บล.บัวหลวง:

JMT Network Services (JMT TB/JMT.BK)

JMT – การเก็บเงินที่แข็งแกร่ง และการเข้าซื้อหนี้จำนวนมาก

ในรายงานนี้เราจะตองคำถามที่ว่า “JMT ยังคงเป็นหุ้นเติบโตเด่นอยู่ไหม” โดยเราคาดกำไรในปี 2565 จะขยายตัว 41% YoY (แม้ว่าจะมีผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อสูง) หนุนมาจากการเก็บเงิน  และการเข้าซื้อหนี้มากขึ้น ทั้งนี้ JMT ยังคงมีอัพไซด์ต่อการเติบโตในอนาคต จากบริษัทร่วมทุน AMC กับธนาคารพาณิชอื่นๆ (JKAMC ไม่ใช่บริษัทร่วมทุนผูกขาด)

คําถามที่ 1: JMT จะสามารถบรรลุเป้าหมายการเรียกเก็บเงินได้ไหม?

ทางผู้บริหารคงเป้าการเก็บเงินปี 2565 ที่ 5 พันล้านบาท (ในครึ่งแรกของปี 2565 เก็บไปได้แล้ว 2.8 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 56% ของเป้าหมายทั้งปี) โดยเราคาดยอดการเรียกเก็บเงินในครึ่งหลังของปี 2565 น่าจะอยู่ที่ 3.2 พันล้านบาท (สูงกว่าเป้าหมายของ JMT ที่ 2.2 พันล้านบาทอย่างมีนัย) ซึ่งจะหนุนมาจากการฟื้นตัวจากผลกระทบของโควิด การเข้าซื้อหนี้ใหม่ๆ (แม้เราคาดว่าอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจะกดดันความสามารถในการเข้าซื้อหนี้) และปัจจัยทางฤดูกาลของอุตสาหกรรมบริหารสินทรัพย์ (ช่วงครึ่งหลังของปี 2565 การเรียบเก็บเงินจะไม่ต่ากว่าตัวเลขของช่วงครึ่งแรกของ ปี 2565)

คําถามที่ 2: JMT จะสามารถเข้าซื้อหนี้ใหม่ได้ตามเป้าไหม?

เราคาดว่า JMT จะใช้เงินจํานวน 7 พันล้านบาทในการเข้าซื้อหนี้ในปีนี้ที่มีมูลค่าถึง 2.55 หมื่นล้านบาท หรือเท่ากับ 17% ของหนี้เสียในระบบ ทั้งนี้ เราประมาณการเชิงอนุรักษ์นิยมที่ต่ำกว่าเป้าหมายของผู้บริหารที่ 1 หมื่นล้านบาท ถึงแม้ว่า JMT จะใช้เงินซื้อหนี้ไป 1.1 พันล้านบาทในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 เท่ากับ 11% ของเป้าหมายปี 2565 ของบริษัท เรายังคงเชื่อว่าบริษัทจะสามารถบรรลุเป้าหมายการซื้อหนี้เสียของเราได้ บนสมมุติฐานที่ใช้เงิน 7 พันล้านบาท เนื่องจากเราคาดหลายธนาคารพาณิชย์จะเร่งเคลียร์หนี้เสียในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 (เรามั่นใจว่าบริษัทจะ สามารถซื้อหนี้เสียใหม่ที่ 1 หมื่นล้านบาทได้)

คําถามที่ 3: สิ่งที่จะตามมาหลังจากบริษัทร่วมทุน AMC แรกของ JMT?

JMT จัดตั้งบริษัทร่วมทุน 50:50 กับ KBANK โดยมีชื่อว่าบริษัท บริหารสินทรัพย์ เจเค จํากัด (JKAMC) เพื่อเรียกเก็บหนี้ของผู้บริโภคด้อยคุณภาพของ KBANK โดยเราคาด JKAMC จะเริ่มรายงานรายได้ที่มีนัยในไตรมาส 4/65 งบริษัทร่วมทุนนี้มีแผนที่จะเข้าบริหารจัดการหนี้เสียมูลค่า 5 หมื่นล้านบาทภายในสิ้นปี 2565 และ 1 แสนล้านบาทภายในสิ้นปี 2568 (ทั้งนี้บริษัทได้รับหนี้เสียเข้ามาแล้ว 3 หมื่นล้านบาท ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2565) บริษัทร่วมทุน AMC กับ KBANK ไม่ใช่บริษัทร่วมทุนผูกขาด ดังนั้นเราคาดว่า JMT มีแนวโน้มที่จะจัดตั้งบริษัทร่วมทุนที่สองกับธนาคารพาณิชอื่น โดยมีเหตุผลมาจากที่หลายธนาคารน่าจะเร่งการเคลียร์หนี้เสีย เพื่อการปล่อยสินเชื่อใหม่ๆ ที่มีอัตราดอกเบี้ยดีกว่าบริษัทร่วมทุน AMC ที่มีประสบการณ์จะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสําหรับการเคลียร์หนี้เสีย

- Advertisement -