล็กน้อย ทำให้อัตราส่วนสินเชื่อเงินฝากของกลุ่มลดลงเหลือ 88.5% ในเดือน ก.ค. เทียบกับ 88.2% ในเดือน ธ.ค. 2021 ทั้งนี้ ประเมินว่ากลุ่มธนาคารโดยรวมมีสภาพคล่องเพียงพอต่อการสนับสนุนการเติบโตของสินเชื่อในอนาคตหลังจากทั่วประเทศผ่อนปรนมาตรการคุมเข้มลง

คาดการเติบโตของกำไรสุทธิจะแข็งแกร่งกว่าคาด

  • ด้วยผลประกอบการ 2Q22 ที่ดีกว่าคาด จึงทำการปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิสำหรับ KKP, KTB, และ TCAP ขึ้น และเพื่อสะท้อนการปรับเพิ่มประมาณการดังกล่าวจึงปรับเพิ่มสมมติฐานอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิขึ้นเป็น 17% YoY จากเดิมที่ +14% หนุนจากการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง และรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่สูงขึ้น
  • คงประมาณการอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิปี 2023 ที่ราว 10% YoY คาดถึงแรงหนุนจากรายได้การดำเนินงานที่สูงขึ้นและการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง

เลือก BBL และ SCB เป็นหุ้นเด่น

  • คงมุมมองเชิง “บวก” ต่อกลุ่มธนาคารเพราะ 1) มีอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิที่มั่นคงในระดับ 17% YoY ในปี 2022 2) งบดุลยืดหยุ่น (อัตราการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่สูง และฐานเงินทุนแข็งแกร่ง) พร้อมรับมือกับความไม่แน่นอน และ 3) มูลค่าหุ้นไม่แพง ด้วยการซื้อขายเฉลี่ยของกลุ่มที่ 0.7x PBV’22E หรือ -1.0SD ต่อค่าเฉลี่ย 5 ปี
  • ชอบหุ้นธนาคารขนาดใหญ่มากกว่า เพราะมีพอร์ตสินเชื่อที่หลากหลาย มีโอกาสได้ประโยชน์จากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยที่จะช่วยหนุนอัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) ให้สูงขึ้นได้ และมีมูลค่าหุ้นที่น่าดึงดูด เลือก BBL (“ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 159.0 บาท) และ SCB (“ซื้อ” มูลค่า พื้นฐาน 139.0 บาท) เป็นหุ้นเด่นของกลุ่ม เพราะต่างมีงบดุลที่ยืดหยุ่นดี กำไรสุทธิฟื้นตัวต่อเนื่อง และมูลค่าหุ้นที่น่าดึงดูด
- Advertisement -