สรุปภาวะตลาด

วันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหวในแดนลบ เนื่องจากแรงขายมากในหุ้นกลุ่มพลังงาน การเงิน และค้าปลีก เป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นต่างประเทศ ที่กังวลต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดต่อเนื่อง หลังผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐปรับตัวขึ้นระดับ 3.73% ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าต่อเนื่อง อ่อนค่าสุดในรอบ 16 ปีระดับ 37.46 บาทต่อดอลลาร์ คาดกดดันให้ Flow ต่างชาติไหลออกในช่วงนี้ ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1631.71 จุด -13.58 จุด -0.83% มูลค่าการซื้อขาย 63,750 ลบ. ต่างชาติ -2,736.73 ลบ. TFEX -30,848 สัญญา ตราสารหนี้ -3,251.62 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารายงานผลการสำรวจความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 555 คน ระหว่างเดือน ส.ค.-ก.ย.2565 ว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยมีความเชื่อมั่นต่อภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในช่วงเดือน ส.ค.-ธ.ค.2565 อยู่ที่ 80% เพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนหน้านี้อยู่ที่ 20.2%

+ นายอนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการนโยบายและ กำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง กล่าวว่า ขณะนี้สัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยชัดเจนมากขึ้น นอกจากภาคส่งออกและภาคท่องเที่ยวจะกระเตื้องขึ้นแล้ว

+ ศบค. มีมติยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศลดระดับโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตรายเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.65 เป็นต้นไป

+/- ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ ป่วยรายใหม่รักษาในรพ. 319 ราย มีผู้เสียชีวิต 8 ราย รักษาหาย 1,145 ราย

ปัจจัยลบ –

– ดัชนีดาวโจนส์ปิด ร่วงลง 486.27 จุด หรือ -1.62% ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีดาวโจนส์ร่วงลง 4% เนื่องจากนักลงทุนยังคงเทขายหุ้นออกมาท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย หลังจากเฟดยืนยันที่จะคุมเข้มนโยบายการเงินต่อไปเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลง 4.75 ดอลลาร์ หรือ 5.7% ปิดที่ 78.74 ดอลลาร์/บาร์เรล และในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา สัญญาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลง 7.1% บรรดานักลงทุนเทขายสัญญาน้ำมันดิบออกมาอย่างหนัก เนื่องจากวิตกว่า การเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด จะทำให้เศรษฐกิจเผชิญกับภาวะถดถอย และจะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน

– ดัชนี PMI รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 49.3 ในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นระดับ สูงสุดในรอบ 3 เดือน จากระดับ 44.6 ในเดือนส.ค. โดยดัชนี PMI ที่ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคธุรกิจของสหรัฐอยู่ในภาวะหดตัว โดยหดตัวเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน

– ทีมนักวิเคราะห์ของบริษัทโนมูระประเทศญี่ปุ่นปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในปี 2566 ลงเหลือ 4.3% จากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ 5.1% โดยระบุถึงผลกระทบจากการที่จีนใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์มาเป็นเวลานาน

– กระทรวงการคลังกำลังพิจารณาแนวทางการใช้อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 2 อัตรา แบ่งเป็นสินค้าจำเป็น 7% กับสินค้า ฟุ่มเฟือยมากกว่า 7% เพื่อเพิ่มรายได้เข้ารัฐคาดไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท เนื่องจากรัฐมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีในวันนี้มีโอกาสปรับตัวลงตามทิศทางตลาดโลก โดยมีแรงกดดันจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะ เศรษฐกิจถดถอย หลังจากเฟดยืนยันที่จะคุมเข้มนโยบายการเงินต่อไปเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ปรับตัวลงแรงกดดันหุ้นกลุ่มพลังงาน คาดกรอบดัชนีในวันนี้ที่ 1,620-1,635 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • ผู้ป่วยต่างชาติเพิ่มขึ้น : BH BDMS D
  • วิกฤตพลังงานยุโรป+จีนเร่ิมใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น : PRM VL BANPU LANNA AGE
  • นายกฯ ออกเกณฑ์ให้ต่างชาติได้ BOI ถือกรรมสิทธ์ิที่ดินได้ : WHA AMATA ROJNA
  • หุ้นซ่อมแซมหลังน้ำท่วม : GLOBAL DOHOME HMPRO TOA COTTO DCC TASCO
  • ศบค. มีมติยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน : ERW CENTEL VRANDA ASAP SPA

หุ้นรายงานพิเศษ

FPI “มุมมองบวกต่อแนวโน้มผลประกอบการ 2H65”

  • งวด 2Q65 มีรายได้ 700 ลบ. +27%YOY +18%QoQ เติบโตต่อเนื่อง จากกลุ่มลูกค้าในทวีปเอเชียและตะวันออกกลางและจากบริษัทลูกที่ =อินเดีย ประกอบกับได้ผลบวกจากค่าเงินบาทที่อ่อนลง และราคาวัตถุดิบหลัก (อาทิ เม็ดพลาสติก) ที่จ่ายเป็นเงินบาท ทําให้ %GPM ปรับดีขึ้นสู่ 29.45% (2Q64 = 25.04%, 1Q65 = 27.23%) อย่างไรก็ตาม บริษัทมีค่าใช้จ่ายพิเศษจากการขาดทุนตราสารอนุพันธ์ 51 ลบ. ทําให้งวด 2Q65 กำไร 102 ลบ. +66%YoY -3%QoQ และกำไร 1H65 เท่ากับ 207 ลบ. +74%YoY
  • ผบห.ปรับเป้ารายได้ปี 65 ขึ้นเป็น 2,500 ลบ. +17%YoY จากเดิมที่ 2,400 ลบ. เติบโตทำ New High จากออเดอร์ในปัจจุบันที่ค่อนข้างแน่น โดยในปีนี้บริษัทเซนต์สัญญากับลูกค้า OEM ใหม่หลายราย อาทิ First-Tier TOYOTA, Ford, ETRANS, HG Robots และ THAIYARNYON นอกจากนี้ บริษัทลูกที่อินเดีย คาดเริ่มพลิกมีกำไรภายในปีนี้ จากออเดอร์ EV Scooter ที่ได้รับประโยชน์จากการสนับสนุนจากรัฐบาลอินเดีย ประกอบกับค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงอีก จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสนับสนุนยอดขายและ %GPM ทั้งนี้ ปัจจุบัน U.Rate กลุ่ม Injection อยู่ที่ราว 87% ซึ่งใกล้เต็ม Capacity แล้ว โดยบริษัทมีแผนเพิ่มเครื่องจักรในประเทศอีก 5 เครื่อง และในอินเดียอีก 3 เครื่อง เพื่อรองรับออเดอร์ที่เร่งขึ้น
  • ความเห็น เรามีมุมมองบวกต่อแนวโน้มผลประกอบการ 2H65 ที่คาดจะเติบโต HoH จาก ออเดอร์ที่เข้ามาต่อเนื่อง ประกอบกับบริษัทยังมีแผนการเติบโตอื่นๆ อาทิ เปิดตลาดใหม่ในแถบยุโรป และขยายโรงงานในตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนการเติบโตในปีถัดไป ปัจจุบันซื้อขายที่ PE 14.35x ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มที่ซื้อขายราว 20x

หุ้นมีข่าว

(+) ASAP (Bloomberg Consensus 2.70 บาท) รับธุรกิจจะแรง หลังยุบศบค ปลดล็อกโควิด-ลดตั๋วเครื่องบินทั่วไทย หนุนยอดเช่ารถพุ่งทะยาน ลั่นไตรมาส 3 ผลงานจะกระโดด อานิสงส์ฐานต่ำ ยูสคาร์ฟื้นแรง-รถเช่าคึกคัก คอนเฟิร์มปีนี้รายได้ตามเป้า 4 พันล้านบาท รับธุรกิจทุกไลน์สดใส จ่อขายรถมือสองเพิ่มอีกพันคัน เปิดช่องรับทรัพย์เพิ่มไตรมาส 4 นี้ (ที่มา ทันหุ้น)

(+) BE8 (Bloomberg Consensus 56.88 บาท) หลังควบรวมกิจการ X10 และเบย์คอม หนุนรายได้ปีหน้าเติบโตก้าวกระโดดทะลุ 2 พันล้านบาท ล่าสุดได้รับเชิญจาก Salesforce ขึ้นเวทีเสวนาด้านเทคโนโลยีใหญ่สุดในโลกที่สหรัฐอเมริกา (ที่มา ทันหุ้น)

(+) VIBHA (Bloomberg consensus 2.69 บาท) แนวโน้มผลงานโค้ง 3/2565 เติบโตทรงตัวจากไตรมาสก่อน หลังคนไข้ปกติกลับมาใช้บริการมากขึ้น โดยเฉพาะคนไข้เด็ก จากการระบาดของไว้รัส RSV หนุนเดือน ก.ย. อัตราการใช้พื้นที่เตียง รพ. ในเครือเฉลี่ยแตะระดับ 70% จ่อบุ๊กรายได้-กำไร วัคซีนโมเดอร์นา ด้านรายได้รวมปี 2565 คาดทรงตัวจากปี 2564 แม้รายได้คนไข้โควิดลดลง (ที่มา ทันหุ้น)

(+) DOHOME (Bloomberg consensus 16.40 บาท) อวดยอดขายรวมเดือนก.ค.-ก.ย.2565 แตะที่ระดับกว่า 20% แม้เข้าสู่ช่วงโลว์ซีซันฤดูฝน-พายุเข้า ฟุ้ง SSSG อยู่ที่ระดับเฉลี่ยกว่า 8-10% มองมาร์จิ้นในไตรมาส 3/65 มีแนวโน้มดีขึ้นจากไตรมาสก่อน หลังทยอยขยับข้ึนราคาสินค้าหลายรายการ เพื่อสอดรับต้นทุนที่สูงขึ้น คาดยอดขายไตรมาส 4/2565 พีค (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • 26 ก.ย. กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้า
  • 27 ก.ย. ธนาคารโลก สรุปข้อมูลเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก
  • 28 ก.ย. ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 5/65
  • 30 ก.ย. ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย บจ.ส่วนใหญ่ปิดงวดงบการเงินไตรมาสที่ 3

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 26 ก.ย. สหรัฐ รายงานดัชนีกิจกรรมเศรษฐกิจทั่วประเทศเดือนส.ค.จากเฟดชิคาโก
  • 27 ก.ย. สหรัฐ รายงานยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน เดือนส.ค. ดัชนีราคาบ้านเดือนก.ค.จากเอสแอนด์พี/เคส-ชิลเลอร์ ยอดขายบ้านใหม่เดือนส.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ย
  • 28 ก.ย. ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยรายงานการประชุม
    • สหรัฐ รายงานยอดท่าสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนส.ค. สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
  • 29 ก.ย. อียู รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือนก.ย.
    • สหรัฐ รายงานจํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 2Q65
- Advertisement -