บล.เคจีไอ (ประเทศไทย):

Food and Beverage มีแนวโน้มจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่องใน 2H65

Event

อัพเดทแนวโน้มกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม (F&B)

Impact

จะฟื้นตัวได้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นไปอีกใน 2H65

มีปัจจัยหลายประการที่ช่วยหนุนกลุ่ม F&B และทำให้เรายังคงให้น้ำหนักหุ้นกลุ่มนี้ Overweight โดยเรามองบวกกับกลุ่มอาหารเกษตรกรรมเนื่องจาก i) ราคาเนื้อสัตว์ทรงตัวอยู่ที่ระดับสูง ii) การส่งออกแข็งแกร่งในกลุ่มเนื้อสัตว์ และเครื่องดื่ม iii) อัตราค่าระวางลดลงอย่างมาก (เส้นทางยุโรป 40% YTD ในขณะที่เส้นทางสหรัฐ -50-60% YTD) และ iv) เงินบาทอ่อนค่าลง นอกจากนี้ เรายังคงมองบวกกับธุรกิจเชนร้านอาหารของ M, ZEN และ AU เนื่องจาก SSSG เพิ่มขึ้นใน 3Q65 ทั้งนี้ เราชอบ F&B ที่มีสัดส่วนการส่งออกสูงอย่างเช่น SAPPE/PLUS (การส่งออกคิดเป็น 75%/95% ของรายได้ตามลำดับ) ซึ่งอานิสงส์จากเงินบาทที่อ่อนค่าลง อย่างไรก็ตาม เรายังมองลบกับกลุ่มเครื่องดื่ม energy drink อย่าง CBG และ OSP รวมถึงกลุ่มอาหารแปรรูปเพื่อการส่งออกอย่างเช่น XO และ RBF เนื่องจากแรงกดดันทางด้านต้นทุน สภาวะการแข่งขัน และไม่สามารถขึ้นราคาขายสินค้าเพื่อชดเต็มทุนที่เพิ่มขึ้นได้

อัตราค่าระวางที่ลดลงอย่างมาก และเงินบาทที่อ่อนค่าลง จะส่งผลดีต่อการส่งออกของกลุ่ม F&B

อัตราค่าระวางในปีนี้ลดลงมาแล้วอย่างมาก โดยอัตราค่าระวางจากประเทศไทยไปสหรัฐลดลงถึง 50-60% ในขณะที่เส้นทางยุโรปลดลง 40% ในขณะที่อัตราค่าระวางของเส้นทางตะวันออกกลางและเอเชียยังทรงตัว ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าราคาสินค้าส่งออกจะใช้ราคา F.O.B ซึ่งไม่รวมอัตราค่าระวาง แต่อัตราค่าระวางที่ลดลงจะส่งผลให้ต้นทุนทางอ้อมของการส่งออกที่บันทึกผ่าน A&P ลดลง และทำให้ความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกเพิ่มขึ้น ซึ่งภายใต้สถานการณ์นี้ อัตราค่าระวางที่ลดลงอย่างมากจะส่งผลดีกับ TFG ในกลุ่มอาหารเกษตรกรรม และส่งผลดีกับ PLUS/SAPPE ซึ่งการส่งออกคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 95%/75% ของรายได้

เราเลือก TFG เด่นของเราในกลุ่มอาหารเกษตรกรรม

TFG มีการกระจายธุรกิจดีระหว่างการเลี้ยงหมูและไก่ โดยราคาหมูทรงตัวอยู่ในระดับสูง ในขณะที่ราคาไก่ผันผวนมากกว่า ดังนั้น เราจึงชอบ TFG มากกว่า GFPT เรามองว่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง อัตราค่าระวางที่ลดลงอย่างมาก  และอุปสงค์ที่แข็งแกร่งของการส่งออกเป็นปัจบวกที่จะช่วยขับเคลื่อนกำไรของ TFG ไปตลอด 2H65 ในขณะเดียวกัน ราคาเนื้อสัตว์ ทรงตัวอยู่ในระดับสูง ซึ่งกินพอที่จะชดเชยต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการที่เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นอย่างมากได้

คงคำแนะนำซื้อ M, AU และ ZEN เนื่องจากคาดว่า SSSG จะเพิ่มขึ้นอีกใน 3Q65F

SSSG ของ ZEN, M, AU อยู่ที่ประมาณ 43%/50%/70% ใน 2Q65 และคาดว่าจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่องใน 3Q65F ตามที่ M และ AU ตั้งเป้าเอาไว้เกิน 100% ซึ่ง SSSG ที่เพิ่มขึ้นจะทำให้รายได้ส่วนเพิ่ม (marginal revenue) สามารถชดเชยต้นทุนที่เพิ่มขึ้นท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นได้

ปรับเพิ่มประมาณการกำไรของ PLUS แต่คงคำแนะนำถือ เพราะราคาหุ้นแพงแล้ว

เราได้ปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2565/2566F ของ PLUS ขึ้นอีก 48% 8% เพื่อสะท้อนถึงยอดขายที่คาดว่าจะโต 48%/25% ในปี 2565-2566 (เพิ่มขึ้นจากสมมติฐานเดิมที่ +45%/25) และ GPM ที่ 30.5%/30% (เพิ่มขึ้นจากสมมติฐานเดิมที่ 28.5%/27.5%) เนื่องจากเงินบาทอ่อนค่าลง และต้นทุนการผลิตที่ทรงตัว ซึ่งทำให้ margin เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เมื่อใช้ PE ที่ 25x ทำให้เราได้ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 11.40 บาท (จากเดิมที่ 6.50 บาท) แต่เนื่องจากเหลือ upside ถึงราคาเป้าหมายของเราอีกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เราจึงยังคงคําแนะนําถือ

ปรับเพิ่มประมาณการกำไรของ SAPPE ในปี 2565-2566 ขึ้นอีก +4%/16% และปรับเพิ่มราคาเป้าหมายปี 2566F เป็น 52.50 บาท

เราปรับเพิ่มประมาณการกำไรเพื่อสะท้อนถึงการปรับเพิ่มสมมติฐาน margin เป็น 40.6%/41% ในปี 2565/2566 (จากปีละ 40%) จากการที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น และเงินบาทอ่อนค่าลง ทั้งนี้ เมื่อใช้ PE ที่ 23x (ค่าเฉลี่ยระยะยาว +1 S.D.) ทำให้เราได้ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 52.50 บาท ดังนั้น เราจึงยังคงคําแนะนํา ซื้อ

Risks

ความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก, margin เปลี่ยนแปลงไป

- Advertisement -