สรุปภาวะตลาด

วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ดัชนีปรับตัวลงแรง -17 จุด ตามทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นต่างประเทศ หลังจากตลาดหุ้นไทยยืนแข็งแกร่งกว่าตลาดหุ้นประเทศเพื่อนบ้านในช่วงก่อนหน้า ประกอบกับการที่จีนสั่งล็อกดาวน์เมืองใหญ่หลายแห่ง โดยแรงขายกระจายในหลายกลุ่มหลักทรัพย์ เช่น กลุ่มพลังงาน จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลง กลุ่มค้าปลีก และไอซีที ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,621.95 จุด -16.98 จุด -1.04% มูลค่าการซื้อขาย 79,412 ลบ. ต่างชาติ -3,263.85 ลบ. TFEX -14,689 สัญญา ตราสารหนี้ -2,373.98 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ ดัชนีดาวโจนส์ปิด เพิ่มขึ้น 145.99 จุด +0.46% ได้ปัจจัยหนุนจากแรงซ้อนซื้อในช่วงท้ายตลาด ขณะที่นัก ลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันนี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้แนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด

+ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 51.5 ในเดือนส.ค. ต่ำสุดในรอบ 2 ปี จากระดับ 52.2 ในเดือนก.ค. แต่สูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 51.3 ช่วยลดแรงกดดัน FED ปรับขึ้นดอกเบี้ยแรง

+ ปธน.เอ็มมานูเอล มาครง ผู้นำฝรั่งเศส แสดงความหวังว่าการเจรจาข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านจะได้ข้อสรุปภายในเวลาอีกไม่กี่วัน

+ สธ.เผยวัคซีนเข็มกระตุ้น เพิ่มประสิทธิผลป้องกันป่วยโควิดรุนแรงจากโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย

+/- ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ ป่วยรายใหม่รักษาในรพ. 2,046 ราย มีผู้เสียชีวิต 24 ราย รักษาหาย 1,565 ราย

ปัจจัยลบ –

– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลง 2.94 ดอลลาร์ 3.3% ปิดที่ 86.61 ดอลลาร์/บาร์เรล กังวลว่าการที่จีนสั่งล็อกดาวน์เมืองใหญ่หลายแห่งเพื่อสกัดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมันชะลอตัวลง

– กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 5,000 ราย สู่ระดับ 232,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 245,000 ราย

– ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐอยู่ที่ระดับ 52.8 ในเดือน ส.ค. ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก.ค. แต่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 52.0 โดยดัชนียังคงอยู่สูงกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ว่าภาคการผลิตของสหรัฐยังคงมีการขยายตัว

– ปธน.วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซียลงนามในกฤษฎีกา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 ส.ค. เพื่อเพิ่มขนาดกองกำลังติด อาวุธของรัสเซียจาก 1.9 ล้านนายเป็น 2.04 ล้านนาย หลังสงครามยูเครนย่างเข้าสู่เดือนที่ 7

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีในวันนี้ยังแกว่งตัวผันผวนระหว่างวัน โดยเริ่มเห็นทิศทาง Fund Flow นักลงทุนต่างชาติไหลออก จากเงิน บาทที่อ่อนค่าต่อเนื่อง ประกอบกับนักลงทุนกังวลว่าการที่จีนสั่งล็อกดาวน์เมืองใหญ่หลายแห่ง เพื่อสกัดการแพร่ ระบาดของโรคโควิด-19 จะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ มองกรอบดัชนีในวันนี้ที่ 1,600-1,630 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • ผู้ป่วยต่างชาติเพิ่มขึ้น : BH BDMS D
  • โครงการคนละครึ่งเฟส 5 : TNP KK BJC MAKRO CBG OSP TKN ICHI SAPPE
  • ผลประกอบการหุ้นกลุ่มโรงแรมเริ่มฟื้นตัวขยายวีซ่านักท่องเที่ยว : ERW CENTEL AWC
  • วิกฤตพลังงานยุโรป : PRM VL BANPU LANNA PTTEP
  • แอปเปิล ประกาศจัดอีเวนต์ 7 ก.ย.เปิดตัว iPhone 14 : CPW SPVI COM7 SYNEX JMART

หุ้นรายงานพิเศษ

GFPT (ราคาเหมาะสม Bloomberg consensus 19.00 บาท) 2Q65 กำไรโต +150%YoY ทรงตัว QoQ 1H65 กำไร +275%YoY

  • รายได้ 2Q65 เท่ากับ 4,218 ลบ.+13 %YoY กำไร 454 ลบ.+151%YoY สาเหตุหลักมาจากรายได้ธุรกิจฟาร์มสัตว์เลี้ยงปรับตัวดีขึ้นจาก 956 ลบ. เป็น 1,284 ลบ. +34%YoY สอดคล้องกับรายได้ธุรกิจขายเนื้อไก่ 2,218 ลบ. +11%YoY อีกทั้งยังได้แรงหนุนจากกำไรบริษัทร่วมทุนอย่าง McKey และ GFN ราว 155 ลบ. +63%YoY เนื่องจากราคาขายเนื้อไก่ในประเทศและปริมาณการส่งออกปรับตัวดีขึ้น 1H65 กำไร 909 ล้านบาท +275%YoY
  • ผบห.ตั้งเป้าปี 65 รายได้เติบโต 15-20%YoY หลังผู้บริโภคกังวลโรค ASF ในสุกร จึงหันมาบริโภคเนื้อไก่เป็นสินค้าทดแทน หนุนให้ปริมาณการบริโภคสูงขึ้น สอดคล้องกับแนวโน้มการส่งออกไปยังญี่ปุ่นและยุโรปเติบโตต่อเนื่อง คาดทั้งปีมูลค่าส่งออกราว 1.08 แสนล้านบาท +0.72%YoY ส่วนงบลงทุนมูลค่า 1.2 พันลบ.จะช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพและเพิ่มกำลังการผลิตในอนาคตจะรองรับการส่งออกไก่สดและไก่ปรุงสุกไปยังตลาดเปิดใหม่ประเทศซาอุดิอาระเบีย
  • ความเห็น ฝ่ายวิจัยประเมินว่า ในช่วง 2H65 ราคาเนื้อไก่ในไทยยังทรงตัวที่ระดับสูงราว 45-47 บาท/กก. ส่วน ต้นทุนราคาถั่วเหลืองและข้าวโพดที่เริ่มอ่อนตัวช่วยหนุนอัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวดีใน 4Q65 ที่ระดับ 14-15% ทั้งนี้ Bloomberg Consensus คาดกำไรปี 65 เฉลี่ย 1,610 ล้านบาท +670%YoY ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมา +31%YTD ทำให้ซื้อขายที่ P/E 24 เท่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ระดับ 7.5 เท่า แนะนำ “ซื้อเมื่ออ่อนตัว”

หุ้นมีข่าว

(+) NRF (Bloomberg Consensus 7.20 บาท) ผนึก Natura ยักษ์กัญชาเบอร์ 2 สหรัฐ ลุยตลาดขนมเยลลี่เคียวหนึบ หรือ Plant-Based Gummy ทั่วสหรัฐอเมริกา ชูตลาดใหญ่ 3.4 หมื่นล้านบาท Natura จ้างผลิต เริ่มปลายปีนี้ มั่นใจธุรกิจโตตามเป้า 50% รับอานิสงส์บาทอ่อนค่า (ที่มา ทันหุ้น)

(+) SOLAR (Bloomber Consensus – บาท) บ้านวัตกรรมต่อยอดแผงโซลาร์เพิ่มมูลค่า-อัพรายได้ ดีลพาร์ตเนอร์แตกไลน์วินเทอร์ไบน์แบบปรับองศาได้ เปิดช่องรับทรัพย์ พร้อมเปิดตัวมอเตอร์ไซค์วิบากอีวี ส่วนโรงงานแผงโซลาร์เปิดตุลาคม ไทย-เทศ เจรจาซื้อ มั่นใจปีนีอีบิทดาเป็นบวก ส่วนปี 2566 รายได้จะโดดแตะ 2 พันล้านบาท รับรู้รายได้โรงงานแผงเต็มปี โปรดักต์ใหม่หนุน (ที่มา ทันหุ้น)

(+) IMH (Bloomberg consensus 25.20 บาท) เดินหน้าปั้นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ลุยดีลเทกโอเวอร์ แห่งที่ 2 คาดได้ข้อสรุปครึ่งปีหลังนี้ ชี้หากเป็นไปตามแผน รายได้จะทำนิวไฮ โตไม่ต่ำกว่า 30-40% จากปีนี้ที่คาดทำได้ 1.2 พันล้านบาท ฟากผู้บริหาร “สิทธิวัตน์ กำกัดวงษ์” มองยอดโควิดลดกระทบน้อย (ที่มา ทันหุ้น)

(+) MEGA (Bloomberg consensus 57.25 บาท) โดดรับคนไข้เข้าโรงพยาบาล พ่วงเทรนด์รักสุขภาพ หนุนดีมานด์-ออเดอร์เข้า โดยเฉพาะธุรกิจจัดจำหน่ายที่เติบโตรวดเร็วในเมียนมา กัมพูชา และเวียดนาม ด้านบอสใหญ่ “วิเวก ดาวัน” ส่งซิก Q3/2565 โชว์ฟอร์มดีกว่าช่วงเดียวกันกับปีก่อน (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • สัปดาห์ที่ 2 หอการค้าไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ประชุมคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.)
  • 5 ก.ย. กระทรวงพาณิชย์ แถลงสถานการณ์ด้านราคาสินค้าและบริการ (เงินเฟ้อ)
  • 6 ก.ย. การประชุมครม. คาดคณะกรรมการไตรภาคีจะเสนอพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2565 สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย(สภาผู้ส่งออก) แถลงสถานการณ์การส่งออก
  • 28 ก.ย. ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 5/2565
  • 30 ก.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 2 ก.ย. อียูรายงานดัชนีราคาผู้ผลิต PPI เดือนก.ค.
    • สหรัฐรายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ส.ค. และยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนก.ค.
  • 5 ก.ย. จีน รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนส.ค.จากไฉซิน
    • อียู รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาค การผลิต-ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนส.ค. ยอดค้าปลีกเดือนก.ค.
  • 6 ก.ย. สหรัฐ รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนส.ค. ดัชนีภาคบริการเดือนส.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM)
  • 20-21 ก.ย. ประชุม FED
- Advertisement -