บล.กรุงศรีฯ:

ถึงแม้ว่าเงินเฟ้อของสหรัฐฯ จะสูงค้างนานเกินคาด แต่เรายังคิดว่าเงินเฟ้อน่าจะกลับลงมาในอีกไม่นาน โดยเงินเฟ้อที่ลดลงในช่วงแรกจะมาจากแรงกดดันที่ลดลงของสายโซ่อุปทาน (flexible CPI) และราคาน้ำมันเบนซินที่ลดลง สำหรับการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือนกันยายน (กำหนดเผยแพร่ในวันที่ 13 ตุลาคม) เราแนะนำให้นักลงทุนเน้นไปที่ตัวเลข mom เพราะตัวเลข yoy จะถูกกระทบอย่างหนักจากฐานที่ต่ำในปีที่แล้ว เราไม่คิดว่าการรายงานเงินเฟ้อในคราวนี้จะได้รับผลกระทบจากการที่ Fed ขึ้นดอกเบี้ย 75bps ในการประชุมนัดหน้า แต่ตัวเลขเงินเฟ้อที่แข็งแกร่งเกินคาดเหมือนกับเมื่อเดือนสิงหาคมจะทำให้ตลาดกลับมาผันผวนอีกครั้ง โดยจะทำให้เกิดแรงเทขายพันธบัตรเพิ่มขึ้น และทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งขึ้น ในขณะที่ฉุดให้หุ้นตกหนัก

นักลงทุนคาดหวังอะไรจากการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อ?

ในขณะที่เขียนบทวิเคราะห์ฉบับนี้ consensus แสดงว่านักลงทุนคาดว่าเงินเฟ้อจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยจากเมื่อเดือนที่แล้ว  โดยคาดว่าเงินเฟ้อทั่วไป (Headline inflation) จะลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 8.1% yoy (จาก 8.3%) แต่จะยังเพิ่มขึ้น 0.2% mom (จาก 0.1%) ในขณะเดียวกัน คาดว่าเงินเฟ้อพื้นฐาน (core inflation) จะลดลงเล็กน้อยเหลือ 0.5% mom (จาก 0.6%) แต่จะเร่งตัวขึ้นเป็น 6.5% yoy (จาก 6.3%) ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานที่ต่ำใน
ปีที่แล้ว

ถ้าหากเงินเฟ้อยังสูงค้างต่อไปจะเป็นยังไง

ในการพยากรณ์วัฏจักรเงินเฟ้อรอบปัจจุบันยังมีความไม่แน่นอนที่อาจเกิดความผิดพลาดได้สูง เพราะปัจจัยสำคัญยังไม่ได้เกิดรูปแบบที่จะทำให้เงินเฟ้อลดลง ซึ่งทำให้เราเห็นภาพที่สับสนของประมาณการเงินเฟ้อ ในขณะที่เราคาดว่าเงินเฟ้อในส่วนที่ยืดหยุ่น (flexible inflation) น่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่เงินเฟ้อส่วนที่ยังไม่ลดลงง่าย ๆ (sticky part of inflation) ซึ่งถูกขับเคลื่อนโดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง  ยังคงยืนระดับอย่างเหนียวแน่นอยู่ ซึ่งหมายความว่าช่วงเวลาที่เงินเฟ้อจะลดลงอาจจะเนิ่นช้าออกไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน หรือ ธันวาคมในปีนี้

- Advertisement -