บล.พาย: 

TTB: บมจ. ธนาคารทหารไทยธนชาต “เน้นคุณภาพการเติบโต”

คงคำแนะนำ “ซื้อ” ด้วยราคาเป้าหมายที่ 1.60 บาท กำไรไตรมาส 3/22 ออกมาแข็งแกร่งโดยโตขึ้น 58% YoY (+8% QoQ) สูงกว่าคาด 15% ทั้งนี้ เพื่อสะท้อนถึงผลงานที่ดีในไตรมาส 3/22 และประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น จึงคาดว่ากำไรสุทธิจะโต 25% YoY ในปี 2022 และ 14% ในปี 2023-24

การประชุมนักวิเคราะห์

  • ธนาคารจะได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น คาดอัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) จะขยายตัวมากยิ่งขึ้น
  • แม้มีโอกาสที่จะได้ประโยชน์จากการปรับเพิ่มดอกเบี้ย แต่ธนาคารยังกังวลว่าลูกค้าบางรายอาจประสบปัญหาในการชำระหนี้ ทางธนาคารจะชำระค่าธรรมเนียมกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ตามปกติที่ 46bps ในปี 2023 (23bps ในปี 2020-22) โดยจะปรับเพิ่มดอกเบี้ยเงินกู้ในไตรมาส 1/23 เพื่อชดเชยผลกระทบของต้นทุนดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
  • ด้วยคุณภาพสินเชื่อที่มั่นคงและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่เพียงพอ จึงคาดว่าค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญในปี 2022 จะต่ำกว่า 140bp ขณะที่ธนาคารให้แนวทางว่าค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญในปี 2022 จะอยู่ที่ 140-160bp
  • TTB ได้รับผลกระทบในวงแคบจากกฎเกณฑ์ใหม่เรื่องการกำหนดเพดานดอกเบี้ยสินเชื่อเช่าซื้อ เพราะทางธนาคารเน้นกลุ่มรถมือหนึ่งและไม่มีการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อจักรยานยนต์
  • ค่าธรรมเนียมประกันผ่านธนาคารและตราสารหนี้ที่สูงขึ้นอาจช่วยชดเชย ผลกระทบของค่าธรรมเนียมบางผลิตภัณฑ์ที่ถูกฉุดลงจากความผันผวนของตลาดทุน

ผลประกอบการไตรมาส 3/22

  • กำไรสุทธิไตรมาส 3/22 อยู่ที่ 3.7 พันล้านบาท โต 58% YoY (+8% QoQ) หนุนจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้น YoY และการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง YoY ในด้าน NIM เพิ่มขึ้นเล็กน้อย QoQ เป็น 2.9% จากอัตราผลตอบแทนสินเชื่อที่สูงขึ้น สำหรับอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ค่อนข้างทรงตัว QoQ ที่ 45.6%

ภาพรวมกำไรที่สดใส

  • ปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2022-24 ขึ้น 6%/3%/3% ตามลำดับ เพราะมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิไตรมาส 3/22 ที่ดีกว่าคาด และประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น
  • คาดกำไรสุทธิจะโตแข็งแกร่งที่ 25% YoY ในปี 2022 และ 14% YoY ในปี 2023-24 โดยจะมีแรงหนุนจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่สูงขึ้นและการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง

คงคําแนะนํา “ซื้อ” ราคาเป้าหมายที่ 1.60 บาท

  • คำแนะนำ “ซื้อ” สะท้อน 1) การเติบโตที่มั่นคงในอนาคต 2) คุณภาพสินเชื่อที่ยืดหยุ่นดี และ 3) มูลค่าหุ้นที่น่าดึงดูด
  • ราคาเป้าหมายคำนวณด้วยวิธี Gordon Growth Model (ROE 6.8%, อัตราการเติบโต 2%) อิง 0.7X PBV’23E หรือคิดเป็น -0.5SD ต่อค่าเฉลี่ย 5 ปี (2017-2021)

สรุปผลประกอบการไตรมาส 3/22

  • กำไรสุทธิไตรมาส 3/22 อยู่ที่ 3.7 พันล้านบาท (+58% YoY, +8% QoQ) ดีกว่าคาด 15% จากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่สูงกว่าคาด การเติบโตที่แข็งแกร่ง YoY เป็นผลจากรายได้ต่อเบี้ยสุทธิที่สูงขึ้นจากการเติบโตของสินเชื่อรายได้ค่าธรรมเนียมจากประกันผ่านธนาคารและพาณิชย์ที่ดีขึ้น บวกกับการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง แม้รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลง และค่าใช้จ่ายการดำเนินงานสูงขึ้น แต่กำไรยังโตขึ้น QoQ เพราะรายได้ต่อเบี้ยสุทธิที่สูงขึ้นจากการขยายตัวของ NIM
  • กำไรสุทธิสะสม 9 เดือน โตขึ้น 35% YoY จากการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง และกำไรจากเครื่องมือทางการเงินที่บันทึกตามมูลค่ายุติธรรมบนงบกำไรขาดทุนที่ปรับสูงขึ้น
  • NIM เพิ่มขึ้นเล็กน้อย QoQ เป็น 2.9% หนุนจากอัตราผลตอบแทนสินเชื่อที่สูงขึ้น ด้านอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ค่อนข้างทรงตัว QoQ ที่ 45.6%
  • สินเชื่อโตไม่มากที่ 0.1% QoQ เพราะสินเชื่อรายย่อยที่โตขึ้นถูกหักลบโดยสินเชื่อภาคธุรกิจที่อ่อนแอ (สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่และ SME) อัตราส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL ratio) เพิ่มขึ้นเล็กน้อย QoQ เป็น 2.7% อัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ สูงขึ้นเป็น 135% เพียงพอต่อความไม่แน่นอนในอนาคต

Revenue breakdown

รายได้ปี 2021 มาจาก 3 ธุรกิจหลักดังนี้

  • รายได้ดอกเบี้ยสุทธิคิดเป็นสัดส่วนรายได้ก้อนใหญ่สุดหรือราว 74% ของรายได้รวมในปี 2021 ปัจจัยที่จะหนุนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ คือ การเติบโตของสินเชื่อและอัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM)
  • รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิคิดเป็น 16% ของรายได้รวมปี 2021 ประกอบด้วยประกันผ่านธนาคาร กองทุนรวม และค่าธรรมเนียมด้านเครดิต
  • รายได้การดำเนินงานอื่นคิดเป็น 10% ของรายได้รวมปี 2021 ประกอบด้วยกำไรจากการลงทุนการเทรด และอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงรายได้เงินปันผล
- Advertisement -