บล.บัวหลวง:

PTTEP – ประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์

What’s new?

ประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมายืนยันมุมมองเชิงบวกของเราต่อแนวโน้มผลการดำเนินงานในระยะสั้นและการเติบโตในระยะยาวของบริษัท

Highlights:

  • ผลการดำเนินงาน 4Q22 มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง YoY หนุนโดยปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นและราคาขายเฉลี่ยที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตามต้นทุนต่อหน่วยที่สูงขึ้นอาจกดดันผลการดำเนินงานให้อ่อนตัวลง QoQ ทั้งนี้ปริมาณขายและราคาขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น QoQ จะช่วยบรรเทาผลกระทบจากต้นทุนที่สูงขึ้น
  • สำหรับโครงการ G1 (เอราวัณ) บริษัทคาดว่าปริมาณการผลิตก๊าซจะอยู่ที่ประมาณ 200-250 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วันในปี 2022 และเพิ่มขึ้นเป็น 400 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วันในช่วงกลางปี 2023 และคาดผลิตได้ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วันตามสัญญา PSC ในเดือน เม.ย. 2024
  • PTTEP ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มการผลิตก๊าซจากโครงการ G2 (บงกช), MTJDA, และอาทิตย์ ได้รวม 200 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน มาชดเชยปริมาณก๊าซที่ขาดไปจากโครงการ G1 (เอราวัณ) (ปัจจุบันผลิตเพิ่มได้ 120 ล้านลูกบาศก์-ฟุต/วัน)
  • สำหรับโครงการอื่นๆ ที่อยู่ระหว่างการลงทุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในมาเลเซียและ UAE ยังคงมีความคืบหน้าตามแผน ในขณะที่โครงการ LNG ในโมซัมบิค ปัจจุบัน TOTAL (ผู้ถือหุ้นหลัก) เตรียมที่จะกลับเข้าพื้นที่ในช่วงต้นปี 2023 ทั้งนี้ PTTEP ได้ตั้งสำรองค่าเผื่อการด้อยค่าสินทรัพย์ของโครงการดังกล่าวไปแล้วเมื่อ 4Q21 และจะมีการทบทวนอีกครั้งใน 4Q22
  • PTTEP มุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมายลด GHG emission ให้ได้ 30% ใน ปี 2030 และเป็น Net Zero ในปี 2050 ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการ Carbon Capture and Storage (CCS) ที่แหล่งอาทิตย์ และคาดว่าจะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2026 รวมทั้งการปลูกป่า (4,000 ไร่ในปัจจุบัน และตั้งเป้าหมาย 45,000 ไร่ใน 10 ปีข้างหน้า)

View From Fundamental:

การเติบโต YoY ของกำไรหลักที่แข็งแกร่งต่อเนื่องไปจนถึง 4Q22 และคาดการณ์ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจากการลดกำลังการผลิตจำนวนมากของกลุ่ม OPEC น่าจะหนุนให้ราคาหุ้น PTTEP ปรับตัวขึ้น มูลค่าหุ้นปัจจุบันยังคงน่าสนใจ โดยซื้อขายที่ PBV ณ สิ้นปี 2023 อยู่ที่ 1.4 เท่า (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวอยู่ 0.6 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) เราจึงคงคำแนะนำ “ซื้อ” (ราคาเป้าหมาย 200 บาท)

- Advertisement -