บล.กรุงศรีฯ:
AMATA CORPORATION (AMATA TB/ AMATA.BK)
กลุ่มอุตสาหกรรม | อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง |
หุ้น | AMATA |
มูลค่าพื้นฐาน | 24.50 |
คำแนะนำ | BUY |
AMATA คงเป้ายอดขายที่ดินปีนี้ 1,000 ไร่ โดยยอดขายหลักๆ จะมาจากประเทศไทย เราคาดยอดขายที่ดินปีหน้า 1,200 ไร่ โดยยอดขายในเวียดนามเพิ่มขึ้น เราคาดนิคมฯ ลาวจะเป็นอัพไซด์ การเปิดเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาวทำให้มูลค่าการค้าชายแดนเพิ่มขึ้น >44% และการสินค้าผ่านแดนเพิ่มขึ้น >100% เราคาดกิจกรรมจะเพิ่มขึ้นอีกหลังเชื่อมต่อกับหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ของจีน, สะพานไทย-ลาว 2 และรถไฟทางคู่หนองคาย-กรุงเทพ เราคาดกำไรของ AMATA ปีนี้จะเป็นไปตามประมาณการของเราที่ 1.6 พันลบ. (+29% yoy) ซึ่งกำไรใน 1H คิดเป็น 72% ของประมาณการปีนี้ของเรา คงคำแนะนำซื้อ
คงเป้ายอดขายที่ดินปีนี้ โดยยอดขายหลักจะมาจากประเทศไทย
AMATA คงเป้ายอดขายที่ดินปีนี้ 1,000 ไร่ ถึงแม้ว่าจะขายเพียง 174 ไร่ใน 1H บริษัทมั่นใจยอดขายที่ดินจะสูงขึ้นใน 2H เนื่องจากลูกค้าอยู่ระหว่างเจรจาหลายราย (>1,000 ไร่) จากการเปิดตัวโครงการใหม่ Halong P2 และ Longh Than P1 เลื่อนเป็นปีหน้า บริษัทคาดยอดขายที่ดินในประเทศไทยจะทดแทนได้
เวียดนามจะเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตในปีนี้ และปีหน้า
ปัจจัยกระตุ้นปีนี้ได้แก่การขายโรงงานสำเร็จรูป 26 ยูนิต ซึ่งคาดกำไร 1.6 พันลบ. (AMATA ถือหุ้น 72.9%) และบันทึกกำไรไปแล้ว 1.1 พันลบ.ใน 1H ส่วนปัจจัยกระตุ้นปีหน้าจะมาจากยอดขายและยอดโอนที่ดินโครงการ Halong P2 (พื้นที่ขาย 84 เฮกเตอร์/525 ไร่), Longh Than P1 (42-49 เฮกเตอร์/263-306 ไร่) และพื้นที่พาณิชยกรรมที่ Bien Hoa (12 เฮกเตอร์/75 ไร่) ซึงมีราคาสูง
โครงการในลาวจะเป็น S-Curve ตัวใหม่, ยังไม่รวมในประมาณการของเรา
AMATA จะพัฒนานิคมฯ สองแห่งในประเทศลาวได้แก่ 2,563 ไร่ที่นาเตยและ 20,000 ไร่ที่นาหม้อ ทั้งสองโครงการอยู่ติดกับสถานีนาเตยและนาหม้อของโครงการรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว ดังนั้นจึงไม่มีคู่แข่งในบริเวณนั้น กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้แก่ห่วงโซ่อุปทานของ Jinko, โลจิสติกส์ และการผลิตผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับยางพารา (น้ำยางราคาถูก), ชิ้นส่วนยานยนต์ และสินค้าอุปโภคบริโภค AMATA จะเปิดนิคมฯ นาเตยปีหน้า โดยมีลูกค้าเป้าหมาย >20 ราย AMATA ได้รับสิทธิประโยชน์ไม่ต้องจ่ายภาษีนิติบุคคลเป็นเวลา 16 ปี และได้ส่วนลดภาษี 65% อีกห้าปี
รถไฟความเร็วสูงจีน-ลาวจะเป็นแม่เหล็กดึงดูดการลงทุน
รถไฟสายนี้เปิดดำเนินการเดือนธ.ค. 2021 โดยมีเป้าหมายใช้ขนส่งสินค้าระหว่างจีนและไทย ซึ่งช่วยย่นระยะเวลาการขนส่งจากเดิมสองวันโดยรถบรรทุก หรือ 15 ชั่วโมงโดยรถไฟเหลือเพียงสามชั่วโมง รถไฟสายนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ BRI ของจีนซึ่งจะเชื่อมจีนกับ >70 ประเทศในเอเชีย แอฟริกา และยุโรป รถไฟสายนี้ช่วยกระตุ้นการค้าชายแดนเพิ่มขึ้น 44% เป็น 6.1 หมื่นลบ.ในเดือนธ.ค. 2021-ส.ค. 2022 และเพิ่มมูลค่าการส่งสินค้าผ่านแดนจาก 6.5 หมื่นลบ.ใน 12M21 เป็น 1.28 แสนลบ.ใน 11M22 เราคาดการค้าจะเพิ่มขึ้นอีกหลังการก่อสร้างสะพานไทย-ลาว 2 เสร็จในปี 2028 และโครงการรถไฟทางคู่หนองคาย-กรุงเทพเสร็จในปี 2026