Daily Focus: Domestic and Selective Play

2022 SET Target: 1670

ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index ปรับตัวลงตามตลาดหุ้นภูมิภาค จากแรงกดดันจากความกังวลเงินเฟ้อและการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ FED สัปดาห์นี้ ส่งผลให้ดัชนีปิดลบ 11.93 จุด รวมถึงมีปริมาณการซื้อขายหนาแน่นในช่วงปิดตลาดจาก FTSE Rebalance ซึ่งไทยถูกลดน้ำหนัก สถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้น 1.1 พันลบ. และ 816 ลบ. ตามลำดับ (สถานะใน Index Futures ไม่มีนัยยะนักหลังจากต่างชาติ Short หนาแน่นสัปดาห์ก่อน)

แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index แกว่งตัว Sideways ในกรอบ 1,620-1,640 จุด โดยไร้ปัจจัยใหม่เข้ามากระตุ้น สัปดาห์นี้มีการประชุมธนาคารกลางหลายแห่งทั้ง BoJ BoE และโดยเฉพาะทุกสายตาจับจ้องที่การประชุม FED วันที่ 21 ก.ย. นี้ โดยตลาดคาดปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.75% เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่ยังสูงกว่าเป้าหมายมากให้ชะลอลง Dollar Index และ Bond Yield สหรัฐฯ ยังคงยืนสูง กดดันสินทรัพย์เสี่ยงให้ฟื้นตัวได้จำกัด และส่งผลให้กระแสเงินทุนต่างชาติอยู่ในทิศทางไหลออกจากไทยระยะสั้นหลังจากซื้อค่อนข้างเร็ว YTD กว่า 1.6 แสน ลบ. อย่างไรก็ตาม จากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่อยู่ในทิศทางขาขึ้น คาดยังช่วยหนุนให้ SET Index แกว่งตัวได้แข็งแรงกว่าตลาดหุ้นโลก โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่ม Domestic และ Reopening Play เชื่อว่าคาดว่ายังสามารถ Outperform ตลาดได้โดยเฉพาะที่ราคายัง Laggard และ Valuation ต่ำ ส่วนจุดเข้าสะสมระยะกลาง-ยาวยังมองที่ระดับดัชนี 1,600 1,610+- จุด

กลยุทธ์ : ลงทุนใน Domestic และ Selective Play // รอสะสมหุ้นช่วงปรับฐาน 1,600-1,610+- จุด

หุ้นเด่นเดือน ก.ย. : CPN, KTB, M, PRM, TU

หุ้นเด่นวันนี้ : CPN

• แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายจาก FSSIA 85 บาท

• โมเมนตัมกำไร 2H22 คาดฟื้นตัวต่อเนื่องตามการกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ หนุน Traffic เข้าห้างฟื้นตัวเข้าใกล้ช่งก่อน COVID-19 รวมถึงส่วนลดค่าเช่าที่เริ่มทยอยลดลงอย่างต่อเนื่อง

• เราคาดกำไรปี 2022-2023 +244% Y-Y และ +33% Y-Y ตามลำดับ หนุนจากทั้งการฟื้นตัวของค่าเช่าห้างเดิม การเข้าซื้อ SF และระยะยาวรองรับด้วยแผนการลงทุน 5 ปี 1.2 แสนลบ. ทั้งธุรกิจศูนย์การค้า ที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน และโรแรม

• แนวรับ 65-64 บาท แนวต้าน 68//70 บาท

Fund Flow : เมื่อวันศุกร์กระแสเงินทุนยังคงไหลออกจากภูมิภาคต่อเนื่องอีก US$617 ล้าน นำโดยไต้หวัน US$612 ล้าน ส่วนอาเซียนเม็ดเงินไหลเข้าอินโดนีเซียหนาแน่น US$130 ล้าน แต่ไหลออกจากไทยและเวียดนามประเทศละ US$18-22 ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุน คาดยังอยู่ในทิศทางไหลออก แต่ปริมาณคาดว่าจะเริ่มบางลงรอดูผลการประชุม FED สัปดาห์นี้

ประเด็นสําคัญวันนี้

(0) สัปดาห์นี้จับตาการประชุมธนาคารกลาง โดยมีทั้ง FED BoE และ BoJ สำหรับ BoJ ตลาดคาดยังคงดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อจากเงินเฟ้อที่ยังไม่กดดัน และเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ส่วน BoE ตลาดคาดยังคงปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องอีก 0.5% เป็น 2.25% ตามเงินเฟ้อที่ยังยืนสูงราว 10% Y-Y ในเดือนล่าสุด ส่วน Highlight ยังคงอยู่ที่การประชุม FED ซึ่งตลาดคาดว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยค่อนข้างแน่อีก 0.75% ด้วยความน่าจะเป็น 82% ซึ่งจะทำให้ FED Fund Rate ปรับขึ้นเป็น 3-3.25% รวมถึงเหลือการประชุมอีก 2 ครั้งในปีนี้ มีตลาดคาดว่าจะทะลุแตะ 4.25% ณ สิ้นปี ภาพรวมยังคงเป็นปัจจัยกดดันสินทรัพย์เสี่ยงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า เรามองหุ้นในกลุ่มส่งออกยังได้อานิสงส์เชิงบวก ส่วนหุ้น Domestic Play คาดยังคงปรับตัวได้แข็งแรงกว่าตลาดหุ้นโลก

(-) บาทอ่อนแตะ 37 บาท/ดอลลาร์ ธปท.ประเมินเป็นผลจากแนวโน้ม FED ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่าคาดการณ์เดิม หลังเงินเฟ้อสหรัฐฯ ยังสูง ทำให้มีการประเมินความเสี่ยงต่อค่าเงินในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ที่ปรับลง นำโดยหยวนที่อ่อนค่าเหนือระดับ 7 หยวน/ดอลลาร์ รวมถึงราคาทองคำที่ปรับลงทำให้มีแรงซื้อดอลลาร์จากกลุ่มบริษัททองคำมากขึ้น ธปท.พร้อมเข้าดูแลเมื่อค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผิดปกติ สอดคล้องกับมุมมองของเราที่คาดว่าเมื่อค่าเงิน บาทอ่อนแตะ 37+- บาท/ดอลลาร์ จะเริ่มเห็นการเข้าแทรกแซงของธปธ. เพราะเป็นบริเวณกรอบบนของการแกว่งตัวของค่าเงินบาทนับตั้งแต่วิกฤต Subprime หากปล่อยให้อ่อนค่าต่อจะเป็นลบต่อเศรษฐกิจโดยเฉพาะการนำเข้า และเสี่ยงที่จะเกิดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าการอ่อนค่าของบาทจะเริ่มทยอยผ่อนคลายลงใน 4Q22 ที่จะเริ่มเข้า High Season ของการท่องเที่ยวซึ่งช่วยสร้างเม็ดเงินเข้าประเทศ ขณะที่การประชุมของธปท. 2 ครั้งที่เหลือคาดปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ 0.25% ช่วยลดแรงกดดันในด้าน Policy Gap

 

(-) ตลาดดาวโจนส์ ปิดที่ 30,822.42 จุด ลดลง 139.40 จุด หรือ -0.45% จากความกังวลของภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยนักลงทุนยังคงติดตามผลการประชุม FED ในสัปดาห์นี้

(-) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดลบ จากรายงาน IMF และธนาคารโลกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย

(0) ตลาดหุ้นเอเชีย แกว่งตัวผสม โดยนักลงทุนรอผลการประชุม FED ในสัปดาห์นี้

(0) ค่าเงินบาท แกว่งตัวแคบ อยู่ที่บริเวณ 36.87 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1 เซนต์ หรือ 0.01% ปิดที่ 85.11 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ลดลง 1.9% ในรอบสัปดาห์ก่อนหน้า จากความกังวลภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

(+) ราคาทองคำ COMEX เพิ่มขึ้น 6.2 ดอลลาร์ หรือ 0.37% ปิดที่ 1,683.5 ดอลลาร์/ออนซ์ จากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ย. ปรับตัวสูงขึ้น

SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 960.85 / -1.16

- Advertisement -