สรุปภาวะตลาด

วันอังคารที่ผ่านมา ดัชนีรีบาวด์ขึ้นแข็งแกร่ง หลังตลาดคลายความกังวลแนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของเฟด สะท้อนได้จากผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐอ่อนตัวลงระดับ 3.56% โดยสอดคล้องกับตลาดในภูมิภาคที่ปรับตัวขึ้นราว 1-2% ขณะที่แรงซื้อกลับมาจากนักลงทุนรายย่อยราว 2,060 ล้านบาท โดยมีแรงซื้อจากหุ้นใหญ่ในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ท่องเท่ียว และพลังงาน ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,578.00 จุด +19.95 จุด +1.28% มูลค่าการซื้อขาย 64,005 ลบ. ต่างชาติ -1,313.93 ลบ. TFEX -13,744 สัญญา ตราสารหน้ี -96.27 ลบ.

ปัจจัยบวก +

+ ดัชนีดาวโจนส์ปิดพุ่งขึ้น 825.43 จุด หรือ +2.80% ขณะที่ดัชนี S&P500 ทาสถิติพุ่งขึ้นในวันเดียวที่แข็งแกร่งที่สุดในรอบ 2 ปี เนื่องจากนักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ นอกจากน้ี การที่ธนาคารกลางออสเตรเลียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ยังทำให้นักลงทุนคาดหวังว่าเฟดจะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเช่นกัน

+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 2.89 ดอลลาร์ หรือ 3.5% ปิดที่ 86.52 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับต้ังแต่วันที่ 14 ก.ย. 2565 โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่ากลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและพันธมิตร หรือโอเปกพลัส จะปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันครั้งใหญ่ในการประชุมวันนี้ นอกจากนี้ การอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ยังเป็นปัจจัยหนุนแรงซื้อในตลาดน้ำมัน

+ สำนักงานสถิติของกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยผลสำรวจการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน พบว่าตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงานลดลง 1.1 ล้านตำแหน่ง สู่ระดับ 10.1 ล้านตำแหน่งในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับต้ังแต่เดือน มิ.ย. 2564 และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 11.1 ล้านตำแหน่ง

+ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่านักลงทุนให้น้ำหนัก 58.5% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ระดับ 3.75-4.00% ในการประชุมวันที่ 1-2 พ.ย. หลังจากที่ก่อนหน้านี้ให้น้ำหนักสูงถึง 68.1%

+ ธปท. เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปี 65-66 มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง จากอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัว และภาคการท่องเที่ยว โดยยืนยันเสถียรภาพของไทยอยู่ในระดับแข็งแกร่ง ทุนสำรองเมื่อเทียบกับต่างประเทศอยู่ในระดับสูง

ปัจจัยลบ –

– เอสแอนด์พี โกลบอล เปิดเผยในวันน้ีว่า กิจกรรมของภาคโรงงานในเกาหลีใต้หดตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนท่ี 3 ในเดือนก.ย. ซึ่งนับเป็นอัตราการหดตัวลงรุนแรงที่สุดในรอบกว่า 2 ปี ท่ามกลางอุปสงค์ทั่วโลกที่อ่อนแอ

– เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธข้ามภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 5 ปี ซึ่งเกิดขึ้นเพียงไม่ก่ีวัน หลังจากที่ยิงขีปนาวุธลงสู่ทะเลญี่ปุ่น แม้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนานาชาติก็ตาม

– สนพ. เปิดเผยถึงสถานการณ์การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากการใช้พลังงาน 6 เดือนแรกของปีน้ี พบว่าเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ของภาครัฐ

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีในวันน้ีมีโอกาสปรับตัวขึ้นตามทิศทางตลาดโลก หลังจากนักลงทุนคลายความกังวลเก่ียวกับการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ประกอบกับราคาน้ำมันดิบที่ดีดตัวขึ้นต่อเนื่อง หนุนหุ้นกลุ่มพลังงาน คาดกรอบดัชนีในวันนี้ที่  1,570-1590 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • หุ้นซ่อมแซมหลังน้ำท่วม : GLOBAL DOHOME HMPRO TOA COTTO DCC TASCO
  • ศบค. มีมติยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน : ERW CENTEL VRANDA ASAP SPA
  • ตัวเลขส่งออกเดือน ส.ค. เติบโต : BRR KSL TFG GFPT ASIAN JUBILE
  • หุ้นเด่น IAA : ADVANC AOT BBL KBANK

หุ้นรายงานพิเศษ

SECURE (Bloomberg Consensus – บาท) คาดผลประกอบการ 2H22 ฟื้นตัว

  • รายได้รวม 2Q22 อยู่ที่ 209.65 ลบ. เพิ่มขึ้น +2.27%YoY และกำไรสุทธิเท่ากับ 13.97 ลบ. ลดลง -24.55%YoY สาเหตุหลักมาจากสภาวะชิปขาดตลาด ซึ่งเริ่มรุนแรงต้ังแต่ปี 2020 ทำให้ทาง Vendors สามารถส่งมอบสินค้าประเภทฮาร์ดแวร์ให้กับบริษัทได้ช้าลง จากปัจจัยน้ีทำให้ทางบริษัทมุ่งเน้นในการขายสินค้าประเภทซอฟต์แวร์มากกว่าฮาร์ดแวร์ ในช่วง 2Q22 ส่งผลให้รายได้รวมเพิ่มขึ้นในด้านของอัตรากำไรขั้นต้น 2Q22 อยู่ที่ระดับ17.9% ลดลง จาก 20.80% ใน 2Q21 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเงินบาทที่อ่อนค่า ส่งผลให้ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น ขณะที่ได้ Lock ราคาขายกับทางลูกค้าไว้แล้ว ทำให้กำไรขั้นต้นลดลง
  • ผู้บริหารคาดการรายได้ปี 2022 ไว้ที่ประมาณ 900 ลบ. ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่ฝั่งของซอฟต์แวร์มากกว่าฮาร์ดแวร์ เนื่องด้วยสภาวะตลาดที่มีการขาดแคลนชิป และจะได้รับรู้รายได้จาก Backlog ของทางฮาร์ดแวร์ได้ในช่วงต้นปีหน้าเป็นต้นไป นอกเหนือจากน้ี การร่วมลงทุนโดยบริษัทจัดตั้ง Joint Venture กับ บริษัท Datawow (บริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งเช่ียวชาญด้านพัฒนาซอฟต์แวร์) ในนามบริษัท nDataThoth ผู้ให้บริการและพัฒนาซอฟต์แวร์เก่ียวกับ PDPA, cybersecurity and security solutions ซึ่ง Secure ถือหุ้น 55% และ Datawow ถือหุ้น 45% และคาดว่าจะสร้างกำไรเพิ่มขึ้นได้ 5%-10% จากกำไรขั้นต้น
  • ความเห็น : คาดการณ์กำไร 2H22 จะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการท่ีมีมากขึ้นด้านซอฟต์แวร์และการ resubcribes ของลูกค้าที่หมดสัญญาและ Backlog ของทางฝั่งฮาร์ดแวร์ที่จะเร่ิมรับรู้รายได้ที่เพิ่มขึ้นในช่วง 2H22 รวมไปถึงการทำ Forward contract เพื่อป้องกันความเสี่ยงสำหรับอัตราการแลกเปลี่ยนจะช่วยให้อัตรากำไรขั้นต้นดีขึ้น

หุ้นมีข่าว

(+) BCH (Bloomberg Consensus 24.00 บาท) รับคนไข้ใน-นอกประเทศกลับมารักษาผู้ป่วยเรื้อรังกลับมาปกติ ศูนย์การแพทย์เปิดให้บริการเพิ่ม คนไข้ประกันสังคมทะลุ 1 ล้านราย รับปีนี้รายได้ทะลุเป้าลุ้นแตะ 1.9 หมื่นล้านบาท ชี้เงินเฟ้อขึ้นค่ารักษาได้ เล็งเปิดโรงพยาบาลในสปป.ลาว เพิ่ม (ที่มา ทันหุ้น)

(+) JMART (Bloomberg Consensus 65.00 บาท) ซุ่มดีลเข้าลงทุนใหม่อีกราว 3-4 ดีล คาดชัดเจนบางส่วนในปีนี้ เล็งทุ่มงบราว 2-3 หมื่นล้านบาท อัพไลน์ใหม่-เสริมแกร่งธุรกิจเดิม ปี 2566 วางผลงานโตมากกว่า 50% จากปีน้ี อานิสงส์แรงหนุนธุรกิจใหม่ แถมพลิกโฉมธุรกิจด้วย “ใจ” สร้างความร่วมมือ-เปลี่ยนภาพลักษณ์สู่ “โฮลดิ้งส์” เป้ามาร์เก็ตแคป 5 แสนล้านบาท ปี 2567 (ที่มา ทันหุ้น)

(+) WICE (Bloomberg consensus 15.60 บาท) ชูวอลุ่มขนส่งข้ามแดนเพิ่มขึ้น 30% เทียบจากครึ่งปีแรก สินค้ามาร์จิ้นสูงหนุน แถมจีนเปิดด่านชายแดนขนส่งได้ตามปกติ ด้านการขนส่งทางอากาศ-ทะเล วอลุ่มยังทรงตัว หันเน้นบริหารต้นทุนเพิ่มอัตราการทำกำไร มั่นใจรายได้เข้าเป้า 9,000 ล้านบาท โต 20% ตามเป้า (ที่มา ทันหุ้น)

(+) SISB (Bloomberg consensus 18.25 บาท) อ้าแขนรับนักเรียนจีนเพิ่มในปีการศึกษาหน้า 2566-2567 ส่วนทิศทางหลังโควิด-19 คลี่คลายต้ังแต่ช่วงไตรมาสที่ 3/2565 หนุนจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น 10% เทียบจากไตรมาสที่ 2/2565 ที่ 2,731 คน และปีนี้ไม่มีการลดค่าเทอมเหมือนปีการศึกษาแรก มั่นใจดันรายได้ปีน้ีโตมากกว่า 20% จากปี 2564 ที่มีรายได้ 1,075.18 ล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • 5 ต.ค. กระทรวงพาณิชย์แถลงดัชนีเศรษฐกิจการค้า
  • 7 ต.ค. ประชุมคณะกรรมการร่วม 3 สถาบัน ภาคเอกชน (กกร.)
  • 12 ต.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ฉบับย่อ
    • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่รายงานนโยบายการเงิน
  • 26-29 ต.ค. ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมประจำปี รัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 30
  • 27-29 ต.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดชงาน BOT Digital Finance Conference 2022
  • 28 ต.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 5 ต.ค. ประชุมโอเปกพลัส
    • อียู รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนก.ย.
    • สหรัฐ รายงานตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือน ก.ย. ยอดนำเข้า ยอดส่งออก และดุลการค้าเดือน ส.ค.
  • 6 ต.ค. อียู รายงานยอดค้าปลีกเดือนส.ค.
    • สหรัฐ รายงานจํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
  • 7 ต.ค. ญี่ปุ่นรายงานการใช้จ่ายภาคครัวเรือนเดือน ส.ค. และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนส.ค.
    • จีน รายงานทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเดือน ก.ย.
    • สหรัฐรายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ก.ย. และสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนส.ค.
  • 1-2 พ.ย. กําหนดประชุมธนาคารกลางสหรัฐ

* จับตากระทรวงพาณิชย์แถลงดัชนีเศรษฐกิจการค้า การประชุมโอเปคพลัสพิจารณานโยบายการผลิตน้ำมัน อียูรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือน ก.ย.สหรัฐ รายงานตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือน ก.ย. ยอดนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าเดือนส.ค.

- Advertisement -