บล.พาย: 

ADVANC: บมจ. แอดวานซ์ อินไฟร์ เซอร์วิส “ADVANC อาจยังไม่ล้มเลิกดีล JASIF”

คงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายที่ 246 บาท (WACC: 8.7%, TG: 2%) ดีลกับ JASIF ไม่ได้ออกมาดั่งที่ ADVANC คิด แต่ถ้าหากดีลล่มก็จะส่งผลกระทบในวงแคบต่อบริษัท ทั้งนี้ คาดกำไรปกติไตรมาส 3/22 6.6 พันล้านบาท (-2.8% YoY, -0.4% QoQ) เพราะรายได้เฉลี่ยต่อเลขหมาย (ARPU) ที่อยู่ภายใต้แรงกดดัน และค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นต่างกลบยอดขาย iPhone 14 และจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นปานกลางไปหมด แต่ยังคงค่าบริการแพ็คเกจตามเดิมมาตั้งแต่ไตรมาส 2/22 ขณะที่ ARPU อาจผ่านจุดต่ำสุดแล้ว ด้วยการที่หุ้นมีส่วนลด 19% ต่อค่าเฉลี่ยกลุ่มโทรคมนาคมที่ 23.1xPF’23 ทำให้ราคาหุ้นที่ปรับลดลงมา 17% YTD เปิดโอกาสในการเข้าสะสมเพื่อรอรับอัตรา ผลตอบแทนเงินปันผลที่ 4.2%-4.6%

หากยอมตามคำขอของ JASIF จะทำให้บริษัทเสีย upside

  • ผู้ถือหน่วย JASIF มีมติอนุมัติวาระที่ 1.1 (ADVANC ซื้อหุ้น JASIF 19%) และวาระที่ 1.3 (AWN มีอำนาจคุมการเงินของ TTTBB) แต่ไม่อนุมัติวาระที่ 1.2 (ลดค่าชำระของ TTTBB ที่จ่ายให้ JASIF) ขณะที่คณะกรรมการของ ADVANC ต้องกลับไปพิจารณาใหม่ แต่ผู้บริหารเคยให้ความเห็นไว้ว่าถ้าไม่ได้รับการอนุมัติทั้ง 3 วาระก็อาจไม่สามารถรับดีลได้
  • เราคิดว่าบริษัทจะเสนอดีลใหม่ (เช่น จ่ายเงินสดมากขึ้น หรือปรับลดส่วนลดการชำระค่าเช่าลง) การที่ผู้ถือหน่วยอนุมัติวาระที่ 1.1 และ 1.3 แสดงให้เห็นว่าผู้ถือหน่วย JASIF ยอมรับแนวคิดให้ ADVANC เป็นผู้สนับสนุนกองทุน แต่ต้องเจอกันคนละครึ่งทาง
  • ก่อนหน้าที่เคยคาดไว้ว่า ADVANC อาจเห็น upside 8.5% ถ้าข้อเสนอเดิมผ่านอนุมัติหมด แต่ข้อเสนอใหม่อาจลด upside ที่อาจเกิดขึ้นลงได้

ADVANC พร้อมปะทะหากดีลล่ม

ถึงแม้ ดีลไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เราไม่คิดว่าบริษัทจะเผชิญกับ downside ที่มีนัยสำคัญอะไร เพราะ 1) ต้นทุนทดแทนการใช้งานใยแก้วนำแสง (OFC) ของ JASIF โดย TTTBB จำนวน 1.68 ล้านคอร์กิโลเมตรนั้น คิดเป็นมูลค่า 1.19 หมื่นล้านบาท และจะใช้เวลาไม่เกิน 2 ปีในการก่อสร้างเอง (อิงรายงานที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ (IFA) ที่เปิดเผยวันที่ 26 ก.ย.) และ 2) โครงสร้างพื้นฐานเดิมของบริษัททับซ้อนกับพื้นที่ครอบคลุมของ TTTBB อยู่ แล้ว 50% หมายความว่า ADVANC สามารถเข้าแข่งขันในพื้นที่คล้ายกันได้เลย

พรีวิวกำไรไตรมาส 3/22

  • คาดกำไรปกติไตรมาส 3/22 ที่ 6.6 พันล้านบาท (-28% YoY, -0.4% QoQ) ค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคที่สูงขึ้นและ ARPU ที่อยู่ภายใต้แรงกดดันต่างกลบยอดขาย iPhone 14 และจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นปานกลางไปหมด ทั้งนี้ กำไรสะสม 9 เดือนคิดเป็น 71% ของประมาณการปี 2022
  • คาดรายได้ไตรมาส 3/22 ที่ 4.7 พันล้านบาท (+10% YoY, +3% QoQ) การเติบโต YoY และ QoQ ได้แรงหนุนจากการเปิดตัว iPhone 14 ในเดือน ก.ย. 2022 (iPhone 13 เปิดตัวในไตรมาส 4/21) โดยทำการขายล็อกแรกไปหมดแล้ว และยังคงเล็งเห็นอุปสงค์ที่แข็งแกร่งที่เป็นคุณต่อทิศทางรายได้ไตรมาส 4/22
  • บริษัทอาจปิดไตรมาส 3/22 ด้วยจำนวนสมาชิกที่ 46 ล้านราย (+2.4 ล้านราย YoY, +5.4 แสนราย QoQ) หนุนจากนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการเติมเงิน และแพ็คเกจรายเดือนพ่วง iPhone 14 ที่น่าดึงดูด ในด้าน ARPU ยังทรงตัว QoQ ที่ 215 บาท (-4% YoY) เพราะสงครามราคายังเข้มข้นแต่ไม่ได้แย่ลง เพราะผู้ประกอบการต่างต้องการรักษาระดับกำไรเอาไว้ ตั้งแต่ไตรมาส 4/22 เป็นต้นไป บริษัทอาจเริ่มเห็น ARPU ที่ฟื้นตัวขึ้น เพราะยุติการให้บริการ 4G แบบรายเดือน และหันมาให้บริการ 5G กับลูกค้าใหม่อย่างเดียว (5G เอื้อให้ ARPU เพิ่มขึ้น 10%-15% เทียบกับ 4G)
  • เชื่อว่าอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ในไตรมาส 3/22 จะหดตัวลง -2.3ppts YoY เป็น 32.4% (-0.4ppts QoQ) เป็นผลจากส่วนแบ่ง iPhone 14 ที่สูงขึ้น แต่มีผลกระทบเชิง YoY มากกว่า เพราะค่าใช้จ่ายการดำเนินงานด้านเครือข่ายที่สูงขึ้น จากค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น 20% จากราว 4 บาท/ยูนิต เป็น 5 บาท/ยูนิต ทั้งนี้ ต้นทุนสาธารณูปโภคคิดเป็นสัดส่วนราว 20% ของค่าใช้จ่ายการดำเนินงานด้านเครือข่ายของ ADVANC ค่าไฟฟ้าดังกล่าวอาจทรงตัวระดับสูงไปตลอดปี 2023 และอาจฉุดกำไรลงราว 4%

Revenue breakdown

รายได้ของบริษัท มาจาก 3 ธุรกิจหลัก:

1. บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ คิดเป็น 65% ของรายได้ปี 2021 บริษัทมีผู้ใช้บริการทั้งหมด 44.1 ล้านรายทั่วประเทศ โดยมีผู้ใช้บริการที่ชำระล่วงหน้า (ระบบเติมเงิน) คิดเป็นสัดส่วน 74% ของผู้ใช้บริการทั้งหมด และส่วนที่เหลือเป็นผู้ใช้บริการแบบชำระภายหลัง (แบบระบบรายเดือน) นอกจากนี้ยังยอดขายของ SIM และอุปกรณ์มือถือซึ่งโดยปกติจะรวมอยู่กับบริการหรือเสนอให้กับลูกค้าแยกต่างหากมีสัดส่วน 20% ของรายได้ทั้งหมด

2. บริการอินเตอร์เน็ตความเร็ว (FBB) สูง คิดเป็น 5% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งบริษัทให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและบริการส่งสัญญาณอื่นๆ บนเครือข่ายใยแก้วนำแสงของบริษัท ในปัจจุบันบริษัทมีผู้ใช้บริการ 1.8 ล้านราย

3. ธุรกิจดิจิตอลเซอร์วิสเป็นส่วนที่เหลืออีกราว 11% ซึ่งแบ่งเป็นธุรกิจแพลตฟอร์มวิดีโอ บริการคลาวด์สำหรับธุรกิจ  บริการอินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (IoT) ดาต้าเซ็นเตอร์ และบริการเช่าอุปกรณ์อื่นๆ

- Advertisement -