Daily Focus: Earnings and Selective Play

2023SET Target: 1760

ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index แกว่งตัว Sideways ตามคาด โดยระหว่างวันมีจังหวะอ่อนตัวลงในแดนลบ ก่อนจะมีแรงซื้อหนุนดัชนีปิดบวกได้ 3.74 จุดและยืนเหนือ 1,600 จุดได้ทำให้ภาพทางเทคนิคยังดูดี สถาบันในประเทศยังคงขายสุทธิในตลาดหุ้นต่อเนื่องและเร่งขึ้นเป็น 2.2 พันลบ. ขณะที่นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิอีก 2.9 พันลบ. (และ Long Index Futures อีก กว่า 1.6 หมื่นสัญญา)

แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index แกว่ง Sideways Up ในกรอบ 1,600-1,620 จุด ทั้งภาพทางเทคนิคที่ดีดขึ้น รวมถึงบรรยากาศการลงทุนที่ผ่อนคลายหลังตลาดหุ้นสหรัฐฯ ฟื้นตัวค่อนข้างแรงคืนวันศุกร์ โดยตัวเลขเงินเฟ้อ PCE เดือน ก.ย. ที่ออกมาใกล้เคียงตลาดคาด และไม่ได้เร่งตัวขึ้น อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นคาดว่ายังมี Upside ระยะสั้นจำกัด เนื่องจากนักลงทุนต่างรอดูผลการประชุม FED วันที่ 2-3 พ.ย. นี้ ซึ่งนอกเหนือจากคาดการณ์ปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.75% แล้ว ต้องติดตามถ้อยแถลงของประธาน FED ต่อมุมมองเงินเฟ้อ และดูว่าจะเริ่มส่งสัญญาณชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยในระยะถัดไปหรือไม่ ส่วนในประเทศโฟกัสยังคงอยู่ที่การทยอยประกาศกำไร 3Q22 ของบริษัทจดทะเบียน และยังคาดหวังเชิงบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจที่จะทยอยเร่งตัวใน 4Q22-2023 เรายังคงชอบหุ้น Domestic และ Reopening Play ซึ่งคาดว่าจะสามารถ Outperform หุ้น Global Play และตลาดได้ต่อเนื่อง

กลยุทธ์ : เลือกเก็งกำไรหุ้นที่คาดงบ 3Q22 แข็งแกร่งและมีปัจจัยบวกเฉพาะตัว // ถือลงทุนหลังสะสมหุ้นเพิ่ม

หุ้นเด่นเดือน ต.ค. : BBL, BDMS, CK, CPALL, TU

หุ้นเด่นวันนี้ : CPN

  • แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายจาก FSSIA 85 บาท
  • แนวโน้มกำไร 3Q22 คาดโดดเด่นเติบโตทั้ง Q-Q และ Y-Y ตามการ Reopening หนุน Traffic เข้าห้างฟื้นตัวเข้าใกล้ช่วงก่อน COVID-19 รวมถึงส่วนลดค่าเช่าที่เริ่มทยอยลดลงอย่างต่อเนื่อง และกระทบจำกัดต่อปัจจัยลบของต่างประเทศ
  • เราคาดกำไรปี 2022-2023 +244% Y-Y และ +33% Y-Y ตามลำดับ หนุนจากทั้งการฟื้นตัวของค่าเช่าห้างเดิม การเข้าซื้อ SF และระยะยาวรองรับด้วยแผนการลงทุน 5 ปี 1.2 แสน ลบ. ทั้งธุรกิจศูนย์การค้า ที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน และโรงแรม
  • แนวรับ 65 บาท แนวต้าน 70-71 บาท

Fund Flow : เมื่อวันศุกร์กระแสเงินทุนพลิกมาไหลออกจากภูมิภาค US$516 ล้าน นำโดยไต้หวัน US$440 ล้าน ส่วนอาเซียนเม็ดเงินไหลออกจากเวียดนาม US$137 ล้าน แต่ยังไหลเข้าไทยและอินโดนีเซียประเทศละ US$76-94 ล้าน แนวโน้มของกระแสลงทุนคาดว่ามีโอกาสพลิกมาไหลเข้า หลังเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯเดือน ก.ย. ต่ำกว่าคาดเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ตลาดจับตาการประชุม FED สัปดาห์นี้

ประเด็นสาคัญวันนี้

(+) เงินเฟ้อ PCE เดือน ก.ย. สหรัฐฯไม่สูงกว่าคาด +0.3% M-M, +6.2% Y-Y ส่วน Core PCE +0.5% M-M, +5.1% Y-Y เริ่มเห็นสัญญาณบวกอ่อนๆ จากแนวโน้มเงินเฟ้อที่ไม่ได้เร่งตัวขึ้น ล่าสุดตลาดยังคงคาดการณ์ FED เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย 0.75% สัปดาห์นี้เป็นครั้งสุดท้าย ก่อนทยอยปรับขึ้นในอัตราที่ช้าลงในเดือน ธ.ค. 22 – มี.ค. 23 ขึ้นแตะระดับ 4.75-5% และคาดเป็นพีค ทำให้แรงกดดันด้านนโยบายการเงินและสภาพคล่องต่อสินทรัพย์เสี่ยงคาดทยอยผ่อนคลายลง

(+) กลุ่มยานยนต์ ยอดผลิตรถยนต์เดือน ก.ย. แข็งแรงหนุน 3Q22 +27% Q-Q, +35% Y-Y ทำให้แนวโน้มผลการดำเนินงานของกลุ่มคาดเร่งตัวขึ้น Q-Q เห็นได้จาก STANLY ที่ ประกาศกำไรออกมาดีกว่าคาดถึง 17% โดยกำไรปกติ +57% Q-Q, +80% Y-Y คาดว่ากําไร AH จะแข็งแกร่งเช่นกัน ส่วนแนวโน้ม 4Q22 คาดยอดผลิตรถยนต์ยังแข็งแรงต่อเนื่อง FSSIA คาดยอดผลิตรถยนต์ปี 2022 ที่ 1.8 ล้านคัน +6.8% Y-Y ส่วนปี 2023 ดาดดีขึ้นอีกเล็กน้อย เป็น 1.86 ล้านคัน +3.4% Y-Y ยังคงน้ำหนักการลงทุน Neutral โดยเลือก Top Pick เป็น AH (ราคาเป้าหมายจาก FSSIA 35.50 บาท) และ STANLY (ราคาเป้าหมาย 240 บาท)

(0) RBF คาดกำไร 3Q22 +2% Q-Q, -12% Y-Y ไม่สดใสนักเพราะ Margin ยังฟื้นช้า แต่ยังคาดหวังกำไรทยอยฟื้นตัวใน 4Q22 ตามฤดูกาลและลูกค้าอยอยเริ่มออกสินค้าใหม่ เราปรับลดกำไรปี 2022 ลงเหลือ +9% Y-Y และกลับมาเติบโตในปี 2023 โดยอยู่ระหว่างพัฒนา 2 โปรเจกต์สําคัญ คือ การขยายตลาดอินเดียร่วมกับพันธมิตรรายใหญ่ในอินเดีย และขยายลูกค้าใหม่ กลุ่มวัตถุแต่งกลิ่นและสีในต่างประเทศ ยังคาดกำไรปี 2023-2024 +49% Y-Y และ +20% Y Y ตามลำดับ คงราคาเป้าหมายปี 2023 ที่ 14 บาท แนะนำ “เก็งกำไร”

(+) IPO ใหม่ UBA เป็นผู้น่าในงานบริหารจัดการโรงควบคุมคุณภาพน่าเสียขนาดใหญ่ของ กทม. มีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1 ที่ 51% แนวโน้มผลการดำเนินงานปี 2022-2024 เราคาดรายได้และกำไรยังเติบโตในระดับสูงเฉลี่ย +42% และ +33% CAGR ตามลำดับ จากงานในมือกว่า 1.6 พันลบ.และโอกาสได้งานประมูลโรงควบคุมคุณภาพใหม่ๆ อีกมากจาก กทม. ประเมินราคาเป้าหมายปี 2023 ที่ 2.15 บาท (Finansia อาจเป็นผู้จัดจําหน่ายฯ)

 

(+) ตลาดดาวโจนส์ ปิดที่ 32,861.80 จุด เพิ่มขึ้น 828.52 จุด หรือ +2.59% จากเงินเฟ้อ PCE เดือนก.ย. +0.3% M-M, +6.2% Y-Y ส่วน Core PCE +0.5% M-M, +5.1% Y-Y ใกล้เคียงกับที่ตลาดคาด สะท้อนแนวโน้มเงินเฟ้อที่ไม่ได้เร่งตัวขึ้น ลดแรงกดดันการใช้เร่งขึ้นดอกเบี้ยของ FED

(+) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดบวก ตามทิศทางหุ้นสหรัฐจากตัวเลขเงินเฟ้อ PCE ที่สะท้อนแนวโน้มไม่ได้เร่งตัวขึ้นแรง

(+) ตลาดหุ้นเอเชีย ปรับบวก ตามทิศทางหุ้นสหรัฐ

(-) ค่าเงินบาท อ่อนค่า อยู่ที่บริเวณ 38.06 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

(0) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ปิดลดลง 1.18 ดอลลาร์ หรือ -1.3% ปิดที่ 87.9 ดอลลาร์/บาร์เรล จากความกังวล Demand น้ำมันชะลอในจีน ในขณะที่เช้านี้รีบาวด์ที่ระดับ 88.18 ดอลลาร์/บาร์เรล 0.32%

(0) ราคาทองคํา COMEX ปิดลดลง 20.8 ดอลลาร์ หรือ 1.25% ปิดที่ 1,644.8 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังเงินดอลลาร์แข็งค่าและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเพิ่มขึ้น ในขณะที่เช้านี้รีบาวด์ที่ระดับ 1,645.80 ดอลลาร์/ออนซ์ 0.06%

SPDR Gold Trust ถือครองทองค่า 922.59 / -8.40

- Advertisement -