บล.บัวหลวง:

COP27 – ประเทศไทยแสดงจุดยืนอะไรบ้าง?

What’s new?

ในการประชุม COP27 ที่สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นตัวแทนประเทศไทยขึ้นกล่าวถ้อยแถลงในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ในไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมาประเด็นสำคัญมีดังนี้

Highlights:

  • ตั้งแต่ COP26 ประเทศไทยได้ทำตามสิ่งที่เราให้คำมั่นไว้ เราไม่ได้แค่พูดแต่เราทำกันจริง” ส่วนหนึ่งของถ้อยแถลง
  • ประเทศไทยมีการกำหนดยุทธศาสตร์ระยะยาวในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ (LTLED) คือการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 และบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็น 0 ในปี 2065 รวมถึงเพิ่มเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกเป็น 40% ภายในปี 2030
  • ประเทศไทยมีการส่งเสริม BCG model
  • ประเทศไทยตั้งเป้าผลิตรถยนต์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็น 0 เพิ่มขึ้น 30% ของการผลิตทั้งหมดภายในปี 2030
  • มีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนของพลังงานทดแทนในการผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างน้อย 50% ภายในปี 2050
  • สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อการดูดกลับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเชิงพาณิชย์ ก่อนปี 2040
  • ส่งเสริมการใช้วัสดุทดแทนในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และอุตสาหกรรมทำความเย็น
  • นำร่องวิธกีารปลูกข้าวทางเลือกแบบปล่อย GHG ต่ำ
  • กำหนดเป้าหมายเพิ่มพื้นที่สีเขียวทุกประเภท 55% ของพื้นที่ประเทศเพื่อเพิ่มแหล่งกักเก็บ GHG ภายในปี 2037
  • ได้มีการจัดทำแนวทางและกลไกการบริหารการจัดการคาร์บอนเครดิต และประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เริ่มทำความตกลงเพื่อถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศ

View From Fundamental:

จากถ้อยแถลงของท่าน รมว. ตอกย้ำเทรนด์ของคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย ที่น่าจะมีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยหุ้นที่ได้ประโยชน์อันดับแรกจะเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจปลูกป่าชายเลน (Blue Carbon) เช่น DITTO, TEAMG. บริษัทด้านพลังงานทดแทน (เน้นที่ Solar, Wind มากกว่า Biomass)

ปล. วิทยากร 2 ท่านที่มาให้ความรู้กับเราช่วง 2 เดือนก่อนทั้งคุณพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช และคุณเกียรติชาย ไมตรีวงษ์เป็นคณะทำงานของประเทศไทย เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ด้วย

- Advertisement -