สรุปภาวะตลาด

วันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีปรับตัวขึ้นในแดนบวก สูงสุด +10 จุด ปิดตลาดเหลือ +0.70จุด นักลงทุนติดตามตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนต.ค. ของสหรัฐ แรงซื้อมีเข้ามาในหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มการเงิน ส่วนแรงขายเข้ามาช่วงท้ายตลาด ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,626.32 จุด +0.70 จุด +0.04% มูลค่าการซื้อขาย 63,702 ลบ. ต่างชาติ +831.95 ลบ. TFEX +1,048 สัญญา ตราสารหนี้ +9,755.68 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ ดัชนีดาวโจนส์ปิด เพิ่มขึ้น 401.97 จุด หรือ +1.26% แต่ในรอบสัปดาห์นี้ ดัชนีดาวโจนส์ปิดลบ 1.39% หลังบวกติดต่อกันนาน 4 สัปดาห์ ขานรับการเปิดเผยรายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ ความเห็นของเจ้าหน้าที่เฟดเกี่ยวกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย รวมถึงกระแสข่าวเกี่ยวกับการเปิดประเทศของจีน

+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนธ.ค. พุ่งขึ้น 4.44 ดอลลาร์ +5% ปิดที่ 92.61 ดอลลาร์/บาร์เรล และเพิ่มขึ้น 5.4% ในรอบสัปดาห์นี้ โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ นอกจากนี้ บรรดานักลงทุนยังมีความหวังว่าจีนจะเปิดประเทศ เร็วๆ นี้

+ กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 261,000 ตำแหน่งในเดือนต.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 200,000 ตำแหน่ง แต่ก็ชะลอตัวจากระดับ 315,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. ขณะที่อัตราว่างงานเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 3.7% จากระดับ 3.5% ในเดือนก.ย.

+ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนักราว 62% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมวันที่ 13-14 ธ.ค. หลังจากที่ก่อนหน้านี้ นักลงทุนให้น้ำหนักเพียง 51.5% ก่อนการเปิดเผยตัวเลขจ้างงาน

+ รมว.พาณิชย์คาดเงินเฟ้อไทยมีแนวโน้มชะลอในเดือนต.ค.อาจไม่ถึง 6% หลังราคาสินค้าโดยรวมลดลง

ปัจจัยลบ –

– เจ้าหน้าที่ของสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (NHC) เปิดเผยเมื่อวันเสาร์ที่ ผ่านมาว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วประเทศ ทำให้จีนยังคงต้องยึดมั่นต่อนโยบายโควิดเป็นศูนย์

– กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นเปิดเผยว่า สหรัฐและญี่ปุ่นได้ดำเนินการซ้อมรบร่วมทางอากาศเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ด้วยการใช้เครื่องบินขับไล่เหนือน่านฟ้าทะเลจีนตะวันออก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะคิวชู

– สํานักข่าวรอยเตอร์รายงานการเปิดเผยของกองทัพเกาหลีใต้ว่า เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธพิสัยใกล้ 4 ลูกลงสู่ทะเลตะวันตก โดยมีระยะทางยิงไกลราว 130 กิโลเมตร ที่ระดับความสูงประมาณ 20 กิโลเมตร

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีในวันนี้ยังแกว่งตัวในลักษณะ Sideway Up โดยมีแรงหนุนจากสหรัฐรายงานตัวตัวเลขการจ้างงานนอก ภาคเกษตรชะลอตัว ขณะที่มีแรงกดดันจากนโยบายนโยบายโควิดเป็นศูนย์ของจีน คาดกรอบดัชนีในวันนี้ที่ 1,630 จุด 1,620

กลยุทธ์การลงทุน

  • หุ้นซ่อมแซมหลังน้ำท่วม : GLOBAL DOHOME HMPRO TOA DPAINT COTTO DCC TASCO
  • หุ้นเด่น IAA : ADVANC AOT BBL KBANK
  • ลุ้น ครม. คนละครึ่งเฟส 6 และเราเที่ยวด้วยกัน : TNP KK ERW CENTEL VRANDA ASAP SPA AAV BA AOT
  • ตัวเลขส่งออกเดือน ก.ย. ขยายตัว : TU GFPT TFG ASIAN
  • ลุ้นมาตรการอุดหนุน EV เข้า ครม. เดือน พ.ย. นี้ : EA NEX BYD GPSC

หุ้นรายงานพิเศษ KLINIQ

บมจ.เดอะคลีนิกค์ คลินิกเวชกรรม

MAI/SERVICE – ราคา IPO 24.50 บาท (ราคาเหมาะสม Consensus 30-34 บาท)

  • บริษัท ดำเนินธุรกิจให้บริการด้านผิวหนัง ความงาม ศัลยกรรมตกแต่ง และการดูแลป้องกันฟื้นฟูสุขภาพแบบองค์รวมที่ทันสมัยตามหลักการแพทย์ ได้แก่ การให้บริการด้านการรักษาโรคผิวหนัง ผิวพรรณความงาม ลด น้ำหนัก ดูแลรูปร่าง ศัลยกรรม Wellness และฟื้นฟูสุขภาพ ภายใต้แบรนด์ “เดอะคลีนิกค์” ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565 บริษัทมีสาขารวมทั้งสิ้น 39 สาขา ครอบคลุม 15 จังหวัด
  • ผลประกอบการในปี 62-64 และงวด 6M65 บริษัท มีรายได้จากการขายและการให้บริการรักษาพยาบาล จํานวน 975.8 ลบ. 1,000.6 ลบ. 949.9 ลบ.และ 714.7 ลบ. ตามลำดับ ปี 64 รายได้ -5%YoY สาเหตุหลักมาจากผลกระทบจาก Covid-19 ที่รุนแรงกว่าปีก่อน ภาครัฐดำเนินมาตรการการควบคุมที่เข้มงวดขึ้น สั่งปิดสถานเสริมความงามในเขตกรุงเทพและปริมณฑลสำหรับงวด 6M65 รายได้ +58%YoY จากมาตรการการควบคุมของภาครัฐผ่อนคลายลง ทำให้ลูกค้าสามารถมารับบริการได้เป็นปกติบริษัทมี %GPM เท่ากับ 57.9% 59.4% 58.8% และ 57.2% ตามลำดับ ส่งผลให้บริษัทมีกำไรสุทธิจำนวน 115.47 ลบ. 144.69 ลบ. 129.25 ลบ. และ 100.22 ลบ. ตามลำดับ คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิร้อยละ 11.66% 14.34% 13.57% และ13.97% ตามลำดับ
  • เสนอขายหุ้นจำนวน 60 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 27.27 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ราคา Par 0.50 บาท คิดเป็น P/E เสนอขาย เท่ากับ 31.78x เทียบ P/E ธุรกิจใกล้เคียง เช่น AHC 7.04×, BCH 5.02X, BDMS 41.31x, EKH 14.05x วัตถุประสงค์การระดมทุน 1.ลงทุนในการขยายกิจการจำนวน 300 ลบ. 2.ลงทุนในการจัดซื้อเครื่องมือทางการแพทย์เพิ่มเติม จำนวน 650 ลบ. 3.ลงทุนในการขยายกิจการศูนย์ศัลยกรรม จำนวน 150 ลบ. 4.พัฒนา ระบบ IT และระบบข้อมูลลูกค้าจำนวน 50 ลบ. 5.เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการดำเนินธุรกิจของบริษัท จํานวน 270 ลบ.

หุ้นมีข่าว

(+) SPALI (Bloomberg Consensus 25.25 บาท) ใส่เกียร์ลุยขยายตลาดอสังหาต่างจังหวัด ล่าสุดเปิดตัวโครงการ “ศุภาลัย บลูเวล หัวหิน” มูลค่ากว่า 1.2 พันล้านบาท คาดหวังมียอดขายกว่า 40 50% พร้อมกางแผนไตรมาส 4/2565 เล็งเปิดตัว 11 โครงการใหม่ มูลค่ารวมกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท มั่นใจยอดขาย-รายได้ทั้งปีเข้าเป้า อวดแบ็กล็อกแน่น 2.4 หมื่นล้านบาท แถมยังมีสต๊อกรอขายอีกกว่า 1.9 หมื่นล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

(+) SNNP (Bloomberg Consensus 24.00 บาท) ลุยขยายฐานต่างประเทศ ปักหมุดเวียดนามสร้างโรงงานผลิต หวังเพิ่มความสามารถทำเงิน-อัพอีโคซิสเต็ม ปูพรมลุยต่างแดนเพิ่ม พร้อมวางหมากปี 2566 ยอดส่งออกแตะ 2 พันล้านบาท แถมฟุ้งกำลังผลิตใหม่ หนุนปี 2569 รายได้โตเกินเป้า จากเดิมวางไว้ระดับ 8 พันล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

(+) SELIC (Bloomberg consensus – บาท) เดินเกมรุกธุรกิจเฮลธ์แคร์ จ่อบุ๊กเงินลงทุนเต็มที่ปีหน้า ด้านผู้บริหาร “ยุวดี เอี่ยมสนธิทรัพย์” ชี้จุดเปลี่ยนอัตรากำไร คาดรายได้ปีหน้าทะลุ 2 พันล้านบาท จากปีนี้คาดผลงานมาตามนัด หรือโต 10-15% เล็งลงทุนธุรกิจใหม่อัพฐานแกร่ง (ทีี่มา ทันหุ้น)

(+) HMPRO (Bloomberg consensus 17.45 บาท) อยู่ระหว่างเตรียมแผนปี 2566 คาดใช้งบลงทุนใกล้เคียงปีนี้ที่ราว 4,000-6,000 ล้านบาท ลุยขยายสาขาเพิ่ม คาดSSSG ปี 2566 เติบโต ใกล้เคียงกับตัวเลข GDP ส่วนไตรมาส 4/2565 เป็นไฮซีซันประเมินยอดขายเติบโตมากกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนหลายเท่า (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • สัปดาห์ที่ 2 หอการค้าไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค
    • สภาธุรกิจตลาดทุนไทย แถลงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนและอัพเดตสถานการณ์ลงทุน
    • ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แถลงข้อมูลสรุปภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์
  • สัปดาห์ที่ 3 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
  • 18-19 พ.ย. ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำา เขตเศรษฐกิจเอเปค ปี 2565 (APEC 2022)
  • สัปดาห์ที่ 4 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์
  • 21 พ.ย. สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) แถลงตัวเลข GDP ไตร มาส 3/65
  • 30 พ.ย. ประชุมกนง. ครั้งที่ 6 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะ เศรษฐกิจไทย

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 7 พ.ย. จีน รายงานยอดน่าเข้า, ยอดส่งออก และ ดุลการค้าเดือนต.ค.
  • 8 พ.ย. อียู รายงานยอดค้าปลีกเดือนก.ย.
  • 9 พ.ย. จีน รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนต.ค. ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนต.ค.
    • สหรัฐ รายงานสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือน ก.ย. สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงาน สารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
  • 10 พ.ย. สหรัฐ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการ ว่างงานรายสัปดาห์ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนต.ค.
  • 11 พ.ย. สหรัฐ รายงานดัชนีความเชื่อมั่น ผู้บริโภคขั้นต้นเดือนพ.ย.
- Advertisement -