KS Daily View 14.11.2022 > สัปดาห์นี้คาด SET ขึ้นต่อ แนะหุ้นที่ได้ประโยชน์จากจีนเปิดประเทศ/กลุ่มงบ 3Q65 ออกมาดี SET วันนี้คาดแกว่งในกรอบ 1630 -1650 จุด หุ้นแนะนำ PRM
ประเด็นที่เกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ :
1.) ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับขึ้นต่อหนุนจากเรื่องเดิม คือ เงินเฟ้อสหรัฐผ่าน Peak และต่ำคาด และข่าวจีนผ่อนคลายกิจกรรมเศรษฐกิจลดระยะเวลากักตัวนักท่องเที่ยวขาเข้าเหลือ 8 วันจาก 10 วัน โดย ตลาดหุ้นสหรัฐ ปรับขึ้นอิง ดัชนี Dow Jones +0.1%, NASDAQ -1.88% โดย Sector ในดัชนี S&P500 กลุ่มที่ขึ้นหลักๆคือ Energy +3.06% Communication Services +2.5%, Communication Services +2.46% ฯลฯ ส่วนกลุ่มที่ปรับลงหลักๆ คือ Health Care -1.28%, Utilities -1.15% เช่นเดียวกับตลาดหุ้นฮ่องกง +7.7%, ตลาดหุ้นญี่ปุ่น +3% ส่วน SET Index เมื่อวันศุกร์ปิด 1637.3 จุด(1.12%DoD) หุ้นที่ปรับขึ้นนำโดย BGRIM +7.2%, GULF+3.94%, MAKRO +2.2% หุ้นที่ปรับลง BLA-6.2%, FORTH -4.1%, TLI -3.99%
2.) ราคาน้ำมันดิบ อิง Brent ปิดที่ US$95.9/bbl(+2.9% DoD) หนุนจากข่าวจีนผ่อนคลายกิจกรรมเศรษฐกิจ มองเป็น Sentiment บวกต่อกลุ่มพลังงาน อาทิ กลุ่มน้ำมัน PTTEP, PTT และกลุ่มโรงกลั่นฯลฯ
3.) สินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ อาทิ Crypto ปรับลงแต่เงินไหลแนวโน้มจะไหลเข้าสินทรัพย์เปลอดภัย คือ ทองคำ KS ประเมินแนวโน้มระยะสั้นตลาด Crypto Currency ยังมีแรงกดดัน และคาดระยะสั้นนักลงทุนลดความเชื่อมั่นจากประเด็นข่าว FTX ซึ่งเป็น Platform ซื้อขายสกุลเงิน digital ล้มละลาย ฯลฯ และค่าเงิน Dollar แนวโน้มอ่อนค่า จะบวกต่อทองคำมองจะดึงดูดให้คนย้ายเงินเข้าทองคำ ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวสัปดาห์นีคาดแกว่งขึ้น 1740-1815 เหรียญ
4.) บริษัทไทยที่รายงานกำไร 3Q22 ออกมาดีกว่าคาดเมื่อวันศุกร์ หลักๆ มี 7 บริษัทคือ CPALL(3.7 พันลบ. +22% QoQ, +146% YoY และดีกว่าคาด 18%) หลักๆจาก GPM ที่สูงกว่าคาด 20bps. (21.8% ใน 3Q22 vs. 21% ใน 2Q22 และ 3Q21), EKH(76 ลบ. +56% QoQ, -51% YoY และดีกว่าคาด 56%) หลักๆมาจากรายได้ GPM และปันผลจาก the Kliniq ที่มากกว่าคาด, ASK(391 ลบ. +9% QoQ, +24.5% YoY และดีกว่าคาด 5%) หลักๆจาก OPEX น้อยกว่าคาด และ loan yield ที่ดีกว่าคาด โดยกำไรทำ new high ต่อเนื่องไตรมาสที่ 5 ติดต่อกัน, PRM(1.05 พันลบ. +431% QoQ, +148% YoY และดีกว่าคาด 70%) มาจากกำไรจากการขายเรือ VLCC 523 ลบ. และ GPM ดีกว่าคาดจากการปรับอัตราค่าบริการสูงขึ้น, BEM(863 ลบ. +36%QoQ,+7%YoY ดีกว่าคาด 9%) มาจากรายได้ธุรกิจหลัก และ GPM ดีกว่าคาด, ZEN(50.2 ลบ. +14%QoQ, พลิกจากขาดทุนปีก่อน ดีกว่าคาด 8%) หลักๆจากยอดขายดีกว่าคาด และ SG&A-to-sales ต่ำกว่าคาด, GULF(1,086 พันลบ. -29% QoQ, -32% YoY ดีกว่าคาด 23%)
ประเด็นที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ :
1.) ติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนที่คาดว่าจะทยอยออกมาต่อเนื่อง โดยล่าสุดแบงค์ชาติจีนได้ประกาศให้ธนาคารพาณิชย์ช่วยยืดเงินกู้ของ Developer ที่จะครบกำหนดชำระคืนใน 6 เดือนออกไปอีก 1 ปี นอกจากนี้อนุญาตให้สามารถต่อรองการยืดเทอมชำระหุ้นกู้กับเจ้าหนี้ด้วย ถือเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนที่สุดในการกระตุ้นอสังหาฯ มองเรื่องนี้จะเป็น sentiment บวกต่อหุ้นที่อิงกับเศรษฐกิจจีน เช่น PSL, SCGP รวมถึงกลุ่มที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากราคาเหล็กฟื้นตัวได้แก่ DOHOME และ GLOBAL เป็นต้น
2.) IE sector: ติดตามแนวโน้ม FDI ที่ไหลเข้าประเทศไทยมากขึ้นจากสถานการณ์ Geopolitical risks ระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่ทวีความรุนแรงขึ้น โดยให้ติดตามการพบปะระหว่าง ปธน.ไบเดน และ ปธน. สีจิ้นผิงในวันที่ 14 พ.ย. ทั้งนี้ล่าสุด SONY ได้ประกาศสร้างโรงงาน Image sensor สำหรับรถยนต์ในประเทศไทย วงเงิน 70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 2.5 พันล้านบาท เร่ิม COD มี.ค. 2025 มองเทรนดังกล่าวจะเป็นบวกกับกลุ่มนิคมของไทย (AMATA, WHA) 3.) ติดตามผู้ว่า กทม. เตรียมถกกับนาย “ศักดิ์สยาม” รมว. คมนาคม หลังประชุมเอเปคเพื่อโอนรถไฟฟ้า 3 สาย “สีเขียว-สีเทา-สีเงิน” ให้ “รฟม.” ดำเนินการ ทั้งนี้เพื่อเชื่อมระบบราง-ตั๋วร่วมทั่วกรุงเทพฯ หากผู้ว่า กทม. เดินตามแนวทางดังกล่าวมองเป็น sentiment ลบกับ BTS
แนวโน้มตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้ เราประเมินดัชนีหุ้นไทยตลอดสัปดาห์นี้คาดจะแกว่งตัวขึ้นตามต่างประเทศ ประเมินแนวต้าน 1,650 จุด และ 1666 จุด และภายในปีนี้คาดมีโอกาสแตะแนวต้านสำคัญ 1700 จุด ปัจจัยบวกยังจากคาดการณ์จีนจะเปิดประเทศ และเงินเฟ้อสหรัฐได้ผ่าน Peak รวมถึงช่วงที่ผ่านมารายบริษัทจดทะเบียนได้รายงานงบออกมาดีกว่าคาด อาทิ กลุ่ม ธนาคาร เครื่องดื่ม ฯลฯ และปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่งเห็นได้จากต่างชาติยังเดินหน้าเข้ามาลงทุนทั้งทางตรง ล่าสุด SONY ประกาศย้ายฐานการผลิตมาไทย ฯลฯ และ ต่างชาติเดินหน้าซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทย นับตั้งแต่ต้นเดือน รวมสุทธิ 2.41 หมื่นล้านบาท หลังจากเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องต่ำ 36 บาท โดยรวมมองเป็นบวกต่อตลาดหุ้นไทย
ธีมการหุ้นลงทุนเด่นประจำสัปดาห์
1.) กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากจีนคลาย Lockdown SCGP, JWD,EKH
2.) หุ้นที่กำไร 3Q22 ออกมาดีหรือจะออกมาดีและแนวโน้มยังดีต่อเนื่องงวด 4Q22 และราคายังอยู่ในโซนล่าง อาทิ ASK, D, SAWAD
3.) หุ้นที่ได้ประโยชน์จากแนวโน้มค่าเงินบาทแข็งค่า BGRIM, GULF, KAMART
4.) กลุ่มที่ได้ประโยชน์จาก Bond yield ปรับลง คือ กลุ่มการเงิน อาทิ BAM, AEONTS
ประเมินตลาดหุ้นไทยวันนี้คาด 1630 -1650 จุด หุ้นแนะนำ PRM
Top pick : PRM (ราคาพื้นฐานที่ 9.21 บาท) รายงานกำไร 3Q22 ออกมา 1.05 พันลบ. +432%QoQ, +148% YoY และดีกว่าเราคาด 70% หลักๆมาจากกำไรจากการขายเรือ VLCC 523 ลบ. และGPM ดีกว่าคาดจากการปรับอัตราค่าบริการสูงขึ้น และแนวโน้ม 4Q22 เราประเมิน Outlook ยังดีต่อ โดยเราปรับเพิ่มประมาณการณ์กำไรปี 2022-24 ขึ้น 15%/ 12%/17% ตามลำดับ
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ
- วันจันทร์ ติดตามถ้อยแถลงของ Fed Waller และ Fed Brainard รวมถึงรายงานภาวะตลาดน้ำมันของ OPEC
- วันอังคาร ติดตามตัวเลข GDP 3Q22 ของญี่ปุ่น คาด +0.9% QoQ และ +3.5% YoY ตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนเดือน ต.ค. คาด +5.2% YoY ตัวเลข Retail Sales เดือน ต.ค. คาด +1% YoY (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 2.5% YoY) ตัวเลข Fixed asset investment ของจีนใน 10M22 คาด +5.9% YoY ตัวเลข Zew Economic Sentiment ของเยอรมันเดือน พ.ย. คาด -50 จุด (ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ -59.2 จุด) ตัวเลข PPI ของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. คาด +0.5% MoM และ +8.3% YoY ถ้อยแถลงของ Fed Cook และ Fed S.Barr
- วันพุธ ติดตามตัวเลข House Price Index ของจีนเดือน ต.ค. คาด -1.9% YoY (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ -1.5% YoY) ตัวเลขเงินเฟ้ออังกฤษเดือน ต.ค. คาด +1.7% MoM และ +10.6% YoY ตัวเลข Retail sales ของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. คาด +0.9% MoM ตัวเลข Industrial production ของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. คาด +0.2% MoM ตัวเลข NAHB Housing Market Index เดือน พ.ย. คาด 36 จุด (-5% MoM) ปริมาณสต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ และถ้อยแถลงของ Fed Williams
- วันพฤหัสฯ ติดตาม ตัวเลขการส่งออกของญี่ปุ่นเดือน ต.ค. คาด +28.1% YoY ตัวเลขดุลการค้าของญี่ปุ่นเดือน ต.ค. คาด -Y1,610bn (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ -Y2,094bn) ตัวเลข Housing Starts ของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. คาด -2.7% MoM เป็น 1.4 ล้านยูนิต ตัวเลข Building Permits เดือน ต.ค. คาด -6.3% MoM เป็น 1.465 ล้านยูนิต ตัวเลข Initial Jobless Claim รายสัปดาห์ของสหรัฐฯ คาด 222K ถ้อยแถลงของ Fed Bowman และ Fed Jefferson
- วันศุกร์ ติดตามตัวเลขเงินเฟ้อของญี่ปุ่นเดือน ต.ค. คาด +0.4% MoM และ +3.2% YoY ตัวเลข Retail sales ของอังกฤษเดือน ต.ค. คาด 0% MoM ตัวเลข Existing Home Sales ของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. คาด -8% MoM เป็น 4.3 ล้านยูนิต และถ้อยแถลงของ ECB President Lagarde