บล.พาย: 

KBANK: บมจ. ธนาคารกสิกรไทย “เน้นการดูแลคุณภาพงบดุล”

คงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 180 บาท ทางธนาคารตั้งสำรองเพิ่ม และเน้นระบายภาระบนงบดุลลงสืบเนื่องจากความท้าทายด้านมหภาคในอนาคต ขณะที่เราปรับลดประมาณการอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิลงเป็น 10% ในปี 2022 แต่ปรับดีขึ้นเป็น 17% ในปี 2023 ส่วนกำไรสุทธิไตรมาส 3/22 ออกมาอยู่ที่ 1.05 หมื่นล้านบาท (+22% YoY, -2% QoQ)

การประชุมนักวิเคราะห์

  • การเติบโตของสินเชื่อปี 2022 จะต่ำกว่าแนวทางของธนาคารที่ 6% สืบเนื่องจากแผนระบายหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ออกเพื่อแบ่งเบาภาระงบลดลง ดังนั้นจึงคาดว่า NPL ratio จะต่ำกว่าแนวทางของธนาคารที่ 3.7% ทั้งนี้ แม้คุณภาพสินเชื่อปรับดีขึ้น แต่ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญจะยังปรับสูงขึ้น สืบเนื่องจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ
  • กลยุทธ์การปล่อยสินเชื่อเดิม คือ การมุ่งเน้นธุรกรรมมูลค่าขนาดเล็กผ่านการปล่อยสินเชื่อดิจิทัล เพราะช่วยกระตุ้นอัตรากำไรและความสามารถในการทำกำไรในอนาคตมากขึ้น แม้จะมีค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญสูงขึ้นก็ตาม
  • ในด้านผลิตภัณฑ์ประกัน คาดธนาคารจะเน้นประกันภัยกลุ่มและประกันสินเชื่อการค้ามากขึ้น เพราะจะช่วยลดค่าใช้จ่ายการรับประกันลง และส่งผลให้มีรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยมั่นคงมากขึ้นในปี 2023

ผลประกอบการไตรมาส 3/22

  • กำไรสุทธิไตรมาสไตรมาส 3/22 อยู่ที่ 1.05 หมื่นล้านบาท โต 22% YoY (-2% QoQ) ต่ำกว่าคาด 5% การเติบโตที่แข็งแกร่ง YoY ได้แรงหนุนจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่สูงขึ้นและการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง ส่วนกำไรที่ลดลง QoQ เป็นผลจากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลง

คาดกำไรโตดีขึ้นในปี 2023

  • ปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2022 ลง 3% จากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่ลดลง และการเติบโตของสินเชื่อที่ลดลง สรุปคาดว่ากำไรสุทธิจะโต 10%
  • แต่ปรับเพิ่มประมาณการปี 2023-24 ขึ้น 2% เพื่อสะท้อนถึงอัตราส่วนต่าง ดอกเบี้ย (NIM) ที่สูงขึ้นจากการปรับเพิ่มดอกเบี้ย คาดกำไรสุทธิโตขึ้น 17% ในปี 2023 และ 13% ในปี 2024

คงคำแนะนำ “ซื้อ” ด้วยราคาเป้าหมายใหม่ที่ 180.00 บาท

  • คงคำแนะนำ “ซื้อ” เพราะ 1) มีแนวโน้มการเติบโตที่มั่นคงจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ 2) สำรองที่พอรับมือกับ NPLs ใหม่ 3) upside จากการปรับเพิ่มดอกเบี้ย และ 4) มูลค่าหุ้นที่น่าดึงดูด
  • ปรับเพิ่มราคาเป้าหมายขึ้นจาก 174.00 บาท เป็น 180.00 บาท หลังจากปรับราคาเป้าหมายเป็นปี 2023 คำนวณด้วยวิธี Gordon Growth Model (ROE 9.5%, อัตราการเติบโต 2%) อิง 0.8x PBV’23E หรือ -0.5SD ต่อค่าเฉลี่ย 5 ปี (2017-21)

สรุปผลประกอบการไตรมาส 3/22

  • กำไรสุทธิไตรมาสไตรมาส 3/22 อยู่ที่ 1.05 หมื่นล้านบาท โต 22% YoY (-2% QoQ) ต่ำกว่าคาด 5% สืบเนื่องจากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่ต่ำคาด แต่แม้ว่ากำไรจากเครื่องมือทางการเงินที่บันทึกตามมูลค่ายุติธรรมบนงบกำไรขาดทุนจะปรับลดลงอย่างมาก แต่กำไรสุทธิยังโตขึ้นได้ 22% YoY จากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่สูงขึ้น และการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง ส่วนกำไรที่ลดลงเล็กน้อย 2% QoQ เป็นผลจากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่ลดลง
  • NIM โตแตะ 3.4% จากอัตราผลตอบแทนสินเชื่อที่สูงขึ้น อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้เพิ่มเล็กน้อยเป็น 43.7% จากค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่สูงขึ้น
  • สินเชื่อลดลง 1% QoQ เพราะเน้นดูแลลูกค้าเชิงรุก และการบริหารจัดการ NPLs ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • คุณภาพสินเชื่อปรับดีขึ้น เพราะ NPL โดยรวมปรับลดลงอย่างมีนัย 20.3% QoQ สืบเนื่องจากการขาย NPL และตัดบัญชี NPL เพื่อแบ่งเบาภาระบนงบดุลลง NPL ratio ลดลงเหลือ 3.1% ด้วยอัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่สูงขึ้นเป็น 149%

Revenue breakdown

รายได้ธนาคารมาจาก 3 แหล่งดังนี้

  • รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ คิดเป็น 73% ของรายได้รวมในปี 2021 และนับเป็นรายได้ก้อนใหญ่ที่สุดของธนาคาร ปัจจัยสนับสนุนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิคือการเติบโตของสินเชื่อและอัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM)
  • รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ คิดเป็น 22% ของรายได้รวมในปี 2021 ประกอบด้วยรายได้จากค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม ค่าธรรมเนียมการขายประกันผ่านธนาคาร และค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการสินทรัพย์
  • รายได้อื่นๆ คิดเป็น 6% ของรายได้รวมในปี 2021 ประกอบด้วยกำไรการลงทุน กำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินตามมูลค่ายุติธรรมที่บันทึกผ่านงบกำไรขาดทุน ค่าเบี้ยประกัน รายได้เงินปันผล และรายได้อื่นๆ
- Advertisement -