สรุปภาวะตลาด
วันอังคารที่ผ่านมาดัชนีเคลื่อนไหวในแดนบวกสลับลบ มีแรงซื้อในหุ้นกลุ่มไอซีที และกลุ่มพลังงาน นักลงทุนติดตามการรายงานตัวเลข CPI ของสหรัฐ โดยช่วงท้ายตลาดมีแรงขายออกเพื่อลดความเสี่ยง ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,661.09 จุด -4.65 จุด -0.28% มูลค่าการซื้อขาย 67,292 ลบ. ต่างชาติ -567.06 ลบ. TFEX -822 สัญญา ตราสารหน้ี +3,348.49 ลบ.
ปัจจัยบวก +
+ กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นอนุมัติการใช้วัคซีนเข็มบูสเตอร์ของไฟเซอร์และโมเดอร์นาในการป้องกันไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน
+ ครม.อนุมัติ 9,128 ล้านบาท ช่วยลดค่าไฟเป็นขั้นบันได สำหรับประชาชนที่ใช้ไฟไม่เกิน 500 หน่วย ตั้งแต่ 10.30 สตางค์/หน่วย และสูงสุด คือ กลุ่มเปราะบางใช้ไฟไม่เกิน 300 หน่วย ช่วย 92.04 สตางค์/หน่วย ระหว่างเดือน ก.ย.-ธ.ค.นี้
+ ครม. เห็นชอบตามที่คณะกรรมการเสนอการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ โดยกำหนดอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำทั่วประเทศอยู่ที่ 328-354 บาทต่อวัน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 ต.ค.2565 โดยปรับขึ้น 5-8%
+ ส.อ.ท. เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ส.ค.65 ว่าอยู่ที่ระดับ 90.5 เพิ่มขึ้นจาก 89.0 ในเดือน ก.ค. เป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเดือนที่ 3
+/- ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ ป่วยรายใหม่รักษาในรพ. 1,321 ราย มีผู้เสียชีวิต 14 ราย รักษาหาย 1,251 ราย
ปัจจัยลบ –
– ดัชนีดาวโจนส์ปิดร่วงลง 1,276.37 จุด หรือ -3.94% โดยนักลงทุนเทขายหุ้นออกมาเป็นวงกว้าง หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงกว่าคาด ซึ่งจะผลักดันให้เฟดเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยขณะนี้นักลงทุนเร่ิมคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยแรงถึง 1.00% ในการประชุมเดือนนี้
– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 47 เซนต์ -0.5% ปิดที่ 87.31 ดอลลาร์/บาร์เรล ปรับตัวลงตามตลาดหุ้นสหรัฐ หลังการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นเกินคาด ทำให้เกิดความวิตกว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรุนแรงขึ้นเพื่อสกัดก้ันเงินเฟ้อ
– สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคพุ่งขึ้น 8.3%YoY ในเดือนส.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 8.1%YoY ส่วนดัชนี CPI พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมราคาในหมวดอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้น 6.3%YoY ในเดือนส.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 6.1%YoY
– FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 33% จากเดิม 0% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1% ในการประชุมเดือนน้ี และให้น้ำหนัก 67% ลดลงจากเดิม 91% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75%
แนวโน้มตลาดวันนี้
คาดดัชนีในวันนี้ปรับตัวลงแรงตามทิศทางตลาดโลก โดยมีแรงกดดันจากดัชนี CPI ของสหรัฐพุ่งขึ้น 8.3% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 8.1% ส่งผลให้นักลงทุนเร่ิมคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยแรงถึง 1.00% ในการประชุมเดือนน้ี คาดกรอบดัชนีในวันน้ีที่ 1,620-1,645 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
- ผู้ป่วยต่างชาติเพิ่มขึ้น : BH BDMS D
- โครงการคนละครึ่งเฟส 5 : TNP KK BJC MAKRO CBG OSP TKN ICHI SAPPE
- ผลประกอบการหุ้นกลุ่มโรงแรมเริ่มฟื้นตัว+ขยายวีซ่านักท่องเท่ียว : ERW CENTEL AWC
- วิกฤตพลังงานยุโรป+จีนเริ่มใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น : PRM VL BANPU LANNA AGE
- นายกฯ ออกเกณฑ์ให้ต่างชาติได้ BOI ถือกรรมสิทธ์ิที่ดินได้ : WHA AMATA ROJNA
- หุ้นซ่อมแซมหลังน้ำท่วม : GLOBAL DOHOME HMPRO TOA COTTO DCC TASCO
หุ้นรายงานพิเศษ
ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรพัย์ สนามบินการบินกรุงเทพ (BAREIT)
- BAREIT ลงทุนในสิทธิการเช่าที่ดิน ส่ิงปลูกสร้าง และส่วนควบของทรัพย์สินบางส่วนที่ใช้ในการดำเนินงานสนามบิน ภายในโครงการสนามบินสมุย เป็นระยะเวลา 25 ปี และให้เช่าช่วงแก่ บจก. กรุงเทพบริหารสนามบิน ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บมจ.การบินกรุงเทพ (BA) โดยโครงการสนามบินสมุยเปิดให้บริการมากว่า 33 ปี มีจุดเด่นคือทำเลที่ต้ังบนเกาะสมุย ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับ World Class และเป็นสนามบินนานาชาติที่รองรับเที่ยวบินท้ังภายในประเทศ และระหว่างประเทศ
- โดยในช่วง 10 ปีย้อนหลัง (ปี 2553–62) สนามบินสมุยรองรับนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าออกรวมกว่า 2.6 ล้านคนต่อปี และมีเท่ียวบินรวมกว่า 30,000 เท่ียวบินต่อปี โดยกองทรัสต์จะมีรายได้จากการให้เช่าช่วงทรัพย์สินแก่ บจก.กรุงเทพบริหารสนามบิน ตลอดระยะเวลา 25 ปี ภายใต้เงื่อนไขที่สามารถปรับขึ้นค่าเช่าประมาณปีละ 2%
- ราคาเสนอขาย 10 บาทต่อหน่วย จำนวน 1,033 ล้านหน่วย รวมมูลค่าเสนอขาย 10,330 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลงทุนในสิทธิการเช่าจานวนไม่เกิน 14,300 ลบ.ท้ังน้ี BAREIT มีนโยบายการจ่ายผลตอบแทนปีละ 4 คร้ัง โดยคาดว่าในปีแรกจะจ่ายผลตอบแทนประมาณ 8.09-8.95% ต่อปี โดยการจ่ายผลตอบแทนอาจจ่ายในรูปเงินปันผลหรือเงินลดทุน
หุ้นมีข่าว
(+) BYD (Bloomberg Consensus – บาท) ปักธงปีนี้ผลงานเทิร์นอะราวด์ ธุรกิจโบรกเกอร์ใกล้ถึงจุดคุ้มทุน เล็งเพิ่มบริการใหม่สร้างฐานลูกค้าใหม่ ส่วนธุรกิจเดินรถปีนี้ทยอยรับมอบรถขั้นต่ำ 896 คัน มูลค่า 6.18 พันล้านบาท คาด 3 ปีมีรายได้มากกว่าโครงการหลักทรัพย์ มองเติบโตต่อเนื่อง (ที่มา ทันหุ้น)
(+) ICN (Bloomberg Consensus – บาท) เล็งบิ๊กโปรเจ็กต์มูลค่าพันล้านบาทท้ายปี คาดคว้าได้อย่างน้อย 1 โครงการ หนุนแบ็กล็อกส้ินปีชน 3 พันล้านบาท ฟากผู้บริหาร “มนชัย มณีไพโรจน์” จรดปากกาเซ็นงาน 5G Smart City กว่า 300 ล้านบาท ส่วนช่วงที่เหลือของปีคาดซดงานเพิ่มราว 800 ล้านบาท เดินเกมปั๊มมาร์จิ้นฟู (ที่มา ทันหุ้น)
(+) HUMAN (Bloomberg consensus 14.50 บาท) โควิดคลายกังวล หนุนครึ่งหลังปี 2565 แจ่ม พร้อมปักธงปีนี้รายได้โตกว่า 10% จากปีก่อน พอร์ตลูกค้าโต-โปรดักต์ใหม่หนุน แถมเดินหน้าดีล M&A อัพแกร่งระยะยาวเพิ่ม ส่วนปีหน้าจ่อรับรู้การควบรวมกิจการ DataOn เข้ามาเต็มปี (ที่มา ทันหุ้น)
(+) WICE (Bloomberg consensus 17.35 บาท) ไตรมาส 3-4 ปริมาณการขนส่งสูงขึ้นต่อเนื่อง รับปัจจัยบวกจีนเปิดประเทศหนุน แถมปริมาณขนส่งไปยังสหรัฐมีมากขึ้น รวมถึงการย้ายฐานผลิตของจีนที่ทำให้การขนส่งสดใส โดยมีเป้าหมายการขนส่งท้ังปี 10,000 TEUS หนุนผลงานรวมเติบโต 20% ตามเป้าหมาย (ที่มา ทันหุ้น)
ปัจจัยจับตาในประเทศ
- สัปดาห์ที่ 4 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้า
- สัปดาห์ที่ 5 สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีอุตสาหกรรม
- 28 ก.ย. ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 5/2565
- 30 ก.ย. ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย บจ.ส่วนใหญ่ปิดงวดงบการเงินไตรมาสที่ 3
ปัจจัยจับตาต่างประเทศ
- 14 ก.ย. สหรัฐรายงานดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนส.ค. และสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์
- อียู รายงานการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.ค.
- 15 ก.ย. สหรัฐ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน ยอดค้าปลีกเดือนส.ค. ดัชนีภาคการผลิต เดือนก.ย. ดัชนีการผลิตเดือนก.ย. การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค. และสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนก.ค.
- ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ประชุมทวิภาคีกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ที่ประเทศอุซเบกิสถาน
- 16 ก.ย. จีนรายงานราคาบ้าน การผลิตภาคอุตสาหกรรม ยอดค้าปลีก การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร และอัตราว่างงานเดือนส.ค.
- อียู รายงานยอดขายรถยนต์+อัตราเงินเฟ้อ ส.ค.
- สหรัฐรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้น
- 19 ก.ย. สหรัฐ รายงานดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือน ก.ย. จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB)
- 20-21 ก.ย. ประชุม FED
- 22 ก.ย. ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) แถลงมติ อัตราดอกเบี้ย