สรุปภาวะตลาด

วันจันทร์ที่ผ่านมา ดัชนีเปิดลงในแดนลบ เป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นต่างประเทศ เนื่องจากวันศุกร์ที่ผ่านมาสหรัฐรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด ทำให้ตลาดกังวลว่าเฟดจะเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ย แรงขายมีมากในหุ้นกลุ่มการเงิน พลังงาน และธนาคาร ส่วนแรงซื้อเข้ามาในหุ้นค้าปลีก นำโดย CPALL MAKRO ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,570.57 จุด -9.09 จุด -0.58% มูลค่าการซื้อขาย 53,324 ลบ.ต่างชาติ -3,487.78 ลบ. TFEX -22,233 สัญญา ตราสารหน้ี -2,182.26 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานโดยอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งข่าวว่า ซาอุดีอารามโค บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของ ซาอุดีอาระเบียได้แจ้งต่อลูกค้าอย่างน้อย 5 รายในเอเชียเหนือว่า ลูกค้าจะได้รับน้ำมันดิบในปริมาณที่มีการทำ สัญญากันเอาไว้ในเดือนพ.ย.นี้

+ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า การประชุม ร่วมกับ ส.อ.ท. ติดตามผลการเร่งขยายตลาดสินค้าไทยในซาอุดีอาระเบีย  ตั้งเป้าผลักดันการค้าระหว่างกันให้ได้ 1 หมื่นล้านบาท ภายใน 1 ปี นอกจากนี้ ยังมีการเตรียมจัดคลินิกส่งเสริมการส่งออก

+ BOI เผยการจัดงาน Thailand-Korea Economic Cooperation Forum 2022 ร่วมกับสำนักงานส่งเสริม การค้าและการลงทุนของรัฐบาลเกาหลีใต้ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก มีนักธุรกิจเกาหลีและไทยให้ความสนใจ  ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกลุ่มอุตสาหกรรม สมาร์ทซิตี้ อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ไฟฟ้า และพลังงานอัจฉริยะ เป็นต้น

ปัจจัยลบ –

– ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 93.91 จุด -0.32% ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิดที่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด และจากการที่รัฐบาลสหรัฐออกมาตรการควบคุมการส่งออกชิปให้กับจีน

– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 1.51 ดอลลาร์ -1.6% ปิดที่ 91.13 ดอลลาร์/บาร์เรล ถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน รวมทั้งเศรษฐกิจโลกที่เริ่มส่งสัญญาณถดถอย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน

– รัสเซียยิงขีปนาวุธได้โจมตีเมืองต่างๆ ทั่วประเทศยูเครนในช่วง เช้าวันจันทร์ (10 ต.ค.) ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 12 ราย และบาดเจ็บอีกจํานวนมาก

– หุ้นบริษัทชิปเซมิคอนดักเตอร์ของจีนปรับตัวลดลงถ้วนหน้า โดยถูกกดดันจากกรณีที่สหรัฐออกมาตรการจำกัดอุตสาหกรรมการผลิตชิปจีนรอบล่าสุด เพื่อชะลอความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และทหารของจีน

– ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย กล่าวโทษยูเครนว่าเป็นผู้ก่อเหตุโจมตีสะพานเคิร์ชในไครเมียสะท้อนให้เห็นว่ากองทัพรัสเซียกำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก นับตั้งแต่เปิดฉากทำสงครามกับยูเครนขึ้นเมื่อ 8 เดือนที่แล้ว

– IMF และ ประธานธนาคารโลก กล่าวเตือนในว่า เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเผชิญภาวะถดถอยในปีหน้า ขณะที่เงินเฟ้อยังคงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ หลังจากที่รัสเซียส่งกำลังทหารโจมตียูเครนในเดือนก.พ.

– สศช. เปิดเผยว่าเริ่มเห็นสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจ โลกที่ชัดเจนแล้ว ส่วนจะเกิดเศรษฐกิจโลกถดถอยหรือไม่นั่นต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีในวันน้ีแกว่งตัวผันผวนระหว่างวัน โดยมีแรงกดดันจากการที่รัฐบาลสหรัฐออกมาตรการควบคุมการส่งออกชิปให้กับจีน ขณะที่นักลงทุนจับตาการตัวเลข CPI เดือนก.ย.ของสหรัฐในวันพฤหัสบดีนี้ คาดกรอบดัชนีในวันนี้ที่ 1,560-1580 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • หุ้นซ่อมแซมหลังน้ำท่วม : GLOBAL DOHOME HMPRO TOA DPAINT COTTO DCC TASCO
  • ศบค. มีมติยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน : ERW CENTEL VRANDA ASAP SPA
  • ตัวเลขส่งออกเดือน ส.ค. เติบโต : BRR KSL TFG GFPT ASIAN JUBILE
  • หุ้นเด่น IAA : ADVANC AOT BBL KBANK

หุ้นรายงานพิเศษ

PTTEP (Bloomberg Consensus 180) คาดกำไร 3Q65 อยู่ที่ 1.98 หมื่นลบ. +108%YoY แต่ -4%QoQ

  • คาดกำไร 3Q65 อยู่ที่ 1.98 หมื่นลบ. +108%YoY แต่ -4%QoQ โดยปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น 11 KBD สู่ 476 KBD จากแรงหนุนของโครงการในมาเลเซียที่กลับมาดำเนินการผลิต จากที่หยุดซ่อมบำรุงไปใน 2Q65 ขณะที่ราคาขายเฉลี่ยอ่อนตัวลงจาก 55.6 $/bbl สู่ 53.5-54.5$/bbl เนื่องจากราคาน้ำมันที่อ่อนตัวลงจาก 105-107 $/bbl สู่ 97-99$/bbl ด้านต้นทุนการผลิตปรับตัวขึ้นจาก 28.8$/bbl สู่ 29.5-30.5$/bbl ตามค่าใช้จ่ายดำเนินการที่ปรับตัวขึ้น และค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงโครงการซอติกา รวมถึงค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่ายในออสเตรเลีย นอกจากนี้มีค่าใช้จ่ายจากการป้องกันความเสี่ยงและด้อยค่าโครงการประเทศบราซิลรวม 5.0 5.2 พันลบ.
  • คาด 4Q65 ผลประกอบการมีโอกาสเติบโตตามกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นสู่ 478-483 KBD เนื่องจากโครงการเอราวัณ บงกช และแอลจีเรียที่รับรู้รายได้เต็มไตรมาส ขณะที่คาดว่าราคาจำหน่ายก๊าซธรรมชาติปรับตัวขึ้นตามราคาน้ำมันช่วยหนุนราคาขายเฉลี่ยให้ปรับตัวขึ้น
  • ความเห็น เรามีมุมมองบวกต่อราคาน้ำมัน เนื่องจาก 4Q65 ทางยุโรปเข้าสู่ฤดูหนาวทำให้มีความต้องการใช้น้ำมันเพื่อให้ความอบอุ่นและเป็นปัจจัยหนุนต่อราคาน้ำมัน อีกทั้งปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นหนุนผลประกอบการเพิ่มเติม เราจึงแนะนำ “ซื้อ”

หุ้นมีข่าว

(+) SABUY (Bloomberg Consensus 35.00 บาท) บอร์ดไฟเขียว เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุน “เพย์โพสต์ เซอร์วิส” คาดแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายนนี้ พร้อมซื้อสัญญาแฟรนไชส์ธุรกิจสะดวกส่ง คาดแล้วเสร็จไตรมาส 1/2566 เสริมแกร่งรายได้-กeไรเพิ่มสูงขึ้น และขยายฐานธุรกิจเพิ่ม (ที่มา ทันหุ้น)

(+) NER (Bloomberg Consensus 9.75 บาท) ขึ้นป้ายติดหุ้นยั่งยืน THSI บิ๊ก NER เผยโอกาสดึงนักลงทุนสถาบันใน-นอก เข้าลงทุนเพิ่ม ชูยานยนต์ฟื้นตัวหลังจีนจะคลายล็อกดาวน์ ขณะท่ีราคายางแนวโน้มสูงฤดูฝนซัพพลายลด แย้มไตรมาส 3/2565 ผลงานดี ทั้งปีตามเป้า โบรกมองราคาหุ้นปัจจุบันน่าสน (ที่มา ทันหุ้น)

(+) CEYE (Bloomberg consensus – บาท) “ตาชานิ” หรือ CEYE ส่งซิกผลงานไตรมาส 3/65 โตขานรับเศรษฐกิจฟื้น-โควิดคลี่คลาย ลูกค้าแบรนด์ต่างๆ กลับมาใช้จ่ายด้านโฆษณามากขึ้น หนุนออเดอร์ทะลัก พร้อมคาดไตรมาส 4/65 โตต่อเนื่อง เล็งปิดดีลร่วมทุน หรือซื้อกิจการ 1 ราย มั่นใจรายได้ปีนี้ตามนัดโต 20% (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) SC (Bloomberg consensus 4.45 บาท) “เอสซี” ส่งบริษัทย่อยลงทุนซื้อกิจการ “FJBKK” 100% เพื่อรุกธุรกิจโรงแรม ขณะที่ 9 เดือนแรกโชว์ยอดขาย 17,182 ล้านบาท โต 7% หรือคิดเป็น 78% ของเป้าปีน้ีที่ต้ังไว้ 22,000 ล้านบาท เล็งเปิด 11 โครงการ มูลค่ารวม 20,000 ล้านบาท จ่อโอนคอนโดมิเนียม 4 แห่ง มูลค่ารวม 12,800 ล้านบาท ในไตรมาส 4/65 (ที่มา ข่าวหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • 12 ต.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ฉบับย่อ
  • 12 – 21 ต.ค. หุ้นกลุ่มธนาคารส่งงบการเงินงวด 3Q65
  • 19-21 ต.ค. รมว.คลัง เป็นประธานการประชุมและเจ้าภาพจัดประชุมรมว.คลังเอเปค
  • 25 ต.ค. กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้า
  • 26-29 ต.ค. ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 30
  • 27-29 ต.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดงาน BOT Digital Finance Conference 2022
  • 28 ต.ค. ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
  • 30 พ.ย. กำหนดประชุมกนง.รอบหน้า

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 11 ต.ค. สหรัฐรายงานดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจ ขนาดย่อมเดือนก.ย.
  • 12 ต.ค. สหรัฐ รายงานดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.ย. คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ(FOMC) (เช้าวันที่ 13 ต.ค.) เปิดเผยรายงานการประชุม วันที่ 20-21 ก.ย.
  • 13 ต.ค. สหรัฐ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.ย. สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
  • 14 ต.ค. จีน รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.ย. ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.ย.
    • อียู รายงานดุลการค้าเดือนส.ค.
    • สหรัฐ รายงานยอดค้าปลีกเดือนก.ย.
  • 1-2 พ.ย. กำหนดประชุมธนาคารกลางสหรัฐรอบหน้า

 

 

- Advertisement -