บล.พาย: 

BCP: บมจ. บางจาก คอร์ปอเรชั่น 

“ปันผลน่าดึงดูดพร้อมราคาหุ้นที่ถูก”

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 42.00 บาท ชอบ BCP เพราะพอร์ตที่หลากหลาย รวมถึงธุรกิจสำรวจและผลิต (E&P) โรงกลั่น ค้าปลีก น้ำมัน โรงไฟฟ้า ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนให้มีกำไรมั่นคง ส่วน core EBITDA ยังโตต่อเนื่องติดต่อกัน 6 ไตรมาส ขณะที่กำไรสุทธิไตรมาส 2/22 แตะจุดสูงใหม่ที่ 5.3 พันล้านบาท (+199% YoY, +21% QoQ) หนุนจากผลการดำเนินงานธุรกิจโรงกลั่นที่ปรับดีขึ้นจากค่าการกลั่นที่พุ่งขึ้น คาดกำไรไตรมาส 3/22 อ่อนตัวลง QoQ จากค่าการกลั่นที่ชะลอลงจากยอดสูง แต่ประเมินกำไรฟื้นตัวในไตรมาส 4/22 หนุนจากผลงานในธุรกิจโรงกลั่น และ E&P ที่ปรับดีขึ้น จากอุปสงค์และส่วนต่างราคาที่แข็งแกร่งขึ้น บริษัทประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลที่ 1.25 บาท/หุ้น คิดเป็นอัตราผลตอบแทนที่ 3.5% ขึ้น XD วันที่ 31 ส.ค.

ค่าการกลั่นที่พุ่งสูงขึ้นช่วยหนุนกำไรไตรมาส 2/22

  • หากไม่รวมกำไรสต็อกน้ำมัน 3.9 พันล้านบาทและรายการพิเศษครั้งเดียวจะทำให้ core EBITDA อยู่ที่ 8.7 พันล้านบาท (+190% YoY, +14% QoQ) ได้แรงหนุนจาก 1) ผลการดำเนินงานของโรงกลั่นที่ดีขึ้น จากค่าการกลั่นที่พุ่งสูงขึ้น และ 2) ค่าการตลาดค้าปลีกน้ำมันที่สูงขึ้น
  • ค่าการกลั่นพุ่งแตะ US$24.42/bbl. จาก US$6.8/bbl. ในไตรมาส 1/22 และ US$4.2/bbl. ในไตรมาส 2/21 หนุนจากส่วนต่างราคาทุก ผลิตภัณฑ์ที่ปรับเพิ่มขึ้น เพราะสภาวะอุปทานถึงตัวจากสถานการณ์ รัสเซีย ยูเครน ส่วนอัตราการกลั่นอยู่ที่ 102% ทรงตัว QoQ
  • ราคาก๊าซที่ลดลง QoQ ฉุดส่วนแบ่ง EBITDA ของธุรกิจ E&P ลง 17% QoQ ส่วนผลงานในธุรกิจค้าปลีกน้ำมันและโรงไฟฟ้าที่ปรับดีขึ้นได้ ปัจจัยบวกจากค่าการตลาดค้าปลีกน้ำมันที่ดีขึ้น และการเริ่มดำเนินงานเชิงพาณิชย์ (COD) โครงการใหม่ขนาด 40MW ในครึ่งแรกปี 2022 ตามลำดับ

ค่าการกลั่นมีภาพรวมอ่อนแอลงในไตรมาส 3/22

คาดกำไรปกติในไตรมาส 3/22 อ่อนตัวลง QoQ จากค่าการกลั่นที่ลดลง จากยอดสูงในไตรมาส 2/22 แต่คาดว่าในเชิง YoY จะยังแข็งแกร่งที่ US$10/bbl. เพิ่มจาก US$3.1/bbl. ในไตรมาส 3/21 ขณะที่มีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นต่อภาพรวมในไตรมาส 4/22 หนุนจากราคาก๊าซที่สูงขึ้นจากช่วง high season ในยุโรปและสถานการณ์รัสเซีย ยูเครนที่จะช่วยหนุนผลการดำเนินงานธุรกิจ E&P ให้ดีขึ้นได้ คาดค่าการกลั่นปรับดีขึ้น QoQ ในไตรมาส 4/22 หลังจากมีการใช้ปิโตรเลียมแทนก๊าซธรรมชาติ

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 42.00 บาท

มูลค่าพื้นฐานที่ 42.00 บาท อิง 1.0XPBV’23E หรือที่ค่าเฉลี่ยของกลุ่ม ปัจจุบันหุ้นยังซื้อขายด้วยส่วนลด 20% ต่อค่าเฉลี่ย PBV 5 ปีของบริษัท

กำไรไตรมาส 2/22 พุ่งขึ้น 2 เท่า YoY จากผลงานธุรกิจโรงกลั่นที่ดีขึ้น

  • กำไรสุทธิไตรมาส 2/22 แตะจุดสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 5.3 พันล้านบาท (+199% YoY, +21% QoQ) สอดคล้องกับคาดการณ์
  • หากไม่รวมกำไรสต็อกน้ำมัน 3.9 พันล้านบาท และรายการพิเศษครั้งเดียวจะทำให้ core EBITDA อยู่ที่ 8.7 พันล้านบาท (+190% YoY, +14% QoQ) ได้แรงหนุนจาก 1) ผลการดำเนินงานของโรงกลั่นที่ดีขึ้นจากค่าการกลั่นที่พุ่งสูงขึ้น และ 2) ค่าการตลาดค้าปลีกน้ำมันที่สูงขึ้น
  • ในธุรกิจโรงกลั่น (30% ของ EBITDA) พบว่าค่าการกลั่นพุ่งแตะระดับสูงที่ US$24.42/bbl. จาก US$6.8/bbl. ในไตรมาส 1/22 และ US$4.2/bbl. ในไตรมาส 2/21 หนุนจากส่วนต่างราคาทุกผลิตภัณฑ์ที่ปรับเพิ่มขึ้น เพราะสภาวะอุปทานถึงตัวจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ส่วนอัตราการกลั่นอยู่ที่ 102% ทรงตัว QoQ
  • ผลการดำเนินงานในธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติ (41% ของ EBITDA) ลดลง 17% QoQ ฉุดจากราคาก๊าซจำหน่ายใน UK ที่ลดลง 54% QoQ แม้ราคาก๊าซเหลวปรับเพิ่มขึ้น 12% QoQ ก็ตาม แต่ EBITDA ในเชิง YoY พุ่งสูงขึ้น เนื่องจากบริษัทปรับวิธีการบันทึกรายการลงทุนใน OKEA มาเป็นบริษัทย่อยตั้งแต่ไตรมาส 3/21
  • ค่าการตลาดค้าปลีกน้ำมันในไตรมาส 2/22 พุ่งขึ้น +60% QoQ เป็น 0.94 บาท/ลิตร (+7% YoY) หลังจากรัฐบาลผ่อนปรนมาตรการกำหนดเพดานราคาดีเซลที่ดำเนินในช่วงไตรมาส 4/21-1/22 ปริมาณขายพุ่งขึ้น 24% YoY และ 4% QoQ เป็น 1.4 ล้านลิตร หลังจากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศปรับดีขึ้น
  • หากไม่รวมกำไรพิเศษ 2.0 พันล้านบาทในไตรมาส 1/21 จากการขายสินทรัพย์ในอินโดนีเซีย Core EBITDA ของธุรกิจโรงไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้น 10% QoQ และ 12% YoY หนุนจากการ COD โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ขนาดแห่งใหม่ในญี่ปุ่นขนาด 40MW ในช่วงไตรมาส 1-2/22

ค่าการกลั่นที่ชะลอลงจะฉุดกำไรไตรมาส 3/22 แต่ยังมีภาพรวมเป็นบวกในไตรมาส 4/22

คาดกำไรปกติไตรมาส 3/22 จะปรับดีขึ้น YoY จากผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งในธุรกิจโรงกลั่น (ค่าการกลั่นสูงขึ้น) และ E&P (ราคาก๊าซสูงขึ้น) แต่คาดว่าค่าการกลั่นที่ชะลอตัวลงจากยอดสูงในไตรมาส 2/22 จะฉุดกำไรลง QoQ

แต่มีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นต่อภาพรวมไตรมาส 4/22 หนุนจากราคาก๊าซที่สูงขึ้นจากช่วง high season – ในยุโรปและสถานการณ์รัสเซีย ยูเครนที่จะ ช่วยหนุนผลการดำเนินงานธุรกิจ E&P ให้ดีขึ้นได้ คาดค่าการกลั่นปรับดีขึ้น QoQ ในไตรมาส 4/22 เพราะคาดถึงอุปสงค์ที่สูงขึ้นหลังจากมีการใช้ปิโตรเลียมแทนก๊าซธรรมชาติ

ค่าการกลั่นลดลงจากยอดสูงในไตรมาส 2/22

  • คาดว่าค่าการกลั่นในธุรกิจโรงกลั่นจะอ่อนตัวลงเป็น US$10.0/bbl ในไตรมาส 3/22 หดตัวลงจากยอดสูงในไตรมาส 2/22 เนื่องจากค่าการกลั่นสิงคโปร์ปรับลดลงเหลือ US$8.0/bbl QTD จาก US$21.4/bbl ในไตรมาส 2/22 คาดบริษัทจะบันทึกขาดทุนสต็อกน้ำมันในไตรมาส 3/22 จากที่เคยมีกำไร 3.9 พันล้านบาทในไตรมาส 2/22 มีสาเหตุมาจากราคาน้ำมันดูไบที่ลดลงเหลือ US$100/bbl QTD จาก US$108/bbl ในไตรมาส 2/22
  • คาด EBITDA ในธุรกิจ E&P จะฟื้นตัวขึ้นในไตรมาส 3-4/22 หนุนจากราคาก๊าซธรรมชาติในยุโรปที่สูงขึ้น สืบเนื่องจากอุปสงค์ที่สูงตามฤดูกาล (หน้าหนาว) คาดปริมาณขายปรับดีขึ้นเหนือ 20 kboed ภายในไตรมาส 4/22 จาก 16 kboed ในไตรมาส 2/22 หนุนจากการเข้าซื้อโครงการใหม่ เช่น Barge (35%) และ Nova (6%) ที่จะแล้วเสร็จในไตรมาส 4/22
  • ประเมินกำไรจากธุรกิจการผลิตไฟฟ้าจะปรับดีขึ้น QoQ หนุนจากปัจจัยตามฤดูกาลของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ และการรับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์แห่งใหม่ในญี่ปุ่นขนาด 20MW ที่ COD ในไตรมาส 2/22
  • คาด EBTIDA ในธุรกิจค้าปลีกน้ำมันจะอ่อนตัวลง QoQ ในไตรมาส 3/22 เพราะประเมินว่าค่าการตลาดค้าปลีกน้ำมันจะกลับสู่ระดับปกติที่ 0.9 บาท/ลิตร ลดลงจากยอดสูงที่ 0.94 บาท/ลิตร ในไตรมาส 2/22 แต่คาดว่ายอดขายที่ปรับดีขึ้นในธุรกิจน้ำมันและที่ไม่ใช่น้ำมันจากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศที่ดีขึ้น และจำนวนปั๊มน้ำมันที่เพิ่มขึ้น 6% YoY (2022) จะช่วยหนุนการเติบโตของกำไร YoY ได้

ราคาหุ้นยังถูกอยู่

มูลค่าพื้นฐานที่ 42.00 บาท อิง 1.0XPBV’23E หรือที่ค่าเฉลี่ยของกลุ่ม ชอบ BCP เพราะพอร์ตที่หลากหลาย รวมถึงธุรกิจ E&P โรงกลั่น ค้าปลีกน้ำมัน โรงไฟฟ้า และชีวมวล Core EBITDA ไตรมาส 2/22 ถือว่าโตต่อเนื่องติดต่อกัน 6 ไตรมาส คาดกำไรในไตรมาส 3/22 อ่อนตัวลง QoQ จากค่าการกลั่นที่ลดลงจากยอดสูงในไตรมาส 2/22 แต่คาดกำไรฟื้นตัวขึ้นในไตรมาส 4/22 จากผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นในธุรกิจโรงกลั่น E&P และค้าปลีกน้ำมัน หุ้นมี มูลค่าซื้อขายที่ถูกระดับ 0.8x PBV’23E หรือ -1SD ต่อค่าเฉลี่ย 5 ปี

Revenue breakdown

ธุรกิจหลักของ BCP คือธุรกิจโรงกลั่นและการค้าปลีกน้ำมัน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 36% และ 10% ของ EBITDA ปี 2021 ตามลำดับ นอกจากนี้ BCPG ซึ่งเป็นบริษัทย่อยยังดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้า (370MW) ซึ่งคิดเป็น 16% ของ EBITDA ทั้งหมดของ BCP บริษัทเริ่มรวมงบธุรกิจ E&P เข้ามาตั้งแต่ปี 2021 โดยธุรกิจกลุ่มนี้คิดเป็น 31% ของ EBITDA ทั้งหมดในปี 2021 ส่วนธุรกิจเชื้อเพลิงชีวมวลคิดเป็นส่วนที่เหลืออีก 7% ทั้ง 2 ธุรกิจนี้คือการลงทุนด้านผลิตภัณฑ์ชีวมวลและทรัพยากรธรรมชาติของบริษัท

- Advertisement -