สรุปภาวะตลาด

วันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีมีความผันผวนหลังเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 เสียงของศาลรัฐธรรมนูญมีคา ตัดสินให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังไม่สิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเร่ิมนับการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้ังแต่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ปี พ.ศ.2560 แม้ตลาดจะผ่อนคลายขึ้น แต่ภาพรวมยังถูกกดดันจากแนวโน้มเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ย ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,589.51 จุด -2.86 จุด -0.18% มูลค่าการซื้อขาย 62,649 ลบ. ต่างชาติ-1,388.95 ลบ. TFEX -55,177 สัญญา ตราสารหน้ี -3,604 ลบ.

ปัจจัยบวก +

+ เกาหลีใต้จะยกเลิกข้อกำหนดที่ให้นักเดินทางขาเข้าประเทศต้องตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี PCR ในวันแรกที่เดินทางมาถึงเกาหลีใต้ หลังจากที่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เริ่มบรรเทาลง

+ คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน (NDRC) ระบายเน้ือสุกรจากคลังสำรองมาแล้ว 3 ครั้งในเดือนนี้ พร้อมทั้งส่ังการให้บรรดาซัพพลายเออร์เชือดสุกรเพิ่มมากขึ้นเพื่อควบคุมราคาช่วยกดราคา

+ ธปท. มั่นใจว่าภาวะเศรษฐกิจจะกลับสู่ปกติภายในปีหน้า จากการฟื้นตัวด้านท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติราว 21 ล้านคน โดยเป็นการฟื้นตัวแบบ K Shape แต่มีปัญหาเรื่องเงินเฟ้อจากราคาพลังงานและอาหารสด อย่างไรก็ตาม คาดว่าเงินเฟ้อจะอยู่ระดับสูงสุด ใน 3Q65 และกลับเข้าสู่ระดับเป้าหมายภายในปี 66

ปัจจัยลบ –

– ดัชนีดาวโจนส์ปิด ลดลง 500.10 จุด -1.71% ในเดือนก.ย. ดัชนีดาวโจนส์ร่วงลง 8.8% โดยถูกกดดันหลัง สหรัฐเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อที่สูงกว่าคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้เฟดปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีก และทำให้นักลงทุนวิตกว่าเศรษฐกิจจะเผชิญกับภาวะถดถอย

– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลง 1.74 ดอลลาร์ หรือ 2.1% ปิดที่ 79.49 ดอลลาร์/บาร์เรล ในรอบสัปดาห์น้ี สัญญาน้ำมันดิบWTI ปรับตัวขึ้นเกือบ 1% ถูกกดดันจากความวิตกเกี่ยวกับแนวโน้มความต้องการใช้น้ำมัน หลังจากที่การคุมเข้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่างๆ ได้เพิ่มความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย

– สหรัฐเปิดเผย PCE พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 4.9%YoY ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบ รายปี และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 4.7% จากระดับ 4.7% ในเดือนก.ค. และเมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PCE พื้นฐานเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนส.ค. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.5% หลังจากทรงตัวในเดือนก.ค.

– ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ได้ลงนามในกฤษฎีกาเพื่อรับรองความเป็นอิสระของแคว้นซาปอ ริซเซียและแคว้นเคอร์ซอน ซึ่งเป็นสองแคว้นทางตอนใต้ของยูเครนทีี่รัสเซียสามารถยึดครองได้เป็นบางส่วน

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีในวันน้ียังแกว่งตัวผันผวนระหว่างวัน โดยถูกกดดันหลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อที่สูงกว่าคาด ขณะที่ตลาดหุ้นจีนปิดวันหยุดยาว ส่งผลให้ Fund Flow นักลงทุนต่างชาติอาจเบาบางลง คาดกรอบดัชนีในวันน้ีที่  1,580- 1,600 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • ผู้ป่วยต่างชาติเพิ่มขึ้น : BH BDMS D
  • หุ้นซ่อมแซมหลังน้ำท่วม : GLOBAL DOHOME HMPRO TOA COTTO DCC TASCO
  • ศบค. มีมติยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน : ERW CENTEL VRANDA ASAP SPA
  • ตัวเลขส่งออกเดือน ส.ค. เติบโต : BRR KSL TFG GFPT ASIAN JUBILE

หุ้นรายงานพิเศษ

24CS (mai / Property & Construction) ราคา IPO 3.40 บาท คิดเป็น Trailing PE = 48.57x

  • บริษัท ทเวนตี้ โฟร์ คอน แอนด์ ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) หรือ 24CS เป็นผู้นำเข้าและตัวแทนจัดจำหน่ายอุปกรณ์ประเภทปรับอากาศและระบายอากาศ แบรนด์ชั้นนำมาตรฐานสากลยี่ห้อ TROX, TRANE, AAF, KRUGER และ HONEYWELL เป็นต้น นอกจากนี้บริษัทยังเป็นผู้ให้บริการรับเหมาติดต้ังระบบวิศวกรรมประกอบอาคาร และงานรับเหมาก่อสร้างเพื่อสามารถให้การบริการแก่ลูกค้าได้อย่างครบวงจรมากขึ้น
  • ช่วงปี 62-64 มีรายได้ 368 ลบ. 402 ลบ. และ 642 ลบ. ตามลำดับ เติบโตเฉลี่ย CAGR 32% โดยเติบโตจากกลุ่มงานรับเหมาติดตั้งระบบวิศวกรรมประกอบอาคารและงานรับเหมาก่อสร้าง งานประเภทอื่นๆ ที่เก่ียวข้อง เนื่องจากชนะการประมูลงานขนาดใหญ่หลายโครงการ ขณะที่ %GPM อยู่ที่ระดับ 17.6%, 11.7% และ 12.1% ตามลำดับ โดย %GPM ปรับตัวลดลงในปี 63- 64 จากขายอุปกรณ์ให้กับกลุ่มโรงงาน ซึ่งมีมูลค่าการสั่งซื้อขนาดใหญ่ จึงให้ส่วนลดราคาขายแก่ลูกค้าดังกล่าว ส่งผลให้ช่วงปี 62-64 มีกำไรสุทธิ 33 ลบ. 7 ลบ. และ 19 ลบ. ตามลำดับ ขณะที่ช่วง 1H65 บริษัทมีรายได้และกำไรสุทธิ 406 ลบ. +306%YoY และ 12 ลบ. +434%YoY เติบโตจากท้ังกลุ่มงานก่อสร้างและขายสินค้า ตามสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายลง
  • ราคา IPO 3.40 บาท คิดเป็น Trailing PE = 48.57x (Peer : FLOYD = 53.8x, PROS = 22x) จำนวน IPO 130 ล้านหุ้น มูลค่ารวม 442 ลบ. มีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจปกติของบริษัท

หุ้นมีข่าว

(+) AAV (Bloomberg Consensus 2.58 บาท) เปิดบินเส้นทางระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย รับ “ไฮซีซัน” ปลื้มเส้นทางบินตรงญี่ปุ่นได้รับการตอบรับดี เตรียมเปิดเส้นทางบินตรงเนปาล, บังกลาเทศ ลั่นสิ้นปีใช้เครื่องบินท้ังสิ้น 43 ลำ จากทั้งหมด 53 ลำ นักวิเคราะห์ฟันธงนักท่องเที่ยวฟื้นตัวโดดเด่นไตรมาส 4 หลายประเทศผ่อนคลาย จับตาจีนให้ประชาชนเดินทางท่องเที่ยวก่อนปีใหม่ (ที่มา ทันหุ้น)

(+) ASIAN (Bloomberg Consensus 21.15 บาท) มองผลงานไตรมาส 3/2565 แจ่ม ชูอาหารสัตว์เลี้ยงปั๊มยอดเนื้อหอมลูกค้าต่างชาติเรียงคิวยื่นออเดอร์ OEM ใหม่เพียบ กำลังผลิตส่วนขยายหนุนด้านธุรกิจทูน่าดีมานด์ยังดี ยิ้มรับบาทอ่อนส่งอานิสงส์บวก สัดส่วนส่งออกคิดเป็นกว่า 80% ของรายได้ มั่นใจยอดขายปี 65 เข้าเป้า 1.12 หมื่นล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

(+) FORTH (Bloomberg consensus 72.00 บาท) งานประมูลเพียบ เดินหน้าลุย 9 พันล้านบาท ปีนี้ ยังคงเป้ารายได้โต 10-15% แย้มผลงานไตรมาส 3/2565 ดีกว่าไตรมาส 2/2565 พร้อมลุยติดตั้งที่ชาร์จอีวี ขยายตู้เต่าบินปีน้ี ลุ้น 6 พันตู้ เตรียมนำเต่าบินลุยต่างประเทศต่อยอด (ที่มา ทันหุ้น)

(+) CEYE (ราคาเหมาะสม 7.12 บาท) แย้มดีลลงทุนต่อยอดธุรกิจโฆษณาต้ังแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำใกล้จบ คาดชัดเจนปลายปีน้ี ปูทางสร้างโอกาสทางธุรกิจเพิ่ม พร้อมดันรายได้ปี 2566 โต 30% จากปกติโต 10-20% ด้านแม่ทัพใหญ่ “สุวรรณี สุวรรณแสงโรจน์” เล็งสยายปีกต่างแดน เวียดนาม สิงคโปร์ จับตาโค้งท้ายพีค เม็ดเงินโฆษณาสะพัด (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • 26-29 ต.ค. ไทยเป็นเจ้าภาพการประชมุประจำปี รัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 30

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 3 ต.ค. ญี่ปุ่น เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นของกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ของญี่ปุ่น (ทังกัน) ประจำไตรมาส 3/2565
    • อียู รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนก.ย.จากเอสแอนด์พีโกลบอล
    • สหรัฐ รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนก.ย.จากเอสแอนด์พีโกลบอล ดัชนีภาคการผลิตเดือน ก.ย.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือน ส.ค.
  • 4 ต.ค.อียู รายงานดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน ส.ค.
    • สหรัฐ รายงานตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือน ส.ค. ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนส.ค.
  • 5 ต.ค. อียู รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนก.ย.จากเอสแอนด์พีโกลบอล
    • สหรัฐ รายงานตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือน ก.ย.จาก ADP ยอดนำเข้า ยอดส่งออก และดุลการค้าเดือนส.ค.
    • ประชุมโอเปกพลัส
- Advertisement -