บล.บัวหลวง:

Utilities – พลังงานทดแทน 5.2 GW – เพียงจุดเริ่มต้น มิใช่ปลายทาง (OVERWEIGHT)

รายงานฉบับนี้สรุปรายละเอียดสำหรับโครงการพลังงานทดแทน 5.2 GW ของ กกพ. ที่กำลังจะเปิดประมูล ซึ่งน่าจะประกาศรายชื่อผู้ชนะได้ภายในเดือน มี.ค. 2556 ซึ่งธีมนี้น่าจะหนุนราคาหุ้นพลังงานทดแทนตัวเล็กไปจนถึงช่วงต้นปี 2566 โดยเราชอบ GUNKUL มากที่สุด

กําลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนขนาดใหญ่กำลังจะเปิดประมูล

กกพ.กําลังจะเปิดประมูลโครงการพลังงานทดแทน 5.2 GW โดยเป็นโครงการก๊าซชีวภาพ 0.3 GW โครงการพลังงานลม 1.5 GW โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) 1 GW และพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน 2.4 GW โดยมีกําหนดการดำเนินงานเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ปี 2567-73 โดยประกาศอัตราค่าไฟที่ 2.07 บาท/kWh (20 ปี สัญญา non-firm) สําหรับโครงการก๊าซชีวภาพ, 3.10 บาท/kWh (25 ปี สัญญา non-firm) สําหรับโครงการพลังงานลม, 2.17 บาท/kWh สําหรับโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้น, และ 2.83 บาท/kWh (25 ปี สัญญา partial-firm) สำหรับโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้ง ESS ทั้งนี้รัฐบาลจะเป็นผู้มีสิทธิ REC หรือคาร์บอนเครดิต เราคาด EIRR ของโครงการจะอยู่ที่ 10-14% ซึ่งจะเป็นอัพไซด์ต่อประมาณการกำไรในกรอบ 60-210 ล้านบาท/MW

อ้างอิงจากเป้าหมายของประเทศไทยใน COP27 ที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 40% ภายในปี 2573 มีสัดส่วนพลังงานทดแทน 50% ของการผลิตไฟฟ้ารวมภายในปี 2593 ประเทศไทยจําเป็นต้องมีกำลังการผลิตจากพลังงาน ทดแทนมากกว่า 5.2 GW ที่เปิดประมูลอีกมหาศาล การประมูลนี้จึงเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ไม่ใช่จุดหมายปลายทาง

สัญญารูปแบบใหม่: Partial-firm PPA?

สัญญาซื้อขายไฟฟ้า Partial-firm จะกำหนดให้โซลาร์ฟาร์มที่ติดตั้งระบบ ESS จ่ายไฟฟ้าบางส่วนในช่วงเวลากลางคืน โดยมีค่าความพร้อมจ่าย 60% เป็นเวลา 2 ชั่วโมงในช่วงเวลา 18:01-06:00 น. แต่ในช่วงกลางวัน ผู้รับชื้อ ไฟฟ้าจะรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมด ดังนั้นผู้ผลิตที่มีสัญญาแบบ Partial-firm สําหรับกําลังการผลิต 1 MW อาจจะต้องมีกำาลังการผลิตเพิ่มอีก 0.33 MW เพื่อที่จะผลิตและสํารองไฟในช่วงกลางวันเพื่อชาร์จ ESS ไว้จ่ายไฟฟ้าตอนกลางคืน (และใช้ ESS ขนาด 1.2 MWh) เราประมาณการเบื้องต้นว่า ต้นทุนต่อ MW จะสูงกว่า PPA โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ ทั่วไปราว 50% แต่ให้ผลตอบแทน EIRR ที่สูงกว่าเช่นกัน

กําหนดการของการประมูล

กกพ. กำลังจะเปิดรับการประมูลสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (จำนวน 5.2 GW) จากผู้ประกอบการต่างๆ และจะปิดรับในวันที่ 25 พ.ย. 2565 โดย กกพ. มีแผนที่จะประกาศชื่อผู้ชนะภายในวันที่ 15 มี.ค. 2566 และจะเซ็นสัญญาภายในวันที่ 25 มี.ค. 2566 ผู้ร่วมประมูลจะต้องเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย (ไม่ใช่หน่วยงานรัฐ) ที่มีความพร้อมทุกด้าน (ระบบส่งไฟฟ้า เทคโนโลยี ความพร้อมของสต็อกเชื้อเพลิง และเงินทุน) กกพ.จะเลือกผู้ชนะจากคะแนนทางเทคนิค โดยแต่ละพื้นที่จะมีการจัดสรรกำลังผลิตไฟฟ้าแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความพร้อมของระบบส่งกำลังไฟฟ้า หากกำลังการผลิตที่ขอไปมากกว่าที่ระบบจะรับได้ จะมีการจัดลำดับความสำคัญดังต่อไปนี้ 1) ก๊าซชีวภาพ 2) พลังงานลม 3) โซลาร์ฟาร์มติดตั้ง ESS และ 4) โซลารฟ์ารม์ปกติ

 

- Advertisement -