ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะสุนัข และแมว ล่าสุด “จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์” รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และสมาคมการค้าอาหารสัตว์เลี้ยงไทย ระบุว่า อุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยงถือ เป็นสินค้าดาวรุ่งของไทยที่ทำรายได้เข้าประเทศจากการส่งออกประมาณปีละ 65,000 ล้านบาท และ 9 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.ย.65) สามารถทำเงินให้ประเทศแล้ว 75,000 ล้านบาท มากกว่าช่วงที่ผ่านมาทั้งปี หรือ +34.4% ขยายตัว 37 เดือนต่อเนื่อง 3 ปีเต็ม
โดยไทยส่งออกสูงสุดเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากเยอรมนี และสหรัฐอเมริกา รองรับตลาดทั้งระดับกลาง และระดับบน เพราะอาหารสัตว์เลี้ยงที่ผลิตจากไทยมีคุณภาพ มาตรฐานปลอดภัย และระบบการผลิตที่สร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะ Functional food ที่สามารถส่งเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยงเฉพาะทาง เป็นพัฒนาการของอาหารสัตว์เลี้ยงไทยที่สนองตอบต่อความต้องการของตลาดโลก และผู้เลี้ยงสัตว์เลี้ยงทั่วโลก ที่รักสัตว์เลี้ยงเสมือนบุคคลในครอบครัวของตนเอง
บมจ.เอเชี่ยน อะไลอันซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล’ หรือ AAI ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยง และผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานชั้นนำของประเทศ เตรียมนำหุ้นเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นวันแรก 1 พ.ย.นี้ นับเป็นหุ้นไทยตัวแรกที่ดำเนินธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงที่เข้าเทรดใน SET เผยกระแสตอบรับจากนักลงทุนดีเยี่ยม หลังยอดจองซื้อหุ้น IPO ล้นหลาม เดินหน้าขยายกำลังผลิตและคลังสินค้าอัตโนมัติแห่งที่ 2 สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ตอกย้ำการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์เลี้ยงแบบเปียกรายใหญ่ของไทย เรามาดูมุมมอง ที่นักวิเคราะห์เขามองกันครับ
- ความน่าสนใจต่อการลงทุน
จากยอดการส่งออก บวกกับกระแสเลี้ยงสัตว์ที่เพิ่มขึ้น บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) ระบุว่า จะส่งผลให้ธุรกิจมีโอกาสเติบโตระยะยาว มั่นคง โดยเฉพาะหลังจากช่วงระบาด COVID-19 คาดการณ์มูลค่าตลาดเติบโต 5% ต่อปี CAGR ในปี 22 -29F ประกอบกับ จุดแข็งของไทยที่เป็นฐานผลิตส่งออกอันตับ 3 ของโลก จะช่วยหนุนการเติบโตไปกับตลาดสัตว์เลี้ยงได้อย่างต่อเนื่อง
บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) บอกว่า AAI มีจุดแข็ง คือ เตรียมต่อสัญญาคู่ค้รายใหญ่ 5 ปีรองรับคำสั่งซื้อมั่นคง จากการรวบรวมข้อมูลพบว่า แม้ฐานยอดขายยังต่ำกว่ากลุ่ม แต่ในส่วนของ GPM ยังอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันที่ 20% เทียบกลุ่มที่ 22-23% สะท้อนอำนาจต่อรอง และประสิทธิภาพการผลิตที่ทำได้ดี ประกอบกับ เงินทุน IP0 ที่จะเข้ามาช่วยเสริมความแข็งแกร่ง ทั้งการเพิ่มกำลังผลิตในปี 24 เป็น 7.1 จากปัจจุบัน 4.2 หมื่นตัน/ปี สร้างคลังสินค้าอัตโนมัติแห่งที่ 2 และชำระเงินกู้เสริมสภาพคล่อง จะช่วยหนุนศักยภาพแข่งขันเพิ่มมากขึ้นอีก
- อัตราการเติบโต 3 ปีข้างหน้า
บล.ทิสโก้ ออกบทวิเคราะห์เปิดเผยว่า AAI เป็นหนึ่งในผู้รับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยง (Pet Food) และผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานบรรจุภาชนะปิดผนึก (Human Food) ชั้นนำ ดำเนินธุรกิจมานานกว่า15 ปี เป็นที่ยอมรับจากลูกค้าเจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์ และผู้บริโภคในระดับสากล มีแผนกลยุทธ์ในการยกระดับจากการเป็นผู้ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Co-developer) ในปัจจุบัน เป็นคู่ค้าเชิงกลยุทธ์ (Strategic Partner) คาดผลประกอบการใน 3 ปีข้างหน้า (2022-24F) จะเพิ่มขึ้นได้เฉลี่ยปีละ 15% (CAGR3Y)
บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) คาดการณ์กำไรสุทธิปี 2022-24 คาดโต 14.3 % CAGR ปี 2022 โต 19.3% yoy หนุนจากยอดขายที่ขยายตัว และการควบคุม SG&A/Sales ได้ดี (ไม่รวม FX loss) ขณะที่ปี 2023 แม้เติบโตไม่สูงราว 8.8% yoy หนุนจากยอดขายที่ขยายตัว แต่หักล้างจากการรับรู้ค่าเสื่อมรอบลงทุนใหญ่กดดัน GPM ลดลง ทั้งนี้ คาดจะกลับมาเติบโตสูง 20% ในปี 2024 หลังผ่านรอบลงทุน และจะเริ่มเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ จากทั้งฐานยอดขายใหม่ที่เพิ่มขึ้น และ GPM ฟื้นตัว
บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) ระบุ AAI จะขยายกำลังการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง 95% ตลอดช่วง 4 ปีข้างหน้า เพื่อรองรับกับการเติบโต รวมทั้ง เน้นผลิตอาหารสัตว์แบบเปียกและทยอยเพิ่มรายได้ผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของตนเองซึ่งมีอัตรากำไรสูง คาดการณ์อัตราการเติบโตเฉลี่ยของกำไรสุทธิต่อปี (CAGR) ในช่วง 3 ปีข้างหน้าที่ 14.3% ประเมินว่า AAI สมควรจะมี PE พรีเมียมเมื่อเทียบกับกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารใน SET
บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) คาดกำไรสุทธิปี 2565-2566 เติบโตระดับ 22.9% YoY และ 10.5% YoY ตามลำดับ โดยคาดว่า จะมีกำไรสุทธิในปี 2565 ที่ระดับ 785 ล้านบาท (+22.9% YoY) กำไรในปี 2566 ได้ที่ระดับ 868 ล้านบาท (+10.5% YoY) โดยได้แรงหนุนจากยอดขายที่คาดว่า จะปรับตัวสูงขึ้น แม้เราประเมินว่า ความสามารถในการทำกำไรของบริษัทมีโอกาสลดลงจากปี 2564 เนื่องจากแรงกดดันทางด้านต้นทุนในช่วงที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น
- เคาะราคาเป้าหมาย 7.37-7.76 บาท/หุ้น
บล.ทิสโก้ คาดผลประกอบการปี 2022-24F เติบโตเฉลี่ยปีละ 15% (CAGR3Y) ประเมินมูลค่าตลาดที่เหมาะสมปี 2023 ของ AAI ที่มูลค่าตลาด 15,900-17,700 ล้านบาท จากการประเมินวิธี PER23F +1SD ที่เฉลี่ย 18.6X ของค่าเฉลี่ยหุ้นกลุ่มผลิตภัณฑ์ทูน่าในประเทศ เทียบเท่า PEG23F ที่ 1.2X และจากการประเมิน PER23F เฉลี่ยที่ 20.7X ของตลาดในประเทศภูมิภาค และจากการประเมินด้วยวิธี EV/EBITDA ของตลาดประเทศภูมิภาคอยู่ที่ 14X ได้มูลค่าตลาดที่ 17,200 ล้านบาท โดยหำกเทียบเท่า PEG จะอยู่ที่ 1.3X-1.4X ตามลำดับ โดยคาด net profit growth 15% (CAGR3Y)
บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) ประเมินมูลค่าพื้นฐาน AAI ที่ 7.60 บาท ภายใต้วิธี PE Valuation อิงกำไรต่อหุ้นปี 2023 ที่ 0.39 บาท/หุ้น อิง Forward PE ปี 2023 เทียบกับหุ้นที่ทำธุรกิจใกล้เคียงกับ AAI ทั้ง 0EM และมีสินค้ากึ่งจำเป็น เช่น ของว่าง, snack และอาหารสัตว์เลี้ยง และธุรกิจที่มีสัดส่วนรายได้จากอาหารสัตว์เลี้ยง TU และ ASIAN ได้ค่าเฉลี่ย Forward PE’23 ที่ 19.6 เท่า กำหนด Forward PE อิงกลุ่มตังกล่าว ได้มูลค่าพื้นฐานปี 2023 ที่ 7.60 บาท โดยแม้ AAI จะเข้าสู่รอบการลงทุนในปี 2023 แต่จากแนวโน้มที่จะพลิกกลับมาโตสูงในปี 2024 จากการเก็บเกี่ยวประโยชน์ลงทุน จึงเชื่อว่า Forward PE ดังกล่าวยังอยู่ในระดับที่สมเหตุสมผล และยัง Discount จาก Forward PE Band ย้อนหลัง 5 ปี ของกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มอยู่
บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) คาดการณ์อัตราการเติบโตเฉลี่ยของกำไรในช่วง 3 ปีข้างหน้าที่ 14.3% โดยประเมินราคาเหมาะสมที่ 7.37-7.76 บาท/หุ้น อิง PE23 ที่ 19-20 เท่า ซึ่งดีสเคาน์จากบริษัทผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงในต่างประเทศยกระดับจากการเป็นผู้ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปเป็นคู่ค้าเชิงกลยุทธ์ และสมควรจะมี PE พรีเมียมเมื่อเทียบกับกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารใน SET
บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) ประเมินมูลค่าเหมาะสมปี 2566 ที่ 7.50 บาท โดยอิง PE ที่ระดับ 18.3 เท่า ถือว่าอนุรักษ์นิยม ราคามีส่วนลดราว 15% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของบริษัทที่ทำธุรกิจใกล้เคียงกับ AAI และมีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศคือ Nestle S.A. (สวิสเซอร์แลนด์) ที่มีการซื้อขายที่ระดับค่าเฉลี่ย PE ประมาณ 21.5 เท่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา